Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15613
Title: การวิจัยและทดสอบการปรับใช้เทคโนโลยีการผลิตพริกที่มีศักยภาพ และเพิ่มมูลค่าในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
Authors: นันทิการ์, เสนแก้ว
เขมมิการ์, โขมพัตร
อภิญญา, สุราวุธ
สาวิตรี, เขมวงศ์
ศรินณา, ชูธรรมธัช
อุดร, เจริญแสง
นลินี, จาริกภากร
ไพโรจน์, สุวรรณจินดา
Keywords: ความไม่มั่นคงทางอาหาร
Issue Date: 2553
Publisher: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมเจ.บี. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
Abstract: พริก (chilli) เป็นผักชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพสูงและมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศเนื่องจากสามารถใช้เป็นส่วนประกอบในหลากหลายรูปแบบ ทั้งจากวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์แปรรูปในหลายวงการ แต่การปลูกพริกมักพบปัญหาโรคและแมลงศัตรูพริก รวมทั้งปัญหาเรื่องของสารพิษตกค้างในผลผลิต เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว ได้ทำทดสอบการปรับใช้เทคโนโลยีการผลิตพริกขี้หนูให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออกและเพื่อการบริโภคในพื้นที่จังหวัดสงขลาและพัทลุง ในระหว่างปี 2551 – 2552 ทำการทดสอบปลูกพริกขี้หนู มี 2 กรรมวิธี คือ วิธีแนะนำ (การปลูกพริกตามคำแนะนำของ GAP พริก นำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่) และวิธีเกษตรกร (เป็นการปลูกพริกของเกษตรกรแต่ละรายปฏิบัติ) ผลการทดสอบ พบว่า การผลิตพริกในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ตามวิธีแนะนำให้ผลผลิตพริกสดสูงกว่าวิธีปฏิบัติตามวิธีเกษตรกร คือ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,244 และ 997 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ คิดเป็นปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น 24.8 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มีรายได้เหนือต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินสดเฉลี่ย 50,396 บาท/ไร่ และวิธีเกษตรกรเฉลี่ย 34,130 บาท/ไร่ โดยมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 52.2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในพื้นที่จังหวัดสงขลา พบว่า การผลิตพริกตามวิธีแนะนำให้ผลผลิตพริกสดสูงกว่าวิธีปฏิบัติตามวิธีเกษตรกร คือ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4,236 และ 3,132 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ คิดเป็นปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น 35.2 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มีรายได้เหนือต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินสดเฉลี่ย 49,084 บาท/ไร่ และวิธีเกษตรกรเฉลี่ย 33,682 บาท/ไร่ และการสุ่มตัวอย่างพริกเพื่อวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลผลิตพริก พบว่า ผลผลิตพริกของเกษรกรทั้งวิธีแนะนำ และวิธีเกษตรกรไม่พบสารพิษตกค้างในผลผลิตพริก สำหรับการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มมูลค่าของพริก นอกเหนือจากการปลูกเพื่อจำหน่ายหรือบริโภค ได้มุ่งเน้นไปยังสารสำคัญกลุ่ม capsaicinoids ที่มีอยู่ในพริก ได้แก่capsaicin และ dihydrocapsaicin ในพริกสายพันธุ์ต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างจำนวน 10 สาย พบว่า พริกที่มีปริมาณสารกลุ่ม capsaicinoids สูงที่สุดได้แก่พริกขึ้หนู และพริกชี สำหรับพริกที่มีปริมาณสารกลุ่ม capsaicinoids
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15613
Appears in Collections:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.