Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15250
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิมล, สิงหะพล | - |
dc.date.accessioned | 2015-10-08T08:59:49Z | - |
dc.date.accessioned | 2021-05-17T11:23:28Z | - |
dc.date.available | 2015-10-08T08:59:49Z | - |
dc.date.available | 2021-05-17T11:23:28Z | - |
dc.date.issued | 2558 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15250 | - |
dc.description.abstract | ดินเป็นปัจจัยพื้นฐานในการผลิตพืชที่สำคัญ ซึ่งดินที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกควรมีอินทรียวัตถุ ประมาณ 5 % โดยปริมาตร แต่พื้นที่การเกษตรของประเทศไทย 149.25 ล้านไร่ เป็นดินที่มีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5 % ประมาณ 98.7 ล้านไร่ โดยอินทรียวัตถุมีความสำคัญในการช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งต้นทุนการผลิตในส่วนของปุ๋ยเคมี เฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 23 และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เรื่องดิน และการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง กรมส่งเสริมการเกษตร ได้อนุมัติหลักการให้กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย ดำเนินงานโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต ปี 2557 – 2558 โดยอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เห็นชอบ และมอบนโยบายให้เจ้าหน้าที่สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตทุกเขต สำนักงานเกษตรจังหวัดทุกจังหวัด ในการสัมมนาโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2557 ณ ห้องประชุม 7 ชั้น 5 อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต ปี 2557 – 2558 เมื่อวันที่ 15 – 16 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมทีเค พาเลซ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้แทนจากกลุ่มเกษตรกร เข้าร่วมสัมมนาด้วย โดยให้ดำเนินการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด และปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และให้มีกลุ่มเกษตรกรทำหน้าที่บริการชุมชน ในการวิเคราะห์ดิน ให้คำแนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยสั่งตัดและปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และบริการด้านปัจจัยการผลิต โดยจัดตั้งเป็นศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน เพื่อเป็นหน่วยปฏิบัติการในพื้นที่ที่บริหารจัดการโดยเกษตรกร ซึ่งในปี 2557 มีศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนต้นแบบ 94 ศูนย์ ใน 76 จังหวัด และจะขยายผลเป็น 882 ศูนย์ ในปี 2558 เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนองค์ความรู้ การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง และการบริการปัจจัยการผลิต ควบคู่กับการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิต ปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองเพิ่มขึ้น โดยบูรณาการร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน ดังนั้น เพื่อยกระดับความรู้ด้านดินและปุ๋ยให้แก่เกษตรกร และช่วยเหลือให้เกษตรกรสามารถจัดการดินและใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้อง เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตได้ด้วยตนเอง อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเกษตรกรให้สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ เมื่อเปิดประเทศสู่ข้อตกลงเขตการค้าเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียน ในปี 2558 จึงเห็นควรดำเนินการโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ในปี 2558 ที่บริหารจัดการโดยเกษตรกร จำนวน 882 ศูนย์ เพื่อเป็นกลไกในการถ่ายทอดความรู้เรื่องดินและปุ๋ย และทำให้การขยายผลการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน | th_TH |
dc.language.iso | th_TH | th_TH |
dc.publisher | สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง กรมส่งเสริมการเกษตร | th_TH |
dc.subject | ความไม่มั่นคงทางอาหาร | th_TH |
dc.title | โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต ปี 2558 | th_TH |
dc.type | Other | th_TH |
Appears in Collections: | 993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
คู่มือโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยฯ ปี 2558.doc | 1.44 MB | Microsoft Word | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.