Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15214
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสมยศ, ทุ่งหว้า-
dc.contributor.authorศิริจิต, ทุ่งหว้า-
dc.date.accessioned2016-01-18T02:53:15Z-
dc.date.accessioned2021-05-17T11:22:24Z-
dc.date.available2016-01-18T02:53:15Z-
dc.date.available2021-05-17T11:22:24Z-
dc.date.issued1994-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15214-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เสนอผลการวินิจฉัยเพื่อทำความเข้าใจพลวัต (dynamic) ของระบบสังคมเกษตรการผลิตยางพาราทางฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลหลายด้าน ได้แก่ ข้อมูลทุติยภูมิจากทั้งหน่วยงานราชการและเอกชน ข้อมูลปฐมภูมิโดยการเลือกศึกษาฟาร์มต่าง ๆ ใน 3 หมู่บ้าน การสัมภาษณ์เกษตรกรรอบพื้นที่ศึกษาโดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานได้แก่ (1) การจำแนกเขตนิเวศเกษตรพร้อมกับการศึกษาวิวัฒนาการของระบบสังคมเกษตร (2) ศึกษาประวัติและแนวโน้มของฟาร์มรวมทั้งคัดเลือกฟาร์มตัวอย่างมาศึกษาวิเคราะห์การดำเนินงาน สรุปได้ว่าระบบการผลิตทางการเกษตรไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตมากนัก รวมทั้งระบบไม่ประสบภาวะวิกฤติที่มากมายจนทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการผลิตทางเกษตรอย่างทันทีทันใด ความทันสมัยของการเกษตรในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นการทำนา หรือการผลิตยางพาราเกิดขึ้นเพราะการเข้าไปเกี่ยวข้องทางการค้ากับเศรษฐกิจโลกภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดความแตกต่างกันภายในกลุ่มคนในระบบสังคมเกษตรการผลิตยางพารา โดยวัดจากความแตกต่างทางด้านผลิตภาพของแรงงานในครัวเรือนของเกษตรกรแต่ละประเภทรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้างในระบบ ผลการศึกษาทำให้สามารถเสนอแนะแนวทางพัฒนาระบบสังคมเกษตรการผลิตยางพาราตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับฟาร์มเพื่อความมีถาวรภาพ ได้แก่ (1) การพัฒนาโครงสร้างการตลาดขั้นต้น (2) การส่งเสริมการใช้ยางภายในประเทศเพื่อยกระดับราคายาง (3) การพัฒนาเพื่อความสามารถในการแปรรูปและขายยางภายในประเทศ (4) การให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มเกษตรกรอย่างจริงจังยิ่งขึ้น (5) การพัฒนาคุณภาพยางแผ่นให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในโลกอนาคต (6) การใช้นโยบายลดราคาปัจจัยการผลิตทั้งทางด้านปัจจัยทางชีวภาพปัจจัยทางเคมี รวมทั้งปัจจัยทางกายภาพด้วย (7) การยับยั้งไม่ให้แรงงานในท้องถิ่นต้องออกไปสู่ระบบอุตสาหกรรมเร็วเกินไปโดยการให้ความสำคัญกับเกษตรกรประเภทที่มีความสามารถในการออมน้อยกว่า และ (8) การพัฒนาระบบการปลูกพืชที่มีพื้นฐานของการปลูกยางพาราเป็นองค์ประกอบหนึ่งให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเกษตรกรส่วนใหญ่ซึ่งมักจะเป็นวัตถุประสงค์ระยะสั้นด้วยth_TH
dc.language.isoth_THth_TH
dc.publisherกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรth_TH
dc.subjectความไม่มั่นคงทางอาหารth_TH
dc.titleวิวัฒนาการและการปรับเปลี่ยนของระบบสังคมเกษตรการผลิตยางพารา บริเวณฝั่งตะวันตก ของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาth_TH
dc.typeOtherth_TH
Appears in Collections:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.