Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15192
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปัญจพล, บุญชู | |
dc.contributor.author | จิตผกา, ธนปัญญารัชวงศ์ | |
dc.contributor.author | ฉลอง, มณีกุล | |
dc.date.accessioned | 2016-01-18T02:44:24Z | |
dc.date.accessioned | 2021-05-17T11:21:39Z | - |
dc.date.available | 2016-01-18T02:44:24Z | |
dc.date.available | 2021-05-17T11:21:39Z | - |
dc.date.issued | 2531 | |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15192 | - |
dc.description.abstract | ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลจากการสำรวจเกษตรกรจำนวน 76 รายของบ้านท่าหยี ซึ่งเป็นหมู่บ้านยากจนที่สุดของอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา คณะผู้วิจัยได้ใช้หลักการของการวิจัยระบบการทำฟาร์มเป็นเครื่องมือในการจำแนกระบบการเกษตรในอำเภอรัตภูมิ คือระบบข้าวไร่-ยางพารา-ไม้ผล ระบบข้าวนาปี-นาครั้งที่สอง ระบบยางพารา-ข้าวนาปี-ผัก และระบบข้าวนาปี-ประมง บ้านท่าหยีได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านตัวแทนของระบบข้าวนาปี-ประมง พบว่าในหมู่บ้านยากจนแห่งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่เตรียมแปลงเพาะกล้าต้นเดือนกรกฎาคม และแปลงปักดำช่วงเดือนกันยายนต่อกับตุลาคม และประมาณ 75 ใช้รถไถเดินตามเป็นเครื่องมือในการเตรียมดิน เกษตรกรส่วนใหญ่ (83) ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ที่นิยมกันมากคือ ทองหอม นางเอก และโต๊ะมัย เกษตรกรเพียง 17 เท่านั้น ปลูกข้าวพันธุ์ส่งเสริม เหตุผลสำคัญที่ไม่ปลูกข้าวพันธุ์นี้คือ ดินที่นาของตนไม่เหมาะสมกับพันธุ์ข้าวส่งเสริมไม่มีเมล็ดพันธุ์ และบางรายไม่รู้จักข้าวพันธุ์ส่งเสริมเลย เกษตรกรในหมู่บ้านยากจนแห่งนี้ ใช้ปุ๋ยเคมีกันอย่างกว้างขวาง (80) สำหรับแปลงกล้าใช้อัตราเฉลี่ย 20 กก./ไร่ ส่วนในแปลงปักดำอัตรา 13 กก./ไร่ มีการใช้ยาฆ่าแมลง (4) และยาเบื่อหนูน้อยมาก (1) ปัญหาสำคัญที่สุดในการทำนาคือ สภาพดินเค็ม ดินเปรี้ยวและการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง ประมาณ 54 ของผู้ให้ข้อมูลทำการประมงเป็นอาชีพรอง เกษตรกรกลุ่มนี้รายงานว่า อุปสรรคสำคัญของการทำประมง คือจำนวนสัตว์น้ำที่จับได้ในทะเลสาบสงขลา ลดน้อยลงเนื่องจากผู้จับมากขึ้น ความยากจนในหมู่บ้านมีสาเหตุเนื่องจากพื้นที่ทำนาขนาดเล็ก (10 ไร่/ครอบครัว) และความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เทคโนโลยีในการทำนาไม่เหมาะสม โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวที่ทางราชการแนะนำส่งเสริมไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของหมู่บ้านยากจนแห่งนี้ การทำการประมงยังไม่ได้รับการศึกษาและพัฒนาจากทางราชการอย่างจริงจัง | th_TH |
dc.language.iso | th_TH | th_TH |
dc.publisher | กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร | th_TH |
dc.subject | ความไม่มั่นคงทางอาหาร | th_TH |
dc.title | ระบบการปลูกข้าวนาปีและการทำประมงในหมู่บ้านยากจนของชายฝั่งทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา | th_TH |
dc.type | Other | th_TH |
Appears in Collections: | 993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ระบบการปลูกข้าวนาปีและการทำประมงในหมู่บ้านยากจนของชายฝั่งทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา.docx | 12.8 kB | Microsoft Word XML | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.