กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15192
ชื่อเรื่อง: ระบบการปลูกข้าวนาปีและการทำประมงในหมู่บ้านยากจนของชายฝั่งทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปัญจพล, บุญชู
จิตผกา, ธนปัญญารัชวงศ์
ฉลอง, มณีกุล
คำสำคัญ: ความไม่มั่นคงทางอาหาร
วันที่เผยแพร่: 2531
สำนักพิมพ์: กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลจากการสำรวจเกษตรกรจำนวน 76 รายของบ้านท่าหยี ซึ่งเป็นหมู่บ้านยากจนที่สุดของอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา คณะผู้วิจัยได้ใช้หลักการของการวิจัยระบบการทำฟาร์มเป็นเครื่องมือในการจำแนกระบบการเกษตรในอำเภอรัตภูมิ คือระบบข้าวไร่-ยางพารา-ไม้ผล ระบบข้าวนาปี-นาครั้งที่สอง ระบบยางพารา-ข้าวนาปี-ผัก และระบบข้าวนาปี-ประมง บ้านท่าหยีได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านตัวแทนของระบบข้าวนาปี-ประมง พบว่าในหมู่บ้านยากจนแห่งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่เตรียมแปลงเพาะกล้าต้นเดือนกรกฎาคม และแปลงปักดำช่วงเดือนกันยายนต่อกับตุลาคม และประมาณ 75 ใช้รถไถเดินตามเป็นเครื่องมือในการเตรียมดิน เกษตรกรส่วนใหญ่ (83) ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ที่นิยมกันมากคือ ทองหอม นางเอก และโต๊ะมัย เกษตรกรเพียง 17 เท่านั้น ปลูกข้าวพันธุ์ส่งเสริม เหตุผลสำคัญที่ไม่ปลูกข้าวพันธุ์นี้คือ ดินที่นาของตนไม่เหมาะสมกับพันธุ์ข้าวส่งเสริมไม่มีเมล็ดพันธุ์ และบางรายไม่รู้จักข้าวพันธุ์ส่งเสริมเลย เกษตรกรในหมู่บ้านยากจนแห่งนี้ ใช้ปุ๋ยเคมีกันอย่างกว้างขวาง (80) สำหรับแปลงกล้าใช้อัตราเฉลี่ย 20 กก./ไร่ ส่วนในแปลงปักดำอัตรา 13 กก./ไร่ มีการใช้ยาฆ่าแมลง (4) และยาเบื่อหนูน้อยมาก (1) ปัญหาสำคัญที่สุดในการทำนาคือ สภาพดินเค็ม ดินเปรี้ยวและการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง ประมาณ 54 ของผู้ให้ข้อมูลทำการประมงเป็นอาชีพรอง เกษตรกรกลุ่มนี้รายงานว่า อุปสรรคสำคัญของการทำประมง คือจำนวนสัตว์น้ำที่จับได้ในทะเลสาบสงขลา ลดน้อยลงเนื่องจากผู้จับมากขึ้น ความยากจนในหมู่บ้านมีสาเหตุเนื่องจากพื้นที่ทำนาขนาดเล็ก (10 ไร่/ครอบครัว) และความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เทคโนโลยีในการทำนาไม่เหมาะสม โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวที่ทางราชการแนะนำส่งเสริมไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของหมู่บ้านยากจนแห่งนี้ การทำการประมงยังไม่ได้รับการศึกษาและพัฒนาจากทางราชการอย่างจริงจัง
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15192
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น