Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13752
Title: การการศึกษาสภาพ แนวทางป้องกันและการแก้ไขทางหลวงหมายเลข 4013 (ตอนต่อเขตเทศบาลปากพนัง - ท่าพญา – หัวไทร) ที่ถูกผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่ง
Authors: เลิศ, พัดฉวี
Keywords: ภัยพิบัติ น้ำท่วม ดินถล่ม;การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
Issue Date: Apr-2553
Publisher: กรมทางหลวง
Abstract: การเกิดอุทกภัยและวาตภัยเป็นภัยทางธรรมชาติ ที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่า จะเกิดเหตุ รุนแรงหรือไม่รุนแรงและเกิดเมื่อใด การป้องกันแก้ไขเพื่อรองรับเหตุการณ์ภัยธรรมชาติดังกล่าวสามารถทำ ได้ โดยมีข้อมูลในปี 2549 – 2551 ว่าสภาพพื้นที่ทางหลวงหมายเลข 4013 มีพายุหนักเกิดถนนวิบัติที่ช่วง กม. 18+000 – 19+000 และช่วงที่วิกฤตคือ กม. 13+000 – 18+000 ส่วนช่วง กม. 1+000 – 5+000 การกัด เซาะยังไม่รุนแรงแนวถนนห่างจากชายฝั่งประมาณ 150-200 เมตร ช่วง กม. 5+000 – 13+300การกัดเซาะยัง ไม่รุนแรงแนวถนนห่างจากชายฝั่งประมาณ 200-300 เมตร มีการทำนากุ้งของชาวบ้าน ช่วง กม. 13+300 – 14+000 มีการกัดเซาะถึงไหล่ทางได้ป้ องกันโดยใช้หินใหญ่ทิ้งซึ่งในปีต่อๆมามีการกลับมาของทรายทำให้ บริเวณนี้มีชายหาดงอกออกไป ช่วงกม. 14+000 – 15+500 สภาพในปี 2553ชายทะเลถูกกัดเซาะมาตลอด และมีความรุนแรง มีพายุหนัก แนวถนนห่างจากชายฝั่งประมาณ 60 – 80 เมตร จัดได้ว่าเป็นจุดวิกฤต เนื่องจากบริเวณนี้ไม่มีการทำเขื่อนกันคลื่นของกรมเจ้าท่า มีแต่หินใหญ่ที่ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดมา ทิ้งตามสภาพการกัดเซาะเป็นช่วงสั้นๆ และบางส่วนถูกคลื่นทำลายไปบ้างแล้ว หากปีใดเกิดพายุ คลื่นลมแรง การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำถนนช่วงนี้อาจเกิดวิบัติได้ ตั้งแต่ช่วง กม. 15+618 – 19+100 ถนนบางช่วงได้ วิบัติและบางช่วงมีโอกาสวิบัติสูง กรมทางหลวงจึงได้สร้างกำแพงป้ องกันคลื่น เพื่อไม่ให้ถนนเสียหาย ลักษณะเป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงตอกติดกันเป็นพืด หลังกำแพงสูงจากผิวทาง 1.50 เมตร และตั้งแต่ช่วง กม. 19+100 – 36+000 กรมเจ้าท่าได้ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นหินทิ้งในปี 2551 ทำให้บริเวณนี้ชายฝั่งไม่ถูกกัด เซาะแนวถนนห่างจากชายฝั่ง 100 – 200 เมตร แต่ยังมีบางช่วงที่ถนนวิกฤตมากแต่ชาวบ้านไม่ยอมให้กรม ทางหลวงก่อสร้างกำแพงกันคลื่นเนื่องจากเหตุผลหลายประการคือ ความเป็นธรรมชาติของชายทะเลหายไปการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมาก การแก้ไขด้วยเขื่อนกันคลื่นของกรมเจ้าท่า เป็นแนวทางที่ชาวบ้านคิดว่าดีและทำให้ชายหาดงอกออกไปต้องการให้กรมเจ้าท่าดำเนินการป้ องกันก่อน การได้สำรวจพื้นที่และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนงานป้ องกันและ บำรุงรักษาทางหลวงสายนี้ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ วิถีการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพของชาวบ้าน และที่สำคัญคือธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องไม่เปลี่ยนแปลงมาก
Description: รายงานทางวิชาการ
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13752
Appears in Collections:993 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา



Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.