Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12331
Title: | การประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการตั้งด่านตรวจ จุดสกัด จุดตรวจ ของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จาก กรณีศึกษาอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส |
Other Titles: | Assessment of Citizen Satisfaction with the Checkpoints of Government Officials in Southern Three Provinces: A Case of Bacho District, Narathiwat Province. |
Authors: | วิษณุพงษ์ โพธิพิรุฬห์ ไพอีซิล เจ๊ะอาแซ Faculty of Management Sciences (Public Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
Keywords: | เจ้าหน้าที่ของรัฐ;ความพอใจของผู้ใช้บริการ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วัดระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด ของเจ้าหน้าที่รัฐใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน คุณภาพการบริการประชาชน และประสิทธิผลหรือการบังเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจรัฐ ที่มีต่อความพึงพอใจโดยรวมของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในอาเภอบาเจาะ ประกอบด้วย 1.ครูสามัญ และครูสอนศาสนา ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาจานวน 80 คน 2.ประชาชนในตาบลบาเระเหนือ จานวน 100 คน 3.ประชาชนในตาบลบาเระใต้ จานวน 50 คน 4.ประชาชนในตาบลกาเยาะมาตี จานวน 70 คน 5.ประชาชนในตาบลปะลุกาสาเมาะ จานวน 55 คน 6.ประชาชนในตาบลลูโบ๊ะสาวอ จานวน 20 คน 7.ประชาชนในเขตเทศบาลตาบลบาเจาะ จานวน 10 คน 8. ประชาชนในเขตเทศบาลตาบลต้นไทร จานวน 17 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าที่เป็นอิสระต่อกัน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด ของเจ้าหน้าที่รัฐใน 3 จังหวัดชายภาคแดนใต้ ในมุมมองของประชาชน กรณีศึกษาอาเภอบาเจาะ ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และพบว่า ด้านมารยาทส่งผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจโดยรวมของประชาชน ( β=.423) ทั้งนี้ยังพบว่าด้านความคุ้มค่าส่งผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจ (β=.331) ความเหมาะสมส่งผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจ (β=.176) และยังพบว่าความเข้มงวดส่งผลเชิงลบต่อความพึงพอใจ (β=-.154) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
Description: | รัฐประศาสนศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ,2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12331 |
Appears in Collections: | 465 Minor Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ไพอีซิล เจ๊ะอาแซ.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.