Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12271
Title: ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี
Other Titles: Creative Leadership of Islamic Private School Administrators in Pattani Province
Authors: อะห์มัด, ยี่สุ่นทรง
รอซียะห์, ลาเต๊ะ
College of Islamic Studies (Islamic Studies)
วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา)
Keywords: ศาสนาอิสลาม;อิสลามศึกษา
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของโรงเรียน 3) ประมวลแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอก ชนสอนศาสนาอิสลาม จำนวน 127 คน ครูผู้สอนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี จำนวน 357 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 484 คน ใช้ในการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและแบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นขนาดของโรงเรียนที่มีความแตกต่างกัน 3) ประมวลแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี ในด้านจินตนาการ พบว่า ผู้บริหารควรเป็นผู้นำที่มีลักษณะของการเป็นผู้ที่มีสติปัญญาอันเฉลียวฉลาด มีความรอบรู้ ตลอดจนเป็นผู้นำที่มีไหวพริบดีในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดแบบเดิม ๆ เพื่อการพัฒนาสถานศึกษาที่มีคุณภาพ ด้านความยืดหยุ่น พบว่า ผู้บริหารควรมีพฤติกรรมของความยืดหยุ่นผ่อนปรน สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ มีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมตามความเหมาะสมกับเวลาและสถานที่ เปิดโอกาสให้บุคลากรหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ด้านวิสัยทัศน์ พบว่า ผู้บริหารควรมีทักษะในการสร้างวิสัยทัศน์ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา โดยสามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและบริบทของสถานศึกษาได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นนักแก้ปัญหาได้ดี ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ด้านแรงจูงใจ พบว่า ผู้นำที่มีศักยภาพจะต้องมีทักษะในด้านการพัฒนาภาวะผู้นำคือ มีทักษะในด้านความรู้ความสามารถในการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ทั้งนี้เพื่อเป็นกำลังใจที่สำคัญในสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพและเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม และด้านความไว้วางใจ พบว่า ผู้บริหารควรสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจให้กับคณะครูในการจัดการเรียนการสอนหรือแสดงความคิดเห็นในกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษาและผู้บริหารควรเปิดโอกาสและยอมรับความคิดเห็นของบุคลากรในการริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ The purposes of this research were 1) to investigate creative leadership of Islamic private school administrators in Pattani province 2) to compare their creative leadership based on gender, age, educational level, experiences and school size and 3) to propose guidelines for developing creative leadership of school administrators. This study employed survey research methodology and the samples used in this study consisted of 127 school administrators and 357 teachers from Islamic private schools in Pattani province, total was 484 samples. Non-Structured interview and questionnaires were used in the data collection, and statistical analysis, was Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test and F-test. The research findings were as follows: 1) Level of creative leadership of the school administrators in Islamic private school in Pattani province was high in both overall level and each dimensional level. 2) The comparative study of their creative leadership showed that there were no significant differences in both overall and each dimensional level based on gender, age, educational level and their experiences except the school size. 3) As regard to the proposed guidelines for developing creative leadership, this study shows that there are five aspects that the administrators should be aware of namely imagination, flexibility, vision, motivation and trust. Imagination aspect, it can be illustrated that the administrators should be smart, knowledgeable and be able to solve problems wisely and creatively and be the leader of change for creating better quality of school development. Flexibility aspect, it shows that they should be adaptable to different situations and be able to adjust certain activities appropriately. Moreover, they should let their employees express their views and opinions freely. Vision aspect, the administrators should be skillful in vision building to serve as a sturting point for developing schools quality. Also, they should be creative problem solvers and analysts in order for them to develop schools toward achicving excellence. Motivation aspect, potential leaders should be skillful in leadership development. In other words, they should know how to encourage and motivate teachers to work in schools and create their quality works which are visible to the society. And trust aspect, the administrators should build trust in teachers and help them to buid self-confidence in their teaching and learning management or encourage them to express their views towards schools’ activities. Furthermore, teachers’ discussion floor should be provided to initiate and produce teaching innovations.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12271
Appears in Collections:761 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1556.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.