Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12150
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอลิสรา, ชมชื่น-
dc.contributor.authorรอฮานี, ปูตะ-
dc.date.accessioned2019-03-20T07:29:44Z-
dc.date.available2019-03-20T07:29:44Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12150-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับการศึกษาชั้นเรียนที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเขาวัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ซึ่งใช้ภาษามลายูท้องถิ่นในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน จำนวน 26 คน ใช้เวลาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 15 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ปัญหาปลายเปิด แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับการศึกษาชั้นเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบที (t-test) ชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระแก่กัน ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับการศึกษาชั้นเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับการศึกษาชั้นเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ระดับดี และจำนวนนักเรียนที่มีระดับความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับดีถึงดีเยี่ยมคิดเป็นร้อยละ 65.38 (3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับการศึกษาชั้นเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับการศึกษาชั้นเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ระดับพอใช้ และจำนวนนักเรียนที่มีระดับความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับดีถึงดีเยี่ยมคิดเป็นร้อยละ 30.77 This research aimed to study the effects of open approach instruction with lesson study on mathematical problem solving ability and creative thinking of grade 6 students. The sample included 26 students in grade 6 who use Malay language in daily life at Bankhaowang school, Mayo, Pattani, during the second semester of the 2017 academic year. The duration of the experiments lasted for 15 hours. The research instruments were open – ended problems, open approach instruction with lesson study lesson plans , mathematical problem solving ability test, mathematical creative thinking test. The data were analyzed by mean, standard deviation, percentage and t-test for dependent groups. The finding were as follows: (1) The mathematical problem solving ability of students after learning by open approach instruction with lesson study activities was statistically higher than that before learning at the .05 level of significance. (2) The post-test mean scores of mathematical problem solving ability was good level and 65.38% of the students were good to excellent mathematical problem solving ability level. (3) The mathematical creative thinking of students after learning by open approach instruction with lesson study activities was statistically higher than that before learning at the .05 level of significance. (4) The post-test mean scores of mathematical creative thinking was satisfactory level and 30.77% of the students were good to excellent mathematical creative thinking level.th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีth_TH
dc.subjectคณิตศาสตร์th_TH
dc.subjectการจัดการเรียนการสอนth_TH
dc.titleผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับการศึกษาชั้นเรียนที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6th_TH
dc.title.alternativeEffects of Open Approach Instruction with Lesson Study on Mathematical Problem Solving Ability and Creative Thinking of Grade 6 Studentsth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentFaculty of Education (Education)-
dc.contributor.departmentคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา-
Appears in Collections:270 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1534.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.