Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11848
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอลิสรา, ชมชื่น-
dc.contributor.authorปาฮามี, อาแว-
dc.date.accessioned2018-06-01T08:21:39Z-
dc.date.available2018-06-01T08:21:39Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11848-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนมโนทัศน์ที่มีต่อมโนทัศน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านตาหมน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) และใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนมโนทัศน์ 2) แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ดำเนินการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน (one group pretest-posttest design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขนาดของกลุ่มอิทธิพล ทดสอบสอบค่าที (t-test for dependent samples) และวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ โดยใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า 1. นักเรียนมีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนมีมโนทัศน์ที่ถูกต้องเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.75 มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเฉลี่ยลดลงร้อยละ 14.00 และมโนทัศน์ที่ผิดเฉลี่ยลดลงร้อยละ 20.75 วิธีการบรรลุมโนทัศน์ของนักเรียนนั้น เริ่มจากการสังเกตคุณลักษณะของตัวอย่าง จัดกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณลักษณะเหมือนกันเข้าด้วยกัน สร้างสมมติฐานแล้วทำการทดสอบสมมติฐานที่วางไว้ 3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนมีระดับผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 60 5. มโนทัศน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 This research aimed to study the effects of learning management by concept attainment process on concept and achievement in mathematics. The sample of this research was 20 students in third grade, during the second semester of the 2016 academic year at Bantamon School, Yaring, Pattani Province in Pattani Primary Educational Service Area Office 1. Purposive sampling was deployed. Researcher conducted 16 hours learning test by using one group post-test and pre-test design. The tools used in the study are 1) concept attainment process lesson plan, 2) mathematics concept test, and 3) mathematics achievement test. Data were analyzed in order to get the mean, the standard deviation, t-test for dependent samples and correlation analysis by using pearson product moment correlation coefficient. The results of the study are as follow 1. Students had higher mathematics concept after they took the course with a statistical significance .05 comparing to before taking the course, 2. Students had percentage of correct concept increase 34.75, discrepant concept decrease 14.00 and incorrect concept decrease 20.75. The step to get concept were 1) observed examples 2) grouped and compared examples 3) defined hypothesis 4) checked hypothesis and 5) defined the concept. 3. Students had higher mathematics achievement after they took the course with a statistical significance .05 comparing to before taking the course, 4. Students had higher mathematics achievement after they took the course at 60 percent, and 5. Concept and mathematics achievement of students showed positive relation with a statistical significance .01.th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีth_TH
dc.subjectการจัดการเรียนรู้th_TH
dc.titleผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนมโนทัศน์ที่มีต่อมโนทัศน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1th_TH
dc.title.alternativeEffects of Learning Management by Concept Attainment Process on Concept and Achievement in Mathematics of Third Grade Students in Pattani Primary Educational Service Area Office 1th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentFaculty of Education (Education)-
dc.contributor.departmentคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา-
Appears in Collections:270 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1479.pdf21 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.