Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11798
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณรงค์รักษาเขต, อิบรอฮีม-
dc.contributor.authorดือราแม, มูหัมมัดมูฟตี-
dc.date.accessioned2018-04-09T08:39:01Z-
dc.date.available2018-04-09T08:39:01Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11798-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยะลา 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยะลา จำแนกตามอายุ ประสบการณ์และประเภทต้นสังกัดที่ถ่ายโอน 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารงานบุคคลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูผู้ดูแลเด็กจำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .859 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่า (F-test) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา. ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยะลาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทั้งทางด้านการสรรหาบุคลากร ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการบำรุงรักษาบุคลากรและด้านการประเมินผลปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน ยกเว้นสภาพการบริหารบุคคลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้านการสรรหาบุคลากรอยู่ในระดับมาก. 2) สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยะลาโดยจำแนกตามอายุ ประสบการณ์และประเภทต้นสังกัดที่รับถ่ายโอน มีสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในภาพรวมแตกต่างกันอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ยกเว้นสภาพการบริหารบุคคลโดยจำแนกตามอายุ และปัญหาการบริหารงานบุคคลของศูนย์ฯโดยจำแนกตามประสบการณ์ไม่มีความแตกต่างกัน. 3) ข้อเสนอแนะการบริหารงานบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยะลา ด้านการสรรหาบุคลากร ควรสำรวจและวางแผนเพิ่มบุคลากรให้เพียงพอ ประกาศผลสอบ สามารถตรวจสอบได้ ด้านการพัฒนาบุคลากรควรมีการกำหนดแผนและงบประมาณเพื่อการพัฒนาบุคลากรที่ชัดเจน สนับสนุนให้ครูได้รับการยกระดับทักษะความรู้ใหม่ๆ การจัดโครงการทัศนะศึกษานอกสถานที่ สนับสนุนการอบรมในสถานที่และนอกสถานที่ ด้านการบำรุงรักษาบุคลากรควรปรับเงินเดือนให้เหมาะสมกับวุฒิการศึกษา ควรมีการเลื่อนขั้นเงินเดือนเงินเดือนประจำปี ควรจัดให้มีสวัสดิการ ครูผู้ดูแลเด็กที่มีความประพฤติดี ได้รับการยกย่องชมเชย ควรจัดให้มีโบนัสประจำปี ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ควรมีการประเมินผลเพื่อการพัฒนาและเลื่อนขั้นเงินเดือนบุคลากรในแต่ละปี ควรกำหนดวัตถุประสงค์การประเมินที่เหมาะสมชัดเจน การประเมินควรมีความโปร่งใสและเป็นธรรม ผลการประเมินการปฏิบัติงานนำเสนอให้บุคลากรได้รับทราบอย่างเปิดเผย This study was aimed at (1) investigating states and problems of personnel management of preschools under subdistrict administrative organizations in Yala province of Thailand, (2) comparing states and problems of personnel management of preschools under subdistrict administrative organizations in Yala province regarding to personal factors : age, work experience and original affiliation, and (3) providing suggestions for personnel management of preschools under subdistrict administrative organizations in Yala province of Thailand. The participants included 155 preschool teachers. Data were collected through a questionnaire (r = .85). The obtained data were analyzed by using percentages, means, standard deviations, and F-test. Content analysis was also conducted. The findings indicated the following. 1) States and problems of personnel management of preschool under subdistrict administrative organizations in Yala were at a moderate level, as a whole. Specifically, recruitment, development, maintenance, and assessment were found at a moderate level, with the exception of conditions of recruitment which was found at a high level. 2) Conditions and problems of personnel management of preschools according to the participants with different ages, working experiences, and types of affiliations were, as a whole, significantly different (p = .05). Specifically, states of personnel management among the participants with different ages and problems of personnel management among the participants with different working experiences were not found different, respectively. 3) Suggestions included planned recruitment of sufficient personnel, recruitment announcement accountability, clear personnel development planning and budgeting, support for development of teachers’ skills, organizing study visit programs, encouragement of teacher training, education-based salary adjustment, promotion, bonus payments, providing social welfare, job appraisal and annual bonus for well-behaved teachers, performance assessment for salary increase, appropriate and clear objectives of assessment, accountable and reliable assessment, and disclosure of performance assessment.th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีth_TH
dc.subjectศูนย์พัฒนาเด็กเล็กth_TH
dc.subjectอิสลามศึกษาth_TH
dc.titleสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยะลาth_TH
dc.title.alternativeStates and Problems of Personnel Administration of Child Development Center under Sub-District Administrative Organizations in Yala Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentCollege of Islamic Studies (Islamic Studies)-
dc.contributor.departmentวิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา)-
Appears in Collections:761 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1467.pdf7.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.