Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11773
Title: ผลกระทบจากการเพิ่มความเข้มข้นของแอมโมเนีย ต่อการเจริญเติบโต เมแทบอลิซึม ออสโมเรกูเลชันและอัตราการอยู่รอดของปลากะพงขาว (Lates calcarifer)
Other Titles: Impact of Elevated Ammonia Concentration on Growth, Metabolism, Osmoragulation and Survival Rates of Asian Seabass (Lates calcarifer)
Authors: อิสระ อินตะนัย
ริฎวาน ศอลิห์วงศ์สกุล
Keywords: เมแทบอลิซึม;ปลากะพงขาว
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การศึกษาผลกระทบจากการเพิ่มความเข้มข้นของแอมโมเนีย ต่อการเจริญเติบโต เมแทบอลิซึม ออสโมเรกูเลชันและอัตราการอยู่รอดของปลากะพงขาว (Lates calcarifer) ในระยะจูวีไนล์ น้ำหนักเฉลี่ย 24±0.5 กรัม ความยาวเฉลี่ย 12.7±0.5 เซนติเมตร พบว่าค่า LC50 ที่เวลา 96 ชั่วโมงของแอมโมเนีย มีค่าเท่ากับ 2.45 มิลลิกรัมต่อลิตร การทดลองเลี้ยงปลาในแอมโมเนียความเข้มข้น 0 (ชุดควบคุม) , 0.0024, 0.024 และ 0.24 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าแอมโมเนียความเข้มข้น 0.24 มิลลิกรัมต่อลิตรมีผลต่อการเจริญเติบโต ออสโมเรกูเลชัน และเมแทบอลิซึมในปลากะพงขาว ต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ การเจริญเติบโตวัดจาก อัตราการกินอาหาร น้ำหนัก ความยาว ความกว้าง และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะของปลา พบว่า ทำให้ค่าดังกล่าวลดลง 67.4, 52.9, 78.7, 75 และ 75% ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม นอกจากนี้ยังส่งผลต่อออสโมเรกูเลชันโดยการเพิ่มขึ้นของออสโมลาลิตี้ในเลือด สำหรับเมแทบอลิซึม พบความผิดปกติที่แอมโมเนียระดับนี้ ทำให้อัตราการหายใจ และอัตราการขับแอมโมเนียลดลงจากชุดควบคุม 60.6 และ 39.3% ตามลำดับและพบว่าอัตราการหายใจ และอัตราการขับแอมโมเนียมีความสัมพันธ์กับอัตราการกินอาหารของปลาการวัดปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น และปริมาณกลูโคสในเลือด พบว่าแอมโมเนียที่ระดับความเข้มข้นสูงสุด 0.24 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้ปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่นของปลาไม่แตกต่างจากชุดควบคุม แต่ที่ความเข้มข้นดังกล่าวทำให้ปลามีปริมาณกลูโคสสูงกว่าชุดควบคุม 66.7 % อัตราการอยู่รอดของปลากะพงขาวในแอมโมเนียความเข้มข้น 0.24 มิลลิกรัมต่อลิตร ในสัปดาห์สุดท้ายของการทดลองลดลงจากชุดควบคุม 7.6 % การศึกษานี้ยังพบว่าแอมโมเนียมีผลต่อค่าสัมประสิทธิ์ความสมบูรณ์ของปลากะพงขาว พบว่าปลาในชุดควบคุมมีค่าสัมประสิทธิ์ความสมบูรณ์ของปลาต่ำที่สุด และรองลงมาคือปลาในชุดการทดลอง ขณะที่ในแอมโมเนียความเข้มข้น 0.0024, 0.024 และ 0.24 มิลลิกรัมต่อลิตร มีค่าสัมประสิทธิ์ความสมบูรณ์ของปลาเท่ากับ 1.16, 1.18, 1.21 และ 1.37 ตามลำดับ The effects of elevated ammonia concentration on growth, metabolism, osmoragulation and survival rates of juvenile Asian seabasses (Lactes calcarifer) were studied, the average initial weight was 24±0.5 g. and 12.7±0.5 cm in tatal length. Ammonia toxicity for 96 h (LC50) was 2.45 mg/l. Asian seabasses were exposed to various ammonia concentrations ranging from 0 (control test), 0.02, 0.024 and 0.24 mg/l for a period of 8 weeks. The results showed that ammonia concentration at 0.24 mg/l had direct effects on growth, osmoregulation and metabolism of Asian seabass. The growth was estimated by food consumption rate, weight, length, width and specific growth rate. The study found that these parameters decreased from the highest ammonia concentration (0.24 mg/l) by 67.4, 52.9, 78.7, 75 and 75%, respectively, when compared with control group. The osmoregulation was also affected by increasing plasma osmolality. On the evaluation of metabolism, there were metabolic abnormality by evaluating respiration rate and ammonia excretion rate. Moreover, these parameters decreased at the highest ammonia concentration (0.24 mg/l) by 60.6 and 39.3%, respectively, compared to control group. The respiration rate and ammonia excretion rate were related to food consumption rate. The haemotocrit at the highest ammonia concentration showed no differences from the control. However, blood glucose of fish exposed in this concentration was higher than that of the control group by 66.7%. In addition the survival rate of Asian seabass fish at the end of experiment statistically decreased from the control group by 7.6%. Finally, the condition factor (K) of Asian seabass fish in the control group was lowest with the value of 1.16, 1.18, 1,21 and 1.37 at 0, 0.0024, 0.024, and 0.24 mg/l. of ammonia concentration, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(ชีววิทยาประยุกต์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11773
Appears in Collections:722 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1441.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.