Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11756
Title: แบบรูปฟีโบนักชี ฟังก์ชันการเจริญเติบโต ปริมาตรของเมล็ดและการจัดเรียงเมล็ด
Other Titles: Fibonacci Pattern, Growth Function, Volume of Seeds and Arrangement
Authors: ภาขวัญ ริยาพันธ์
มูฮัมหมัดอาลาวี บูกุ
Keywords: แบบรูปฟีโบนักชี;คณิตศาสตร์
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การศึกษางานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกลีบของดอก ทานตะวันกับจำนวนฟีโบนักชี โดยการนับจำนวนกลีบของดอกทานตะวัน รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างจำนวนเส้นเวียนก้นหอยของการจัดเรียงเมล็ดของดอกทานตะวันกับจำนวนฟีโบนักชี โดยการ นับจำนวนเส้นเวียนก้นหอยของการจัดเรียงเมล็ดของดอกทานตะวันในทิศทวนและตามเข็มนาฬิกา พร้อมทั้งศึกษาการเจริญเติบโตของดอกทานตะวันโดยการวัดความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของ ดอกทานตะวัน และใช้แบบจำลองการเติบโตด้วยฟังก์ชันลักษณะคล้ายตัว S เพื่อหาผลเฉลยทั่วไป นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาปริมาตรของเมล็ดดอกทานตะวันโดยวิธีการเก็บข้อมูลทาง กายภาพของเมล็ด (ความกว้าง ความยาวและความหนา) และประมาณค่าปริมาตรของเมล็ดในแต่ละ พื้นที่และทั้งดอกทานตะวันด้วย 5 วิธี อีกทั้งศึกษาการบรรจุเมล็ดของดอกทานตะวัน โดยการหา ประสิทธิภาพของการบรรจุเมล็ดจากดอกทานตะวันจริงและได้สร้างแบบจ าลองการจัดเรียงเมล็ดของ ดอกทานตะวันด้วย<br>The aim of this study is to investigate the relation between the number of sunflower petals and Fibonacci number by counting the number of sunflower petals. The relation between the spiral number of arrangement of sunflower seeds and Fibonacci number is studied by counting spiral number of arrangement of sunflower seeds in counterclockwise and clockwise directions. The growth of sunflowers is observed by measuring the length of diameter of sunflowers and studied by using a sigmoid function in order to find the general solution Furthermore, the volume of sunflower seeds is collected from the physical grain of sunflowers (width, length and thickness) and estimated on each region of sunflower heads and on the whole heads by using 5 methods. Moreover, the packing of sunflowers is considered by computing the efficiency of arrangement of seeds and creating a model for studying of this arrangement.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(คณิตศาสตร์ประยุกต์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11756
Appears in Collections:722 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1426.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons