Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11090
Title: สภาพ ปัญหา และแนวทางการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มในโรงเรียนของรัฐ จังหวัดสงขลา
Other Titles: States, Problems and Guidelines of Intensive Islamic Studies Curriculum Administration in the Public Schools, Songkhla Province.
Authors: อะห์มัด, ยี่สุ่นทรง
พิชยา, ทอดทิ้ง
College of Islamic Studies (Islamic Studies)
วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา)
Keywords: การบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษา;อิสลามศึกษา
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัญหาการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มในโรงเรียนของรัฐ จังหวัดสงขลา และเพื่อประมวลข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหาร ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์จำนวน 12 คน และผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอนอิสลามศึกษาแบบเข้ม ในโรงเรียนของรัฐ จังหวัดสงขลา จำนวน 155 คน มีการออกแบบวิจัย แบบผสมผสาน โดยใช้แบบแผนเชิงสำรวจบุกเบิก (Exploratory Design) รูปแบบการพัฒนาเครื่องมือวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และ F-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มในโรงเรียนของรัฐ จังหวัดสงขลา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน และผลการเปรียบเทียบสภาพ ปัญหาการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มของผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอนอิสลามศึกษาแบบเข้ม ในโรงเรียนของรัฐ จังหวัดสงขลา จำแนกตามตัวแปร เพศ ตำแหน่งงาน อายุ โดยภาพรวม พบว่าไม่แตกต่างกัน ยกเว้นวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานที่ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มในโรงเรียนของรัฐ จังหวัดสงขลา 1) ด้านการเตรียมความพร้อมบริหารหลักสูตร ควรมีการจัดอบรมผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการและครูผู้สอนอิสลามศึกษาแบบเข้มในด้านหลักสูตร จัดหาบุคลากรครูที่จบอิสลามศึกษาโดยตรง ให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน ให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา 2) ด้านการวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาแบบเข้ม ต้องร่วมกันวางแผนบริหารหลักสูตรอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง เพื่อปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรทั้งสาระวิชาและเวลาเรียน 3) ด้านการดำเนินการบริหารหลักสูตร(ใช้หลักสูตร)ครูควรจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับโครงสร้างของหลักสูตร สอนแบบบูรณาการเนื้อหารายวิชา และใช้เทคนิคที่หลากหลาย ใช้สื่อที่น่าสนใจ และหน่วยงานภาครัฐควรจัดสรรงบประมาณจัดทำหนังสืออิสลามศึกษา สื่อวัสดุอุปกรณ์ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน 4) ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล ภายในสถานศึกษา ควรแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ด้านอิสลามศึกษา ร่วมกันวางแผนการนิเทศ กำหนดเครื่องมือ ดำเนินการนิเทศ สรุปและรายงานผลการนิเทศให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและชุมชนรับทราบ และให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลอิสลามศึกษา เข้ามานิเทศติดตาม การจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาอย่างต่อเนื่อง แก้ไข ลบ element แทรก element DescriptionAbstract This research aimed to examine and compare states, problems of intensive Islamic studies curriculum administration in the public schools, Songkhla Province and to propose guidelines of Intensive Islamic studies curriculum administration in the Schools. The key informants included 12 informants of interview data and 155 informants of quantitative data consisting of administrators, heads of academic administration unit and intensive Islamic studies teachers. A mixed method research design which based on exploratory design for developing instrument was used in this research. The statistics employed to analyze the data consists of percentage, average, standard deviation, T (t-test) and F (F-test) and content analysis for qualitative data. The findings of this studies were as follows: the overall level of states, problems of intensive Islamic studies curriculum administration in the public schools, Songkhla Province is high in all dimensions. The results of the comparison of states, problems of intensive Islamic studies curriculum administration of administrators, heads of academic administration nit and intensive Islamic studies teachers in the Schools based on sex, work positions, age showed that there were no significant differences between groups with respect to this demographic data. However, the level of problems of intensive Islamic studies curriculum administration was found to have a statistically significant difference between group with respect to educational qualification and work experiences at 0.05. The proposed suggestions and guidelines of intensive Islamic studies curriculum administration in the public schools, Songkhla Province are 1) on the preparation for curriculum administration, there shall be a practical training conducted for administrators, heads of academic administration unit and intensive Islamic studies teachers. The recruitment of the right teachers who graduated directly from Islamic studies program must be done and the government and private department as well as community need to provide a supporting budget to promote the teaching and learning management of Islamic studies. 2) On the curriculum implementation plan, all parties involved in the teaching of intensive Islamic studies must work collaboratively in the planning of curriculum implementation. Their plan on the curriculum implementation must be clear and consistent in order to make curriculum modification be congruent with the curriculum structure for both subjects and studiestime.3) On the curriculum administration operation (the curriculum implementation), teachers should manage the teaching and learning according to the curriculum structure, use subject contents integration in teaching and use a variety of teaching technique and interested teaching Medias. In addition, the government department should made a budget allocation for Islamic studies books and studies materials which are to be used for supporting the teaching and learning. 4) On the supervision, monitoring, follow-up and internal evaluation, the schools should appoint a supervisory board for Islamic studies, make a collaborative planning on supervision, specify an instrument to be used, conduct supervision and make a summary and report the supervision results to the concern individuals and community. In addition, the agency that oversees Islamic studies should come to the schools to give supervision on the management of teaching and learning Islamic studies regularly.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สาขาวิชาอิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11090
Appears in Collections:761 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1356.pdf43.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.