กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19557
ชื่อเรื่อง: การรับรู้เรื่องราวของข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Effect of Storytelling of Sangyod Muang Phatthalung Rice towards Purchase Intention
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุมนา ลาภาโรจน์กิจ
จินดารัตน์ ชูสง
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: ผู้บริโภค;การเลือกของผู้บริโภค
วันที่เผยแพร่: 2019
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objective of this research was to study the perception of Sangyod Muang Phatthalung Rice that affected consumers' purchasing intention. The research was divided into 2 steps. Firstly, the researcher conducted a qualitative interview to explore the story of Sangyod Muang Phatthalung Rice. The result showed that the story of Sangyod Muang Phatthalung Rice was divided into 5 aspects, which are: 1) Sentimental value 2) Mythology 3) Relationship between product and geography 4) Nutrition 5) Soil fertility. Therefore, these stories are taken to conduct the survey in second step. The researcher used the questionnaire to collect data for the following objectives 1) To study the perception of Sangyod Muang Phatthalung Rice that affects the attitude of consumers towards this kind of rice 2) To study the perception of Sangyod Muang Phatthalung Rice and consumer's attitudes toward Sangyod Muang Phatthalung Rice that affect purchase intention for this kind of rice. The selected sample were 385 consumers who had never bought and knew Sangyod Muang Phatthalung Rice. The statistics used are frequency, percentage, mean, standard deviation and the regression analysis. The results showed that most consumers are female at the age between the ages of 20 - 30 years old with a career as an employee of private company. They hold a bachelor's degree, single and have average monthly income 15,001-25,000 baht. It was found that most favorite story aspect of Sangyod Muang Phatthalung Rice for most consumers is nutrition, which is 27.8% and followed by sentimental value, which is 23.3%. Moreover, consumers also see that nutrition is also the most interesting narration. In addition, the perception of Sangyod Muang Phatthalung Rice affects consumer's attitudes toward Sangyod Muang Phatthalung Rice at 52.9 % (R2 = .529) and the perception of Sangyod Muang Phatthalung Rice and Consumer's attitudes toward Sangyod Muang Phatthalung Rice affect purchase intention at 50.1 (R2 = .501) with statistically significant at 0.01 level.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เรื่องราวของข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ที่ ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 ขั้นตอน ในขั้นตอนแรก ผู้วิจัยได้ดําเนินการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพ เพื่อค้นหาเรื่องราวของข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ผลการวิจัยพบว่า เรื่องราวของข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงได้แบ่งออกเป็น 5 เรื่องราว ได้แก่ 1) เรื่องราวที่ทรงคุณค่าทางจิตใจ 2) เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตํานาน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสินค้ากับแหล่งภูมิศาสตร์ 4) เรื่องราวด้าน คุณค่าทางโภชนาการ 5) เรื่องราวเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และได้นําเรื่องราวเหล่านี้มาดําเนิน การสํารวจในขั้นตอนที่สอง คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลโดยมี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้เรื่องราวข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงที่มีผลต่อทัศนคติของผู้บริโภคที่มี ต่อข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง 2) เพื่อศึกษาการรับรู้เรื่องราวข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงและทัศนคติของผู้บริโภค ที่มีผลต่อข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การศึกษา คือ ผู้บริโภคที่ไม่เคยซื้อและไม่เคยรับรู้เรื่องราวข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงเท่านั้น จํานวน 385 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าการวิเคราะห์ ถดถอย (Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 - 30 ปี มีอาชีพ เป็นพนักงานเอกชน มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีสถานภาพโสด และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001- 25,000 บาท ซึ่งพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความชื่นชอบเรื่องราวข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงในเรื่องราวด้าน คุณค่าทางโภชนาการ คิดเป็นร้อยละ 27.8 รองลงมาคือเรื่องราวที่ทรงคุณค่าทางจิตใจ คิดเป็นร้อยละ 23.3 และผู้บริโภคยังเห็นว่าเรื่องราวด้านคุณค่าทางโภชนาการเป็นเรื่องราวที่สื่อได้น่าสนใจมากที่สุด และนอกจากนี้ยังพบอีกว่า การรับรู้เรื่องราวข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง มีผลต่อทัศนคติ ของผู้บริโภคที่มีต่อข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ได้ร้อยละ 52.9 (R = 529) และการรับรู้เรื่องราวข้าวสังข์หยด เมืองพัทลุงและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีผลต่อข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงมีผลต่อความตั้งใจซื้อข้าวสังข์ หยดเมืองพัทลุง ได้ร้อยละ 50.1 (R = 501) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19557
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
435431.pdf1.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons