กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19501
ชื่อเรื่อง: แบบจำลองสมการโครงสร้างพฤติกรรมการจัดการซากถ่านไฟฉายของครัวเรือน กรณีศึกษา : เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Structural equation model of behavior in management used batteries from household : A case study of Hat - Yai municipality Hat - Yai district Songkhla province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เกื้ออนันต์ เตชะโต
มณฑี พฤกษ์ปาริชาติ
Faculty of Environmental Management (Environmental Management)
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
คำสำคัญ: การจัดการของเสีย หาดใหญ่ (สงขลา);ถ่านไฟฉาย การจัดการ แบบจำลอง
วันที่เผยแพร่: 2019
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objective of this study was to develop the structural equation model of factors predicting behavior in management of the used batteries from households: a case study of Hat - Yai city municipality, Hat Yai district, Songkhla province. The sample group consisted of 450 households recruited by using multi-stage random sampling and the research instrument was the structured questionnaire (one/multiple choice and rating scale). Data were analyzed with frequency, percentage, min-max, mean, standard deviation, measurement modeling and structural equation modeling. Six latent variables were measured from 15 observed variables. The latent variables are 1) used battery managing behavior 2) environmentally friendly battery buying behavior 3) intention to buy environmentally friendly batteries 4) intention to manage used batteries 5) household factor and 6) environment factor. The study found that the level of behavior in management of the used batteries from household in Hat Yai city municipality was at sometimes level. It was found that the mean was 2.63, standard deviation was 0.96. The structural equation modeling of factors predicting behavior in management used batteries from household was well fitted to empirical data (Chi-Square- 369.74, df - 76, p-value - 0.000, x2/df- 4.87, CFI = 0.95, NNFI - 0.91, SRMR 0.07 and RMSEA = 0.09). Environmentally friendly battery buying behavior was directly influenced by intention to buy environmentally friendly batteries, household factor and environmental factor with the path coefficient values of 0.43, 0.33 and 0.15, respectively. For the used battery, the managing behavior was directly influenced by intention to manage used batteries, environmental factor and household factor with the path coefficient values 0.44, 0.35 and 0.29, respectively. Intention to buy environmentally friendly batteries factor, household factor and environmentally factor were explained by the variance of environmentally friendly battery buying behavior at the percentage of 56 and the intention to manage used batteries factor, household factor and environmentally factor were explained by the variance of used battery managing behavior at the percentage of 79.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจําลองสมการโครงสร้างของปัจจัยทํานายพฤติกรรมการจัดการซากถ่านไฟฉายของครัวเรือนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างเป็นครัวเรือนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จํานวน 450 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (ตอบได้ข้อเดียว ตอบได้หลายข้อ และมาตราส่วน) และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ําสุด-สูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบจําลองการวัด และแบบจําลองโครงสร้าง แบบจําลองมีปัจจัย แฝง 6 ตัวแปรจากการวัดค่าตัวแปรสังเกตได้ 15 ตัวแปร ประกอบด้วย พฤติกรรมจัดการซาก ถ่านไฟฉาย พฤติกรรมซื้อถ่านไฟฉายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความตั้งใจที่จะจัดการซากถ่านไฟฉาย ความตั้งใจที่จะซื้อถ่านไฟฉายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปัจจัยสภาพแวดล้อม และปัจจัยครัวเรือน ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการจัดการซากถ่านไฟฉายของครัวเรือนในเขตเทศบาล นครหาดใหญ่อยู่ในระดับทําบ้างเป็นบางครั้ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.63 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.96 และพบว่าแบบจําลองโครงสร้างของปัจจัยทํานายพฤติกรรมการจัดการซากถ่านไฟฉายของ ครัวเรือนโดยภาพรวมมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 2/df = 4.87, CFI = 0.95, NNFI = 0.91, SRMR = 0.07 และ RMSEA = 0.09 พฤติกรรมซื้อถ่านไฟฉายที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้รับอิทธิพลทางตรงจากความตั้งใจที่จะซื้อถ่านไฟฉายที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ปัจจัยครัวเรือน และปัจจัยสภาพแวดล้อมมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.43, 0.33 และ 0.12 ตามลําดับ และพฤติกรรมจัดการซากถ่านไฟฉายได้รับอิทธิพลทางตรงจากความตั้งใจที่จะ จัดการซากถ่านไฟฉาย ปัจจัยสภาพแวดล้อม และปัจจัยครัวเรือนมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.44, 0.35 และ 0.29 ตามลําดับ ทั้งนี้ปัจจัยความตั้งใจที่จะซื้อถ่านไฟฉายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปัจจัยครัวเรือนและปัจจัยสภาพแวดล้อมร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมซื้อถ่านไฟฉาย ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ร้อยละ 56 ในขณะที่ปัจจัยความตั้งใจที่จะจัดการซากถ่านไฟฉาย ปัจจัย ครัวเรือน และปัจจัยสภาพแวดล้อมร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมจัดการจาก ถ่านไฟฉายได้ร้อยละ 79
รายละเอียด: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19501
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:820 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
435519.pdf6.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons