กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19497
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ในเชิงบวกและเชิงลบที่มีต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมระดับ 2-3 ดาว ของนักท่องเที่ยวชาวไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Influence of positive and negative electronic-word of mouth toward booking decision for 2-3 stars hotel of Thai tourists
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันทา เหมทานนท์
ชนนิกานต์ เสมอภพ
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: โรงแรม การตลาดอินเทอร์เน็ต;นักท่องเที่ยว ไทย;สื่อสังคมออนไลน์
วันที่เผยแพร่: 2019
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The purposes of this research were to compare booking decision for 2-3 stars hotels classified by tourist behavior align with hotel information exposure via online media and to study influences of positive and negative electronic-word of mouth (e-WOM) toward 2-3 stars online hotel booking decision. A sample was selected from 400 Thai tourists who have experience in using social media in searching for hotel accommodation information and made decision to make a reservation for 2-3 star hotels after reading reviews on social media. The self-administered questionnaire used to collect data. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, one-way ANOVA, and multiple regression analysis From the research findings, differences in tourist's hotel information exposure via online media in the part of reasons for choosing a hotel from reviews show statistically significant difference in online hotel booking decision. However, it is no statistically significant effect on social media category, experience in social media use, post-information exposure decision for hotel reservation, and frequency of reading the hotel review through social media. E-WOM trustworthy perception and positive e-WOM shows significantly positive impact on Thai tourist hotel booking decision for 2-3 stars hotel.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมระดับ 2-3 ดาว ของนักท่องเที่ยวชาวไทย จําแนกตามพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมผ่านสื่อ ออนไลน์ และศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-WOM) ที่มี ต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมระดับ 2-3 ดาว กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยมี ประสบการณ์ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการค้นหาข้อมูลที่พักโรงแรม และเคยตัดสินใจจอง โรงแรมระดับ 2-3 ดาวหลังจากการอ่านรีวิวทางสื่อสังคมออนไลน์ จํานวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุในการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมตามรีวิวที่ต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมระดับ 2-3 ดาว ของนักท่องเที่ยวชาวไทยแตกต่างกัน ส่วน ปัจจัยด้านประเภทสื่อสังคมออนไลน์ ประสบการณ์การใช้สื่อสังคมออนไลน์ การใช้บริการ โรงแรมหลังจากเปิดรับข้อมูล และความถี่ในการอ่านข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมผ่านสื่อออนไลน์ที่ ต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมระดับ 2-3 ดาว ของนักท่องเที่ยวชาวไทยไม่แตกต่าง กัน และการรับรู้ถึงความน่าเชื่อถือของ e-WOM และ e-WOM เชิงบวก มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการ ตัดสินใจใช้บริการโรงแรมระดับ 2-3 ดาว ของนักท่องเที่ยวชาวไทย
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19497
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
435529.pdf1.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons