กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19442
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมแก่มุอัลลัฟที่เหมาะสมในบริบทประเทศไทยขององค์กรมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Development of a Model to Help and Create a Muslim Identity for Mu'allaf that is Appropriate in the Thai Context of Muslim Organizations in Southern Border Provinces
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อับดุลรอนิง สือแต
อับดุลย์ลาเต๊ะ สาและ
Faculty of Islamic Sciences
คณะวิทยาการอิสลาม
คำสำคัญ: องค์กรมุสลิม;อัตลักษณ์มุสลิม;มุอัลลัฟ;จังหวัดชายแดนภาคใต้
วันที่เผยแพร่: 2023
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objective of this study were: 1) to study the conditions and contexts of Islamic organizations providing assistance and forming the Islamic identity of mu’allafs in various regions of Thailand; 2) to examine the patterns of Islamic organizations in providing assistance and forming the Islamic identity of mu’allafs in the southernmost provinces of Thailand; and 3) to develop a model of assistance and identity formation for the Islamic organizations in Thailand’s Deep Southern Border Provinces, specifically tailored to the needs of mu’allafs. The data collection involved representatives from 10 Islamic organizations, totaling 30 individuals through in-depth interviews and group discussions as the primary research tools. The data analysis was conducted using qualitative content analysis methods. The findings indicate the following: 1.Emerging Muslim organizations in Thailand contributed to diverse patterns of mu’allaf assistance and Islamic identity formation depending on the organization’s missions. They were the following: (1) the Santichon Foundation focuses on providing knowledge and consultation, addressing mu’allafs concerns, disseminating Islamic knowledge through online media, and financially supporting Islamic activities; (2) the Human Mercy Foundation focuses on providing basic livelihood essentials: shelters, foods, clothes, etc; and promoting Islamic identity through teaching, training, and knowledge-building about the fundamental principles and practices of Islam; (3) the Foundation for Education and Development of Muslims in Northeast Thailand emphasizes providing education and knowledge in forming Islamic identity, promoting cooperation among Muslims in the northeastern region and internationally, and developing human resources through activities such as teaching Islam and organizing summer camps for Muslim youth. 2.Islamic organizations in the Deep Southern Border Provinces of Thailand reported their patterns of assistance and identity-forming practices for mu’allafs including issuing Islamic faith certificates, organizing Islamic education programs, Quran reading training, distributing Zakat and donations, establishing mu’allaf funds, and promoting vocational skills and basic livelihood factors. 3.The organizational model contextually suitable for assisting and forming Islamic identity among mu’allafs in Thailand's Deep Southern Border Provinces was identified as the "Al-'Irshad Model," comprising six components: Al (Al-Quran) referring to providing Qur’an reading training; I (Ilmu) referring to organizing Islamic education programs; R (Rizki) referring to promoting vocational skills and basic livelihood factors; Sh (Shahadah) referring to issuing Islamic faith certificates; A (Alms) referring to distributing Zakat (alms) and donations; and D (Sunduk) referring to establishing Islamic funds. Recommendations for improvement include the following: 1) Conducting annual surveys by the Provincial Islamic Commission Office in the Deep Southern Border Provinces is recommended to ascertain mosque numbers and the size of associated mu’allaf populations. Continuous educational initiatives should be emphasized for a comprehensive understanding of Islamic principles. Additionally, fostering opportunities for meaningful interactions and knowledge exchange among mu’allafs is a priority. 2) It is advisable to establish dedicated Islamic centers to support and foster Islamic identity among mu’allaf communities. District-level Islamic associations, supervised by the Provincial Islamic Commission, can manage and oversee these centers. It’s also crucial to ensure contextual appropriateness and alignment with local needs in establishing and operating these centers. 3) Encouraging the formation of cohesive mu’allaf groups and facilitating the cultivation of strong relationships within their communities are important. Moreover, organizing targeted activities to enhance their vocational skills and livelihood opportunities will contribute to their overall well-being and empowerment. 4) It is vital to cultivate harmonious relations between mu’allafs and mosques by prioritizing religious education and community engagement. Strengthen the relationship by promoting a sense of belonging and involvement within the Muslim community.
Abstract(Thai): การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและบริบทขององค์กรมุสลิมที่ให้ความช่วยเหลือและการสร้างอัตลักษณ์มุสลิมของมุอัลลัฟในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษารูปแบบขององค์กรมุสลิมในการช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมของมุอัลลัฟในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมแก่มุอัลลัฟขององค์กรมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการเก็บข้อมูลเป็นตัวแทนจากองค์กรมุสลิม จำนวน 10 แห่ง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1.องคกรมุสลิมที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย มีสวนช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมแก่มุอัลลัฟอย่างหลากหลายแตกต่างกันไปตามพันธกิจขององค์กร คือ 1) มูลนิธิสันติชน เน้นให้ความรู้และคำปรึกษา ให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นกันเอง รับฟังปัญหาของมุอัลลัฟ ให้ความรู้ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต รวมทั้งสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอิสลาม 2) มูลนิธิรักมนุษยชาติ เน้นในด้านปัจจัยยังชีพขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สถานที่พัก อาหาร เครื่องนุ่งห่มและอื่น ๆ เสริมสร้างการเรียนรู้อัตลักษณ์มุสลิม โดยการจัดการเรียนการสอน การฝึกฝน การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของศาสนาอิสลาม และการปฏิบัติเป็นประจำในชีวิตประจำวัน 3) มูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนามุสลิมอีสาน เน้นใหการศึกษาและความรูในการสร้างอัตลักษณ์มุสลิม มีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิภาคและประเทศชาติ โดยทำหน้าที่เป็นผู้ผลักดันให้เกิดความร่วมมือของพี่น้องมุสลิมในภูมิภาคอีสานของประเทศไทยและระหว่างประเทศ ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสังคมให้มีคุณภาพผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การสอนศาสนาแก่มุอัลลัฟ ค่ายอบรมภาคฤดูร้อนแก่เยาวชนมุสลิม เป็นต้น 2.รูปแบบการให้ความช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมแก่มุอัลลัฟขององค์กรมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 1) การออกหนังสือรับรองการนับถือศาสนาอิสลาม 2) การจัดการเรียนรู้อิสลาม 3) การจัดการฝึกอ่านอัลกุรอาน 4) การจัดมอบซะกาตและเงินบริจาค 5) การจัดตั้งกองทุนมุอัลลัฟ และ 6) การส่งเสริมอาชีพและปัจจัยยังชีพขั้นพื้นฐาน 3.การพัฒนารูปแบบขององค์กรมุสลิมในการให้ความช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมของมุอัลลัฟในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า การพัฒนารูปแบบการให้ความช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมแก่มุอัลลัฟที่เหมาะสมในบริบทประเทศไทยขององค์กรมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีชื่อรูปแบบ คือ “อัลอีร์ชาด โมเดล (Al-'Irshad Model)” หมายถึง “การชี้แนะหนทางที่ถูกต้องอย่างชาญฉลาด” ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) Al = Al-Quran คือ การจัดการฝึกอ่านอัลกุรอาน 2) I = Ilmu คือ การจัดการเรียนรู้อิสลาม 3) R = Rizki คือ การส่งเสริมอาชีพและปัจจัยยังชีพขั้นพื้นฐาน 4) Sh = Shahadah คือ การออกหนังสือรับรองการนับถือศาสนาอิสลาม 5) A= Alms คือ การจัดมอบซะกาตและเงินบริจาค และ 6) D= Sunduk คือการจัดตั้งกองทุนมุอัลลัฟ ข้อเสนอแนะ คือ 1) สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรสำรวจจำนวนมุอัลลัฟแต่ละมัสยิดให้ชัดเจนในแต่ละปี ส่งเสริมโอกาสทางการเรียนรู้ด้านหลักการของศาสนาอิสลามอย่างต่อเนื่อง และมีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมุอัลลัฟให้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนทางความคิดและประสบการณ์ระหว่างมุอัลลัฟด้วยกัน 2) ควรจัดตั้งศูนย์มุอัลลัฟในการช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมแก่มุอัลลัฟ โดยให้ชมรมอิมามประจำอำเภอเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ทั้งนี้ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ 3) ส่งเสริมการรวมกลุ่มของมุอัลลัฟ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมุอัลลัฟด้วยกัน และการจัดทำกิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้แก่มุอัลลัฟ 4) สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมุอัลลัฟกับมัสยิด โดยอิมามต้องให้ความเอาใจใส่ต่อมุอัลลัฟให้ความรู้ด้านศาสนาอิสลาม และการอยู่ร่วมกันในชุมชนมุสลิม
รายละเอียด: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (อิสลามศึกษา), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19442
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:761 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6220430010.pdf7.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons