กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19352
ชื่อเรื่อง: ความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาให้แก่บุตรแรงงานข้ามชาติ : กรณีศึกษา ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Collaboration in Educational Provision for Migrant Children : A case Study of Fishermen's Life Enhancement Center Songkhla
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธัญรดี ทวีกาญจน์
ฟาราเดีย ปาทาน
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
คำสำคัญ: บุตรของแรงงานต่างด้าว การศึกษา;แรงงานต่างด้าว นโยบายของรัฐ
วันที่เผยแพร่: 2019
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objectives of this research were 1) to study the situation and the collaboration pattern of educational provision for migrant's children by Fishermen's Life Enhancement Center in Songkhla, 2) to examine the collaboration process in the educational provision for migrant's children by Fishermen's Life Enhancement Center in Songkhla, and 3) to identify the problems and limitations of the provision of educational provision for migrant's children by Fishermen's Life Enhancement Center in Songkhla. The study applied qualitative research method and collected the data from documents, observation and in-depth interviews with 15 participants, including 10 key informants from government organizations, private organizations and civil society organizations and 5 secondary informants. The collected data was analyzed by content analysis. The research findings revealed that the collaboration in educational provision by government, private sector and civil society for migrant's children began with the discovery of a shared problem, when Thailand was reported for lowest standard of efforts in human trafficking prevention (Tier 3) by the US Department of State, as well as received yellow-card-warning from the European Union requesting Thai government to solve issues on illegal fishing boats and fishery seriously, otherwise the EU would suspend the import of seafood products from Thailand. Therefore, government agencies, private sectors and civil society, had been in contacted, discussed and coordinated on the basis of mutual needs. It led to signing a memorandum of understanding (MOU) to establish Fishermen's Life Enhancement Center in Songkhla in order to solve such problems, as well as being a center for education for migrant's children. The collaboration pattern for educational provision for migrant's children by the center was in the form of a tripartite organization acting as both a donor and a recipient. In this regard, the collaboration process for educational provision for migrant's children by the center consisted of the following 3 steps: 1. strategic planning was a process of mobilization in planning and decision making to determine the vision, objectives and goals of the center, including guidelines for educational management for migrant's children as well 2. strategic implementation was a process of educating the migrant's children to promote various aspects of learning skills and to develop children ability to be prepared before attending school 3. strategy control was a collaboration to monitor the progress of the center and to evaluate the performance by the private sector, namely Charoen Pokphand Foods Public Company Limited, the main operator of the project, together with the center committee. The evaluated results would be a measure of success and deficiencies in the operations of the center, in order to develop and improve the strategic plan to be more effective. There were two problems and limitations in the educational provision for migrant's children by the center as follows: Firstly there were internal problems and limitations of the organization included insufficient human resource, and budget management limitations due to budget disbursement. Secondly external problems and limitations of the organization were mentioned included difficulties in building trust among migrant workers to send their children to school, and the relocation problems among the migrant workers and followers, which affected to the continuing education of their children.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์และรูปแบบความร่วมมือ ในการจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาให้แก่บุตรแรงงานข้ามชาติของศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมง 2) เพื่อศึกษากระบวนการความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาให้แก่บุตรแรงงานข้ามชาติของศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมง 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อจํากัดในการจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาให้แก่บุตรแรงงานข้ามชาติของศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวม ข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลจํานวน 15 คน แบ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักจํานวน 10 คน จากองค์กร 3 ภาคส่วน ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม และผู้ให้ข้อมูลรองจํานวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการณ์ความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะด้าน การศึกษาให้แก่บุตรแรงงานข้ามชาติจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มีจุดเริ่มต้นจาก การค้นพบปัญหาร่วมกัน จากกรณีที่ประเทศไทยถูกกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา รายงานมาตรฐานความพยายามในการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์อยู่ในระดับต่ําสุด (Tier 3) รวมถึงการถูกแจ้งเตือนใบเหลืองจากสหภาพยุโรป ให้รัฐบาลไทยเร่งแก้ไขเรือประมงและการทําประมง ที่ผิดกฎหมายอย่างเคร่งครัด มิเช่นนั้นจะระงับการนําเข้าสินค้าอาหารทะเลจากประเทศไทย ดังนั้นองค์กรทั้ง 3 ภาคส่วน ได้มีการติดต่อ ปรึกษาหารือ และประสานงาน บนฐานความต้องการ ร่วมกันจนนําไปสู่การจัดทําบันทึกข้อตกลง (MOU) ให้มีการจัดตั้งศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาล แรงงานประมงสงขลาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และยังเป็นศูนย์การจัดการศึกษาให้แก่ บุตรแรงงานข้ามชาติด้วย โดยรูปแบบความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาให้แก่ บุตรแรงงานข้ามชาติของศูนย์ฯดังกล่าว มีรูปแบบความร่วมมือในลักษณะองค์กรไตรภาคีที่เป็นทั้ง ผู้ให้และเป็นผู้รับ ทั้งนี้กระบวนการความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาให้แก่ บุตรแรงงานข้ามชาติของศูนย์ฯ มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การวางแผนเชิงกลยุทธ์ เป็นขั้นตอนระดม ความร่วมมือในการวางแผนและการตัดสินใจ เพื่อกําหนดวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย พัฒนาความสามารถของเด็กในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนในระดับโรงเรียน 3.การควบคุมกลยุทธ์ เป็นการร่วมมือกันติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลการดําเนินงานของศูนย์ฯ โดยภาคเอกชน คือ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จํากัด (มหาชน) ผู้ดําเนินการหลักโครงการ ดังกล่าวร่วมกับคณะกรรมการศูนย์ฯ โดยผลการประเมินจะเป็นตัวชี้วัดความสําเร็จและความ บกพร่องในการดําเนินงานของศูนย์ฯ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงแผนกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสําหรับปัญหาและข้อจํากัดในการจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาให้แก่บุตรแรงงานข้ามชาติของ ศูนย์ฯ พบว่ามีปัญหาและข้อจํากัด 2 ประเด็น คือ 1.ปัญหาและข้อจํากัดภายในองค์กร ได้แก่ ปัจจัย ด้านทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่เพียงพอ และปัจจัยด้านงบประมาณยังมีข้อจํากัดในการบริหารจัดการ เนื่องจากการเบิกใช้งบประมาณ 2. ปัญหาและอุปสรรคภายนอกองค์กร ได้แก่ อุปสรรคในการสร้าง ความไว้ใจของแรงงานข้ามชาติที่จะส่งบุตรหลานเข้าเรียน และปัญหาการเคลื่อนถิ่นของแรงงาน ข้ามชาติและผู้ติดตามทําให้เด็กไม่สามารถได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียด: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19352
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:465 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
435470.pdf5.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons