Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19196
Title: การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคในภาคใต้ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ผ่านช่องทางออนไลน์
Other Titles: Technology Acceptance and Consumer Behavior in Southern Thailand Affecting the Purchase Intention of Non-alcoholic Beverages Through Online Channels
Authors: อรญา สุวรรณโณ
มณฑาทิพย์ ส่งศรี
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Keywords: การยอมรับเทคโนโลยี;ความตั้งใจซื้อผ่านช่องทางออนไลน์;เครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This study aimed to investigate the technology acceptance of consumers in the South of Thailand towards online purchase intention of non-alcoholic beverages and to compare the online purchase intention of non-alcoholic beverages and customer segments classified by their behaviors. This quantitative study used online questionnaire to gain data from 400 customers in 14 southern provinces of Thailand with an online shopping experience. While the descriptive statistics analysis concerned with frequency, percentage, mean, standard deviation, the inferential statistics analysis involved the multiple linear regression analysis and one-way ANOVA. The results of this study revealed that the overall public opinions on the technology acceptance was at very high level. In addition, the technology acceptance affecting the purchase intention included the attitude towards the usage and the actual use; the factors not affecting the purchase intention consisted of perceived usefulness and perceived ease of usage. Regarding consumer behavior, they were most interested in juice, ready-to-drink tea, and canned coffee, respectively. After searching for deals on different platforms, they would buy these products on social commerce platforms by themselves when the products announced a promotional discount. The total cost was 301 – 600 baht per order with 3 – 4 orders per month. The differences in consumer behaviour, namely the number of orders, the frequency of orders per month, the research before making a purchase, showed differences in the online purchase intention of non-alcoholic drinks with a statistic significance of 0.05.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีของผู้บริโภคในภาคใต้ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ผ่านช่องทางออนไลน์ และเพื่อเปรียบเทียบความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ผ่านช่องทางออนไลน์จำแนกตามพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์อาศัยอยู่ใน 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมไปถึงการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณและการวิเคราะห์โดยสถิติ One – way ANOVA ผลการศึกษา พบว่า ความคิดเห็นต่อการยอมรับเทคโนโลยีในภาพรวมอยู่ในระดับสูง การยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ผ่านช่องทางออนไลน์ คือ เจตคติต่อการใช้ และพฤติกรรมการใช้จริง ในขณะที่ปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพล คือ การรับรู้ว่ามีประโยชน์ การรับรู้ว่าง่ายต่อการใช้ ด้านพฤติกรรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างซื้อหรือสนใจซื้อ 3 ลำดับแรก คือ น้ำผลไม้ ชาพร้อมดื่ม และกาแฟกระป๋อง ตามลำดับ โดยจะซื้อสินค้าทันทีที่ทราบว่ามีส่วนลดในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งจะตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง ผ่านแพลตฟอร์ม Social Commerce โดยหาข้อมูลก่อนซื้อจากหลายๆ แหล่งก่อนการตัดสินใจซื้อ ค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 301 – 600 บาท จำนวน 3 – 4 ครั้งต่อเดือน พฤติกรรมที่แตกต่างกันคือ ค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการซื้อ ความถี่ในการซื้อต่อเดือน การค้นหาข้อมูลก่อนการซื้อ แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ผ่านช่องทางออนไลน์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Description: บริหารธุรกจิมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19196
Appears in Collections:460 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310521016.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons