Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19160
Title: ความพร้อมของเกษตรกรสู่การทำฟาร์มอัจฉริยะ และต้นทุน-ผลตอบแทนจากการผลิต: กรณีศึกษาฟาร์มผักไฮโดรพอนิกส์ ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Other Titles: Readiness of Farmers towards Smart Farming and Cost-benefit of Producion: a Case Study of Hydroponic Vegetable Farm in Hat Yai District, Songkhla Province
Authors: นฤมล พฤกษา
กิตตินันท์ ขวัญซ้าย
Faculty of Natural Resources (Plant Science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาพืชศาสตร์
Keywords: ความพร้อม;ฟาร์มอัจฉริยะ;ผักไฮโดรพอนิกส์;การปลูกพืชในน้ำยา
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The purpose of this research is to study the readiness of farmers in hydroponic vegetable farming and the cost-benefit of production. The study was conducted on four hydroponic vegetable farms in Hat Yai District, Songkhla Province. Data was collected through semi-structured interviews, in-depth observations, and non-participatory observations. Quantitative data was analyzed by calculating frequencies and averages, while qualitative data was analyzed through content analysis. The research findings revealed that the farmers' ages ranged from 36 to 58 years old, and the size of the greenhouse ranged from 128 to 600 square meters. The majority of the crops grown were salad vegetables, and the farms were primarily operated by one worker. The study on farmers' readiness found that: 1) In terms of knowledge, most farmers had a moderate to high level of readiness. However, farmers with lower levels of readiness had a negative impact on production and the quality of the crops. This was due to their lack of knowledge in preparing nutrient solutions for plants, resulting in the use of expensive fertilizers and poor crop growth due to inadequate understanding of plant growth factors, especially temperature and humidity. This led to improper settings of the automated system, resulting in damaged vegetable crops due to diseases or non-standard sizes, making them unsellable. Therefore, farmers should have a better understanding of the factors that affect plant requirements accurately and precisely. 2) In terms of capital readiness, most farmers are well-prepared. They are able to build greenhouses and acquire equipment for smart systems. They also have reserve funds for working capital and emergency situations. The main production costs include depreciation of greenhouses and equipment, electricity costs, labor wages, seed costs, chemical fertilizer costs, irrigation costs, other planting materials, and transportation costs. When measuring profitability, which is calculated by the net profit-to-total cost ratio, it was found that farms with the highest profitability had a ratio of 130.0. These farms had the highest investment in technology, allowing them to produce a large quantity of goods. This resulted in reduced unit costs based on the principle of economies of scale
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของเกษตรกรในการทาฟาร์ม ผักไฮโดรพอนิกส์อัจฉริยะ และต้นทุน-ผลตอบแทนจากการผลิต โดยศึกษาจากกรณีศึกษาฟาร์มผักไฮโดรพอนิกส์อัจฉริยะในอาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จานวน 4 ฟาร์ม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าความถี่และค่าเฉลี่ย และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรมีอายุ 36-58 ปี โรงเรือนปลูกผักมีขนาด 128-600 ตร.ม. ผักที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผักสลัด มีแรงงานในฟาร์ม 1 คนเป็นส่วนใหญ่ ผลการศึกษาความพร้อมของเกษตรกร พบว่า 1) ด้านความรู้ ส่วนใหญ่เกษตรกรมีความพร้อมระดับปานกลางถึงมากที่สุด ข้อที่เกษตรกรมีระดับความพร้อมน้อยและส่งผลกระทบต่อการผลิตและคุณภาพของผลผลิต ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช ส่งผลให้เกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยสูตรสาเร็จ ทาให้ต้นทุนสูง และผักเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร และการที่เกษตรกรมีความรู้น้อยเกี่ยวกับปัจจัยการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะอุณหภูมิและความชื้น ทาให้การตั้งค่าระบบอัตโนมัติไม่เหมาะสม ส่งผลทาให้ผลผลิตผักเสียหายจากโรค หรือมีขนาดไม่ได้มาตรฐาน ทาให้ขายไม่ได้ เกษตรกรจึงควรทาความเข้าใจปัจจัยความต้องการของพืชให้ถูกต้องและแม่นยา 2) ความพร้อมด้านทุน เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพร้อมระดับมาก โดยสามารถสร้างโรงเรือนและจัดหาอุปกรณ์สาหรับระบบอัจฉริยะได้ และมีแหล่งเงินทุนสารองเพื่อใช้เป็นเงินหมุนเวียนและใช้กรณีฉุกเฉิน สาหรับต้นทุนหลักในการผลิต ได้แก่ ค่าเสื่อมราคาโรงเรือนและอุปกรณ์ ค่าไฟฟ้า ค่าจ้างแรงงาน ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ยเคมี ค่าฟองน้าปลูก ค่าวัสดุปลูกอื่นๆ และค่าขนส่งผลผลิต เมื่อวัดความสามารถในการทากาไร ซึ่งวัดจากอัตราส่วนกาไรสุทธิต่อต้นทุนรวม พบว่า ฟาร์มที่มีความสามารถในการทากาไรสูงสุดคือฟาร์มที่มีอัตราส่วนกาไรสุทธิต่อต้นทุนรวมสูงสุดเท่ากับ 130.0 โดยเป็นฟาร์มที่มีการลงทุนในเทคโนโลยีมากที่สุด ทาให้สามารถผลิตสินค้าได้ในปริมาณมาก ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงตามหลักประหยัดด้วยขนาด
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาการเกษตร), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19160
Appears in Collections:510 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6110620033.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons