กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19075
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาวิธีการเรียนรู้อิสลามที่มีผลต่อพฤติกรรมตามวิถีอิสลามของเยาวชนมุสลิมกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The islamic learning skills affected islamic behavior of muslim risk youth in the three southern border provinces
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เกษตรชัย และหีม
อับดุลเลาะ เจ๊ะหลง
Faculty of Liberal Arts (Educational Foundation)
คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาสารัตถศึกษา
คำสำคัญ: การพัฒนาเยาวชน ไทย (ภาคใต้);เยาวชนมุสลิม ชีวิตทางศาสนา ไทย (ภาคใต้);เยาวชนมุสลิม ภาวะสังคม ไทย (ภาคใต้)
วันที่เผยแพร่: 2018
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This action research aimed to develop Islamic leaming skills affected Islamic behavior of Muslim risk youth in the three southern border provinces. Three phases of the study were conducted. Phase 1 is a study of characteristics and causes of unrighteous behaviors towards Islamic ways of Muslim risk youth using in-depth interview and brainstorming. The data were analyzed inductively and presented descriptively. Phase 2 is a study of Islamic learning methods affected Islamic behaviors of risked Muslim youth using group discussion. The data were analyzed inductively and presented descriptively, and Phase 3 is a study of results of Islamic learning methods of risked Muslim youth using Islamic learning camp program piloted to 45 Muslim risk youth. The data were quantitatively analyzed by means score, percentage, standard deviation, and t-test. The results revealed 5 characteristics of Muslim risk youth in the three southem border provinces were found, that is 1) lack of awareness of self- expression, 2) revealing identity in social media openly and inappropriately, 3) behavior shown to family, 4) behavior shown in school, and 5) behavior shown in public place. These characteristics were caused from these 6 reasons, these are 1) changes of globalization, 2) failure of Islamic education system, 3) model of religious and local leaders, 4) weakness of political economy in the community, 5) failure of education system in the three southern border provinces, and 6) parenting. Five activities were found in the Islamic learning camp program is a learning method affected Muslim risk youth. That is, 1) introductory and familiarity, 2) review of undesirable behavior in Islam, 3) Islam and life's basis, 4) pillar of Islam, prayer promotion, and 5) learning path of the Prophet Muhammad (PBUH). The result of Islamic learning methods showed a significantly increase after the implementation of Islamic leaming camp program toward Muslim risk youth in the three southern border provinces.
Abstract(Thai): การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการเรียนรู้อิสลามที่มีผลต่อ พฤติกรรมตามวิถีอิสลามของเยาวชนมุสลิมกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยแบ่งการศึกษา 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาลักษณะและสาเหตุพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องตามวิถีอิสลาม ของเยาวชนมุสลิมกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการประชุมระดมสมองและวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยและนําเสนอผลเชิงพรรณนาความ ระยะที่ 2 ศึกษาวิธีการเรียนรู้อิสลามที่มีผลต่อพฤติกรรมตามวิถีอิสลามของเยาวชนมุสลิมกลุ่มเสี่ยง โดยเก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยและนําเสนอผลเชิงพรรณนาความ และระยะที่ 3 ศึกษาผลการดําเนินการของวิธีการเรียนรู้อิสลามที่มีผลต่อพฤติกรรมตามวิถีอิสลาม ของเยาวชนมุสลิมกลุ่มเสี่ยง โดยใช้โปรแกรมค่ายอบรมการเรียนรู้อิสลามเพื่อปฏิบัติการกับเยาวชน มุสลิมกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในกลุ่มการศึกษานําร่อง (Pilot Study) จํานวน 45 คน ทําการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าการทดสอบทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนมุสลิมกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีลักษณะ พฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องตามวิถีอิสลาม 5 ลักษณะ คือ 1) ขาดการตระหนักรู้ในพฤติกรรมที่ แสดงออกต่อตนเอง 2) นําาเสนอตัวตนในสื่อออนไลน์อย่างเปิดเผยและไม่เหมาะสม 3) พฤติกรรมที่ แสดงออกต่อครอบครัว 4) พฤติกรรที่แสดงออกในสถาบันการศึกษา 5) พฤติกรรมที่แสดงออกใน พื้นที่สาธารณะ โดยมีสาเหตุที่ทําให้เยาวชนมุสลิมกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิด พฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องตามวิถีอิสลาม 6 ประการ คือ 1) การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ 2) ความ อ่อนแอของการจัดการเรียนรู้อิสลาม 3) ต้นแบบของผู้นําศาสนาและผู้นําส่วนท้องถิ่น 4) ความ อ่อนแอของเศรษฐศาสตร์การเมืองในชุมชน 5) ความอ่อนตัวของระบบการจัดการศึกษาในพื้นที่สาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ 6) การเลี้ยงดูบุตรของสถาบันครอบครัว วิธีการเรียนรู้อิสลามที่มีผลต่อพฤติกรรมตามวิถีอิสลามของเยาวชนมุสลิมกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ โปรแกรมค่ายอบรมการเรียนรู้อิสลามที่มีผลต่อพฤติกรรมตามวิถี อิสลามของเยาวชนมุสลิมกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 5 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมปฐมบทและความคุ้นเคย 2) กิจกรรมมาทบทวนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในตัวตน 3) กิจกรรมอิสลามกับพื้นฐานชีวิตที่ควรมี 4) กิจกรรมส่งเสริมการละหมาดเสาหลักของมุสลิม 5) กิจกรรมเรียนรู้กิจวัตรตามแบบซุนนะห์ของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซล) ผลการปฏิบัติการใช้วิธีการเรียนรู้อิสลามที่มีผลต่อพฤติกรรมตามวิถีอิสลามของเยาวชน มุสลิมกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า เยาวชนมุสลิมกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ มีพฤติกรรมตามวิถีอิสลามหลังเข้าโปรแกรมค่ายอบรมในระดับสูงกว่าก่อนการเข้าโปรแกรมค่ายอบรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนามนุษย์และสังคม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19075
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:895 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
435075.pdf2.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons