กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19067
ชื่อเรื่อง: | ผลของการแทรกแซงหลายรูปแบบต่อการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในโรคคอหอยอักเสบและท้องร่วงเฉียบพลันในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Impact of Multiple Intervention on The Use of Antibiotics in Acute Pharyngitis and Acute Diarrhea in Primary Care Units at Pakpayoon District, Phatthalung |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สงวน ลือเกียรติบัณฑิต รตินันท์ พันธนียะ Faculty of Pharmaceutical Sciences (Pharmacy Administration) คณะเภสัชศาสตร์ ภาควิชาบริหารเภสัชกิจ |
คำสำคัญ: | ปฏิชีวนะ การใช้รักษา;ปฏิชีวนะ การทดสอบ |
วันที่เผยแพร่: | 2018 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The purpose of this study was to investigate the effects of interventions consisting of education on rational use of antibiotics in acute pharyngitis (AP) and acute gastroenteritis (AGE), the provision of media for education and diagnostic equipment and supervision of rational use of antibiotic in both diseases among medical personnel in primary care units at Pak Phayun District, Phatthalung. The subjects were prescribers in 18 subdistrict health promotion hospitals (SHPH) and community health centers in Pak Phayun district, Phatthalung Province. The subjects were randomly divided into 2 groups: control group and experimental group. Both groups attended educational session on rational use of antibiotics in AP and AGE, receiving educational media and diagnostic devices. The experimental group was supervised in the second and fourth months after training. The control group was supervised once in the fourth month. The study collected monthly data on prescribing in AP and AGE before and after the intervention for 6 months using the E-tool version 4.0 program. After attending education session, subjects in control and experimental groups were more confident in treating AP without antibiotic use (P=0.027 and 0.027, respectively) and in treating AGE without antibiotic use (P=0.039 and 0.042, respectively). However, there were no change in attitudes toward antibiotic treatment in both diseases, knowledge on the use of antibiotics in both diseases, perception of patients' expectation to receive antibiotics in both diseases, perception on substitutes of antibiotics in both diseases, perception on the lack of educational media regarding the treatment of both diseases without antibiotics, and perception of the lack of diagnostic equipment for AP. The control group and the experimental group had a similar monthly rate of antibiotic use in AP and AGE throughout the six months before intervention, ie 32- 35% and 38-40%, respectively. At 2 months after educational session, rate of antibiotic use in AP and AGE was decreased by 9-10% and 11-12%, respectively. When supervision was conducted in the experimental group at 2 months after education, antibiotics use in AP and AGE of the experimental group was 6 and 8% less than those in the control group (P=0.001 and 0.001) respectively at the 4th month after education. Supervision in control group conducted at the fourth month after education reduced antibiotic use in AP and AGE by approximately 5 and 6%, respectively. The rate of antibiotic use in AP in experimental group with two times of supervision was less than that in the control group undergoing one time of supervision by approximately 3-4%, which was statistically significant at 6 months post-training (P = 0.010). There were no differences between groups with two and one time of supervision in AGE. In summary, interventions by providing education, educational media and diagnostic devices increase confidence in non-antibiotic use in the two targeted diseases. Educational training with monitoring reduces antibiotic use. Two waves of supervision in AP could reduce antibiotic use more than one time of supervision does. However in AGE, the number of follow-up visits does not affect the reduction in antibiotic use. |
Abstract(Thai): | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการแทรกแซงที่ประกอบด้วยการอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรคคอหอยอักเสบ (acute pharyngitis: AP) และท้องร่วงเฉียบพลัน (acute gastroenteritis: AGE) การแจกสื่อความรู้/อุปกรณ์ช่วย วินิจฉัยโรค และการนิเทศติดตามต่อการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในสองโรคดังกล่าว ของบุคลากรทางการแพทย์ในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ อําเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ตัวอย่าง คือ ผู้สั่งใช้ยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.) และศูนย์สุขภาพชุมชน 18 แห่งในเขตอําเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ตัวอย่างถูกสุ่มแยกโดยการจับฉลากเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ทั้งสองกลุ่มได้รับการอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะอย่าง สมเหตุผลในโรค AP และ AGE ได้รับสื่อความรู้ และได้รับอุปกรณ์ช่วยวินิจฉัยโรค กลุ่มทดลอง ได้รับการนิเทศในเดือนที่ 2 และ 4 หลังการอบรม กลุ่มควบคุมได้รับการนิเทศในเดือนที่ 4 เพียงครั้งเดียว การศึกษารวบรวมข้อมูลการสั่งใช้ยาในสองโรคเป้าหมายทุกเดือนด้วยโปรแกรม e-tool version 4.0 ก่อนและหลังการแทรกแซงทุกเดือนเป็นเวลา 6 เดือน หลังการอบรมให้ความรู้ ตัวอย่างในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมั่นใจมากขึ้น ว่า ตนสามารถไม่ใช้ยาปฏิชีวนะใน AP (P=0.027 และ 0.027 ตามลําดับ) และโรค AGE (P= 0.039 และ 0.042 ตามลําดับ) แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของทัศนคติต่อการจ่ายยาปฏิชีวนะใน ทั้งสองโรค ความรู้ต่อการใช้ยาปฏิชีวนะในทั้งสองโรค การรับรู้ความคาดหวังของผู้ป่วยในทั้ง สองโรคในการได้รับยาปฏิชีวนะ การรับรู้สิ่งที่สามารถทดแทนยาปฏิชีวนะในทั้งสองโรค การรับรู้ ถึงความขาดแคลนสื่อเกี่ยวกับการรักษาทั้งสองโรคโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ และการรับรู้ถึงความ ขาดแคลนในเรื่องอุปกรณ์ในการวินิจฉัยโรค AP กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในโรค AP และ AGE ใกล้เคียงกันในแต่ละเดือนตลอดช่วง 6 เดือนก่อนการแทรกแซง คือ ร้อยละ 32-35 และ 38-40 ตามลําดับ หลังการอบรม 2 เดือน ทั้งสองกลุ่มมีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในโรค AP และ AGE ลดลงร้อยละ 9-10 และ 11-12 ตามลําดับ เมื่อมีการนิเทศในกลุ่มทดลองหลังการอบรมผ่านไป 2 เดือน พบว่า ในเดือนที่ 4 หลังการอบรม อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในโรค AP และ AGE ของกลุ่ม ทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมร้อยละ 6 และ 8 (P=0.001 และ 0.001) ตามลําดับ การนิเทศกลุ่ม ควบคุมในเดือนที่ 4 หลังจากการอบรมสามารถลดอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในโรค AP และ AGE ได้ประมาณร้อยละ 5 และ 6 ตามลําดับ กลุ่มทดลองที่ผ่านการนิเทศสองครั้ง มีอัตราการใช้ยา ปฏิชีวนะน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ผ่านการนิเทศเพียงครั้งเดียวประมาณร้อยละ 3-4 ในโรค AP ซึ่ง มีนัยสําคัญทางสถิติในเดือนที่ 6 หลังการอบรม (P=0.010) แต่ไม่พบความแตกต่างของการ นิเทศสองครั้งและครั้งเดียวในโรค AGE โดยสรุป การแทรกแซงโดยการอบรมให้ความรู้ สื่อความรู้ และอุปกรณ์ช่วย วินิจฉัยโรคทําให้เพิ่มความมั่นใจในการไม่ใช้ยาปฏิชีวนะใน 2 โรคเป้าหมาย การอบรมให้ ความรู้ร่วมกับการแทรกแซงโดยการนิเทศติดตาม ทําให้การสั่งใช้ยาปฏิชีวนะลดลง โดยพบว่า การนิเทศติดตามจํานวน 2 ครั้งในโรค AP ทําให้การสั่งใช้ยาปฏิชีวนะลดลงชัดเจนกว่าการนิเทศ 1 ครั้ง แต่ในโรค AGE พบว่าจํานวนของการนิเทศติดตามไม่มีผลต่อการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะที่ลดลง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม. (เภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19067 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 575 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
434775.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License