กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19053
ชื่อเรื่อง: การตีความหมายชีวิตในนวนิยายเรื่องป่ากามเทพของ กฤษณา อโศกสิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An Interpretation of Life in "Pa Kammathep", a Novel by Krisana Asoksin
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณนะ หนูหมื่น
เสนีย์ ชอบงาม
Faculty of Liberal Arts (Educational Foundation)
คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาสารัตถศึกษา
คำสำคัญ: กฤษณา อโศกสิน;นวนิยาย;ชีวิต
วันที่เผยแพร่: 2018
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This research's objectives are to: 1) analyze the problem manifestation and human values in the Thai novel "Pa Karmathep", and 2) analyze the mental picture of forests relating to the novel's theme. By employing literary criticism methods, a finding reveals that the author exhibits three critical human problems through her characters' behaviors. The problems include pride and sexual problems, poverty and ambition, as well as loneliness and the thirst for love. Another finding confirms the author's message in that humans can overcome their problems, purify their minds, and eliminate unacceptable innate characteristics to maintain their human values. Through its characters, two human values are also discovered in this novel, which includes self-control and understanding of the human nature, as well as truth acceptance and the courage to confront life's problems. Due to the author's use of a figure of speech, the novel contains its special value when its theme is purposely related to forests in order to create a mental picture to the reader. In other words, forests are referred to human experiences and human sexual instincts in this novel.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์นวนิยายเรื่อง ป่ากามเทพ ในประเด็นการแสดงปัญหาและคุณค่าของมนุษย์ และ 2) วิเคราะห์จินตภาพเกี่ยวกับป่าที่สัมพันกับแก่นเรื่อง การวิจัยใช้วิธีวรรณคดีวิจารณ์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้แต่งได้แสดงเนื้อหาด้านปัญหาของมนุษย์ที่เป็น ประเด็นสําคัญของพฤติกรรมตัวละครใน 3 ประเด็น ได้แก่1) ทิฐิ และปัญหาเรื่องกามารมณ์ 2) ความ ยากแค้น และความทะยานอยาก 3) ความเปลี่ยวเหงา และการโหยหาความรัก นอกจากนี้ ผู้แต่งได้ เน้นย้ําว่า มนุษย์สามารถเอาชนะปัญหาของตน อีกทั้งยังพิสูจน์คุณค่าความเป็นมนุษย์ได้ด้วยการขัด เกลาจิตใจและกมลสันดานของตน ดังข้อค้นพบการแสดงคุณค่าของมนุษย์ผ่านพฤติกรรมของตัวละคร สําคัญ ใน 2 ประเด็น ได้แก่ 1) การรู้จักยับยั้งชั่งใจ และความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ 2) การ ยอมรับความจริง และการกล้าเผชิญปัญหาในชีวิต อย่างไรก็ดี คุณค่าด้านเนื้อหาดังกล่าว ผู้แต่งได้เลือกใช้กลวิธีการแสดงความเปรียบ เกี่ยวกับป่า ในการโน้มน้าวความนึกคิดของผู้อ่านให้เกิดจินตภาพ เพื่อโยงถึงแก่นเรื่องด้วยกลศิลป์ ดังกล่าวใน 2 ความหมายคือ 1) การใช้ความเปรียบเกี่ยวกับป่าเพื่อสื่อถึงประสบการณ์ในชีวิตมนุษย์ และ 2) การใช้ความเปรียบเกี่ยวกับป่าเพื่อสื่อถึงสัญชาตญาณทางเพศของมนุษย์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาไทยและภาษาไทยประยุกต์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19053
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:895 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
426576.pdf889.93 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons