กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18218
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาผลกระทบของสังคมและเศรษฐกิจของการจัดงานไมซ์แบบดิจิทัลของสงขลาไมซ์ซิตี้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Study of the Social and Economic Impact of Songkhla MICE City’s Digital MICE in the COVID-19 Outbreak |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทรงสิน ธีระกุลพิศุทธิ์ พศวัต เกตศรัทธา Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
คำสำคัญ: | Covid-19;Digital MICE Events,;knowledge of digital MICE events;MICE Organizers MICE event owner and digital MICE event attendees,;Social and Economic impact;MICE;ธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการ;เทคนิคดิจิทัล |
วันที่เผยแพร่: | 2022 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | MICE Industry faces challenging from COVID-19 for almost 2 years. The impact of pandemic has affected on MICE event style. Meeting in the form of Digital MICE Event in particularly still exists regardless of COVID-19 situation. This research was studied on the impact of socio-economy of digital MICE events in Songkhla during the COVID-19 pandemic. Also, the research was study on the basic knowledge about MICE digital event of exhibitors, event owner and organizer; which could be guidelines to develop digital MICE event in Songkhla. The author has gathered information from literature reviews and relevant researches. Also, conduct a survey to collect data from 40 of digital MICE owners and organizers in Songkhla and 385 of digital MICE participants. The study found that MICE owners and MICE organizers had average score of 3.37 on the impact of economy, which was in a middle range. Exhibitors had average score on impact of economy to digital MICE event at 3.70, which was in a high level. MICE owners and MICE organizers had average score on Society impact of 3.75, which was in a high range as well as exhibitor’s average score was in a high range at 3.84. The knowledge of digital MICE event of organizers, event owners and exhibitors had average score at 10.20 and 9.84 respectively, which was in very good levels. Therefore, it can open up the opportunity for those who participates the event to exchange experiences. These will be beneficial to develop Thai’s economy to distribute income into the community. However, both group agreed that digital MICE event resulted in some entrepreneurs losing income and having more debts. All details will be discussed later in this article. |
Abstract(Thai): | อุตสาหกรรมไมซ์เผชิญหน้ากับความท้าทายของไวรัสโควิด-19 เป็นระยะเวลานานเกือบ 2 ปี ส่งผลให้รูปแบบของการจัดงานไมซ์เปลี่ยนไปจากเดิม โดยเฉพาะการจัดประชุมในรูปแบบงานไมซ์แบบดิจิทัล (Digital MICE Events) จะคงอยู่ต่อไปถึงแม้ว่าไวรัสโควิด-19 จะคลี่คลาย งานวิจัยฉบับนี้ ได้การศึกษาผลกระทบของสังคมและเศรษฐกิจของการจัดงานไมซ์แบบดิจิทัลของสงขลาไมซ์ซิตี้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดงานไมซ์แบบดิจิทัลของผู้เข้าร่วมงานไมซ์ เจ้าของงาน และผู้จัดงาน นำไปสู่แนวทางเสนอแผนในการพัฒนาการจัดงานไมซ์แบบดิจิทัลของสงขลาไมซ์ซิตี้ในจังหวัดสงขลา ผู้เขียนได้มีการรวบรวมข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้อง รวมถึงเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากเจ้าของงานไมซ์และผู้จัดงานไมซ์แบบดิจิทัล ภายในพื้นที่จังหวัดสงขลาจำนวน 40 ราย และผู้เข้าร่วมงานไมซ์แบบดิจิทัลจำนวน 385 ราย ผลการศึกษาพบว่า เจ้าของงานและผู้จัดงานไมซ์มีความคิดเห็นของเกี่ยวกับผลกระทบด้านเศรษฐกิจมีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.37 อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง และผู้เข้าร่วมงานไมซ์แบบดิจิทัลเกี่ยวกับผลกระทบด้านเศรษฐกิจมีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.70 อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก และผู้จัดงานและเจ้าของงานไมซ์มีความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบด้านสังคมมีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.75 อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก และผู้เข้าร่วมงานไมซ์แบบดิจิทัลความเห็นของ เกี่ยวกับผลกระทบด้านสังคมมีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.84 อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก และผู้จัดงานไมซ์ เจ้าของงานไมซ์และผู้เข้าร่วมงานไมซ์แบบดิจิทัลจากการศึกษาความรู้ความเกี่ยวกับการจัดงานไมซ์แบบดิจิทัลมีค่าคะแนนเฉลี่ย 10.20 และ 9.84 ตามลำดับ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งสามารถเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานไมซ์เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้หลากหลาย ยังส่งผลประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของไทย เกิดการกระจายรายได้ไปยังชุมชน อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มยังเห็นว่าการจัดงานแบบออนไลน์ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางส่วนขาดรายได้และมีหนี้สินมากยิ่งขึ้น ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดจะได้อภิปรายในบทความฉบับนี้ต่อไป |
รายละเอียด: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2565 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18218 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 460 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
6310521053.pdf | 1.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License