Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18202
Title: Propagation of Rubber Tree Resistant to White Root Disease through Somatic Embryogenesis from Thin Cell Layer and Floral Explants and Assessment of Somaclonal Variation by RAPD and SSR Markers
Other Titles: การขยายพันธุ์ยางพาราที่ทนทานต่อโรครากขาว โดยผ่านกระบวนการ Somatic Embryogenesis จาก Thin Cell Layer และชิ้นส่วนดอก และตรวจสอบความแปรปรวนทางพันธุกรรมด้วยเครื่องหมายโมเลกุล RAPD และ SSR
Authors: Sompong Te-chato
Kanjanee Tongtape
Faculty of Natural Resources (Plant Science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาพืชศาสตร์
Keywords: Rubber tree;White root disease;Somatic embryogenesis
Issue Date: 2022
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: Rubber tree is economically important rubber producing plant of Thailand. At present, a rubber tree plantation is susceptible to white root disease. Therefore, the use of rootstock from early introduce clone that proved to be resistant to white root disease could help sustain growing of rubber tree. Thus, the objectives of this research were to study the effects of plant growth regulators and different explants on callus and somatic embryo (SE) induction of this rubber clone. Both longitudinal thin cell layer (lTCL) from young branch and two different types of explants from young inflorescence gave 100% of sterilization and callus formation on MS medium supplemented with 2.0 mg/l 6-benzyladenine (BA) and 1.5mg/l 2,4-Dichlorophenoxyacetic acid (2,4-D) after culture for 4 weeks. The characteristics of callus from flower explant was friable and compact. Whereas the callus from lTCL was compact only. The color of callus from all sources of explants was yellowish green. For proliferation of callus, callus from mix flower gave the highest proliferation rate in terms of fresh weight at 392.05 mg after culture for 4 weeks on MS medium supplemented with the above concentrations of BA and 2,4-D. Upon transferring the callus to the same culture medium and culturing for further 12 weeks somatic embryo (SE) formation at the highest frequency of 39.84% and number of cotyledonary embryos (CEs) at 3.25 embryos /callus were obtained. CEs conversed into embryo axis at 50% and shoot at 25% after transfer to 0.25 mg/l GA3 containing MS medium with the best concentrations of BA and 2,4-D for 4 weeks. The assessment of genetic stability of in vitro derived clones is considered to be a very useful and essential step in this study. For SEs derived from different explants, 2 primers (OPAD-01 and OPAD-10) of RAPD and 3 primers (hmac4 hmct1 and hmct5) of SSR marker gave the same profile of DNA pattern. It was clear that somaclones obtained from our protocol were uniform and successfully used to assess genetic stability in micropropagated plants.
Abstract(Thai): ยางพาราเป็นพืชที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ในปัจจุบันการปลูกยางพาราได้ประสบปัญหาการแพร่ระบาด และการเข้าทำลายจากโรครากขาว ดังนั้นการใช้ต้นตอที่ทนทานต่อโรครากขาวจากยางพาราพันธุ์ดั้งเดิม เป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างยั่งยืน จึงจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณต้นตอยางที่ทนทานต่อโรคขาวให้เพียงพอต่อเกษตรกร งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโต และชนิดของชิ้นส่วนพืชเพื่อเพิ่มปริมาณต้นตอยางพาราที่ทนทานต่อโรครากขาวในหลอดทดลอง เพื่อใช้ในการพัฒนาเป็นพืชต้นใหม่ในหลอดทดลอง โดยนำกิ่งยางอ่อน และดอกยางมาทำการฟอกฆ่าเชื้อด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (NaOCl) ความเข้มข้น 0.525 เปอร์เซ็นต์ แล้วนำกิ่งอ่อนมาตัดเป็นชิ้นบางๆ ตามยาว (Longitudinally Thin Cell Layer; lTCL) กลีบดอก สับ 20 ครั้งต่อดอก และกลุ่มดอก สับ 60 ครั้งต่อ 3 ดอก วางเลี้ยงบนอาหาร Murashige and Skoog (MS) ร่วมกับ 6-benzyladenine (BA) และ2,4-Dichlorophenoxyacetic acid (2,4-D) ความเข้มข้นต่างๆ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า อาหารสูตรที่เติม BA เข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ 2, 4-D เข้มข้น 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้อัตราการปลอดเชื้อ 100 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการเกิดแคลลัส 100 เปอร์เซ็นต์ แคลลัสจากชิ้นส่วนของดอกมีลักษณะเกาะกันหลวมๆ (Friable Callus; FC) และเกาะกันแน่น (Compact Callus; CC) ในขณะที่แคลลัสจาก lTCL มีลักษณะเป็น CC เท่านั้น แคลลัสที่พัฒนาจากทุกชิ้นส่วนที่เพาะเลี้ยงมีสีเหลืองอมเขียว แคลลัสที่ชักนำจากกลุ่มดอกเพิ่มปริมาณได้ดีที่สุดให้น้ำหนักสดสูงสุด 392.05 มิลลิกรัม บนอาหารสูตรชักนำแคลลัสหลังจากเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 4 สัปดาห์ แคลลัสดังกล่าวให้อัตราการเกิดโซมาติกเอ็มบริโอ (Somatic embryo; SE) สูงสุด 39.84 เปอร์เซ็นต์ จำนวน SE ระยะสร้างใบเลี้ยง (Cotyledonary embryo; CE) 3.25 เอ็มบริโอต่อหลอดหลังจากเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 12 สัปดาห์ เมื่อนำ CE วางเลี้ยงบนอาหารสูตรเดิมที่เติม GA3 ความเข้มข้นต่างๆ พบว่า GA3 เข้มข้น 0.25 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้อัตราการเกิดแกนต้นอ่อน 50 เปอร์เซ็นต์ และยอด 25 เปอร์เซ็นต์ หลังวางเลี้ยง 4 สัปดาห์ การตรวจสอบความแปรปรวนทางพันธุกรรม ของโซมาติกเอ็มบริโอโดยชักนำจากชิ้นส่วนที่แตกต่างกันเปรียบเทียบกับต้นแม่ พบว่า โซมาติกเอ็มบริโอที่ชักนำได้มีรูปแบบของดีเอ็นเอที่เหมือนกันจากการตรวจสอบด้วยเครื่องหมาย RAPD ใช้ไพรเมอร์ 2 ชนิด (OPAD-01 และ OPAD-10) และเครื่องหมาย SSR โดยใช้ไพรเมอร์ 3 ชนิด (hmac4 hmct1 และ hmct5) จากผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโซมาติกเอ็มบริโอที่ได้จากกระบวนการนี้ไม่มีความแปรปรวนทางพันธุกรรม
Description: Thesis (Ph.D., Plant Science)--Prince of Songkla University, 2022
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18202
Appears in Collections:510 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesis-Kanjanee Tongtape.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons