กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18199
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นในทัศนะของบุคลากรท้องถิ่น: กรณีศึกษาบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A STUDY OF PROBLEMS AND OBSTACLES IN DECENTRALIZATION FROM THE PERSPECTIVES OF LOCAL PERSONNEL: A CASE STUDY OF PERSONNEL IN LOCAL GOVERNMENT ORGANIZATIONS IN KRASAESIN DISTRICT, SONGKHLA PROVINCE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
ณัฐพล ยอดหวาน
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
คำสำคัญ: บุคลากรท้องถิ่น;การกระจายอำนาจ;ทัศนะ
วันที่เผยแพร่: 2023
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This study delves into the intricacies of decentralizing power from central to local authorities, focusing on the perspectives of local personnel. Specifically, it examines personnel within local administrative organizations in Krasaesin District, Songkhla Province, with the following objectives: 1) To ascertain the viewpoints of local government personnel regarding the challenges and obstacles associated with decentralizing power from central authorities to local levels. 2) To conduct a comparative analysis of perceptions regarding decentralization issues among local personnel, considering distinctions within the organizations (municipalities vs. sub-district administrative organizations) and employment types (civil servants vs. hired employees). The study encompassed 107 individuals employed in various capacities within local government organizations across the four areas of Krasaesin District. Data collection was executed through the distribution of questionnaires and subsequent analysis employing descriptive statistics. Key Research Findings: 1. Age, hometown, and educational backgrounds of local government personnel do not significantly influence their perspectives on decentralization issues. 2. Distinctions in positions, whether civil servants or hired employees, do not yield significant differences in the perceptions of challenges and obstacles associated with decentralizing power from central to local levels. 3. Notably, divergent views emerged when comparing local government personnel in sub-district municipalities and sub-district administrative organizations. These differences were particularly pronounced in two areas: Form and structure: Personnel in the Sub-district Administrative Organization expressed higher concerns regarding problems and obstacles compared to those in the Sub-district Municipality. And personnel management: Personnel in the Sub-district Municipality exhibited a more positive outlook regarding problems and obstacles compared to those in the Sub-district Administrative Organization.
Abstract(Thai): การศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นในทัศนะของบุคลากรท้องถิ่น : กรณีศึกษาบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทราบถึงทัศนะของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีต่อปัญหาและอุปสรรคในการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น 2) ศึกษาเปรียบเทียบต่อการรับรู้ปัญหาการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นของบุคลากรท้องถิ่น ในแง่ขององค์กรระหว่างเทศบาลกับองค์การบริหารส่วนตำบล และ ระหว่างข้าราขการและพนักงานจ้าง ซึ่งเป็นบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์ทั้ง 4 แห่ง จำนวน 107 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอายุ ภูมิลำเนา การศึกษา ต่างกันมีทัศนะต่อปัญหาการกระจายอำนาจไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีตำแหน่งที่ต่างกันเปรียบเทียบระหว่างข้าราชการและพนักงานจ้างมีทัศนะต่อปัญหาและอุปสรรคในการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ 3. บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างประเภทกัน เปรียบเที่ยบระหว่างบุคลากรที่สังกัดเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล มีทัศนะต่อปัญหาและอุปสรรคในการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นในประเด็นปัญหา 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านรูปแบบและโครงสร้าง 2) ด้านการบริหารงานบุคคล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 กล่าวคือ ปัญหาด้านรูปแบบและโครงสร้าง บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลมีทัศนะต่อปัญหาและอุปสรรคมากกว่าเทศบาลตำบล ส่วนปัญหาด้านการบริหารงานบุคคล บุคลากรของเทศบาลตำบลมีทัศนะต่อปัญหาและอุปสรรคมากกว่าองค์การบริหารส่วนตำบล
รายละเอียด: ปริญญามหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18199
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:465 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6210521519.pdf1.16 MBAdobe PDFดู/เปิด
6210521519 บทความวิจัย.pdf227.15 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons