กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18126
ชื่อเรื่อง: การใช้กลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อลดความเสี่ยงภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลตำบลปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Applying Ecotourism Management Strategies to Reduce Disasters Risk in Pak Payoon Municipality, Phattalung Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพร คุณวิชิต
คัมภีรดา บือโต
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
คำสำคัญ: การลดความเสี่ยงภัยพิบัติ;การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
วันที่เผยแพร่: 2023
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This study's goals are to: 1) analyze the impacts of disasters in the Pak Payoon Municipality, Phattalung Province; 2) investigate the usage of ecotourism strategies to reduce disaster risk; and 3) suggest ecotourism strategies to reduce disaster risk in the future. Qualitative research techniques were applied. In-depth interviews and documentary research were used to gather the data. A total of 26 individuals from different organizations participated in in-depth interviews. The data triangulation approach was used to verify the data, and the induction methodology was used for analyzing data. Results show that previous disasters created 3 types of impacts to the communities. These include (1) physical impacts (damage to infrastructure, agriculture, ecosystem and the environment), (2) social impacts (stress and wariness about daily life and illness), and (3) economic impacts (reduction of income, agricultural products and fishery). In terms of ecotourism strategies, there have been 4 types of ecotourism initiatives implemented to reduce disaster risk in the areas. These include (1) natural resource recovery strategy, (2) biodiversity conservation strategy, (3) community tourism and infrastructure development strategy, and (4) disaster risk reduction measures by government agencies. This research provides two levels of recommendations – policy level and community level. At the policy level, related government agencies should allocate budget for equipment procurement, provide technical and knowledge support, and network with relevant organizations to promote ecotourism and disaster risk management. At the community level, awareness on natural resource and environment conservation should be raised among the general public, handbooks for natural resource and environment conservation should be developed, and ecotourism activities should be more promoted.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลตำบลปากพะยูน จังหวัดพัทลุง 2) ศึกษาการใช้กลยุทธ์การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และ 3) เสนอแนะแนวทางการใช้การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ทั้งสิ้น 26 คน ได้แก่ ผู้นำและตัวแทนจากภาครัฐ ผู้นำและตัวแทนชุมชน ตัวแทนจากผู้ประกอบการ และตัวแทนจากภาคเอกชน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยวิธีการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติในพื้นที่มี 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านกายภาพ โครงสร้างสาธารณูปโภคได้รับความเสียหาย ภาคการเกษตรได้รับความเสียหาย และระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมได้รับความเสียหายและเสื่อมโทรม (2) ด้านสังคม ประชาชนมีความเครียดและวิตกกังวลเกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวันและผลกระทบจากโรคติดต่อ และ (3) ด้านเศรษฐกิจ รายได้ของประชาชนลดลง ผลผลิตการเกษตรและประมงไม่สามารถจำหน่ายสู่ตลาดได้ ในเรื่องการใช้กลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พบว่า สามารถแบ่งได้ 4 มิติ ได้แก่ (1) การใช้กลยุทธ์การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์น้ำ (2) การใช้กลยุทธ์การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ (3) การใช้กลยุทธ์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน และ (4) การใช้มาตรการจากภาครัฐเพื่อลดความเสี่ยงภัยพิบัติ ทั้งนี้ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยแบ่งได้ 2 ระดับ คือ (1) ระดับนโยบาย หน่วยงานภาครัฐควรมีการจัดประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ และสนับสนุนความรู้ด้านเทคนิค วิชาการ เทคโนโลยีในการจัดการภัยพิบัติและควรมีการสร้างภาคีเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอก เพื่อขยายฐานการท่องเที่ยวและสร้างความร่วมมือในการจัดการภัยพิบัติ (2) ระดับชุมชน ควรมีการปลุกจิตสํานึกช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ควรจัดทำคู่มือในการรักษาสิ่งแวดล้อม และควรมีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เช่น การเชิญชวนประชาชนและนักท่องเที่ยวสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวสีเขียว โปรแกรมทัวร์กิจกรรมรณรงค์ปลูกป่าชายเลน เป็นต้น
รายละเอียด: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18126
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:465 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6410521550.pdf3.7 MBAdobe PDFดู/เปิด
6410521550 Article.pdf233.21 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons