Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18122
Title: การลดความเสี่ยงอุทกภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลตะเครียะและองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
Other Titles: Disaster Risk Reduction of Takria Subdistrict Administrative Organization and Ban Khao Subdistrict Administrative Organization, Ranot District, Songkhla Province
Authors: สมพร คุณวิชิต
ชลลดา อ่อนรอด
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
Keywords: อุทกภัย;การลดความเสี่ยงภัยพิบัติ;การบริหารจัดการภาครัฐ;องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objectives of this study are to: 1) examine the flood risk reduction initiatives of the Takria and Ban Khao Subdistrict Administrative Organizations; 2) analyze the issues/barriers that hampered the initiatives; and 3) make recommendations for the implementation of better strategies in the future. Methods of qualitative research were used. Data were gathered through observation, in-depth interviews, and documentary research. The 47 participants who served as key informants in this study consisted of representatives from various organizations. Data were verified using the data triangulation method, and after that, data were analyzed inductively. Results indicate that 1) In order to lower the risk of flooding in the affected areas, Takria and Ban Khao Subdistrict Administrative Organizations (SAOs) have implemented both structural and nonstructural mitigation projects. This was accomplished by routinely erecting flood barriers, enhancing water channels, and installing flood drainage systems with water gates and water pumping stations. In terms of preparedness, these SAOs have set up flood warning systems, gathered necessary supplies for preventing floods and helping people in need, employed communication technologies to improve risk communication with the people, and educated people about flood hazards. 2) Issues/barriers that hindered efforts to reduce flood risk include restrictions on actions in wildlife habitats, an inadequate budget for disaster management, weed and garbage that blocked drainage channels, too-narrow water channel widths, a lack of resources, and water channels that are becoming shallow as a result of soil erosion. 3) It is advised in this study that these SAOs take into account the local contexts when introducing structural and nonstructural mitigation measures to reduce flood risk, reconsider land use planning or zoning, particularly in areas close to lakes that are susceptible to erosion, encourage the use of flood risk insurance, educate and train both public officials and the general public, and collaborate with one another in future planning and management of flood risk.
Abstract(Thai): การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินการลดความเสี่ยงอุทกภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลตะเครียะและองค์การบริหารตำบลบ้านขาว 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการลดความเสี่ยงอุทกภัย 3) เสนอแนะแนวทางการลดความเสี่ยงอุทกภัยที่เหมาะสม ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งสิ้น 47 คน ประกอบด้วย ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลตะเครียะและองค์การบริหารตำบลบ้านขาว ตัวแทนสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สาขาระโนด ตัวแทนโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด-กระแสสินธุ์ ผู้นำชุมชนและตัวแทนประชาชนทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยการตรวจสอบสามเส้า จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า 1) องค์การบริหารส่วนตำบลตะเครียะและองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาวมีการดำเนินการลดความเสี่ยงอุทกภัยโดยนำมาตรการเชิงโครงสร้างและไม่ใช่โครงสร้างใช้ลดความเสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่ โดยมีการปรับปรุงสภาพลำน้ำอย่างสม่ำเสมอ การขุดลอกลำน้ำ การคาดผิวลำคลอง การสร้างพนังกั้นน้ำในพื้นที่เสี่ยง รวมทั้งการใช้ระบบระบายน้ำประกอบด้วยประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำ และการวิเคราะห์ความเสี่ยงในพื้นที่ต่าง ๆ ส่วนการเตรียมความพร้อมรับมือกับอุทกภัยขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ การติดตั้งระบบเตือนภัยและการแจ้งเตือน การจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการป้องกันอุทกภัยและการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เสี่ยง การพัฒนาการติดต่อสื่อสารที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วมากขึ้น การฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอุทกภัยแก่ชาวบ้านในพื้นที่ 2) ปัญหาในเรื่องการดำเนินการลดความเสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่ พบว่า การดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยไม่สามารถทำได้เนื่องจากอาจกระทบต่อระบบนิเวศน์ การจัดสรรงบประมาณในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ไม่เพียงพอ ปัญหาวัชพืชและขยะอุดตันทางระบายน้ำ ขนาดของทางระบายน้ำเล็กเกินไป ทรัพยากรในการดำเนินการไม่เพียงพอ ปัญหาลำคลองที่ตื้นเขินจากการกัดเซาะตลิ่งทำให้ดินพังทลายลงในลำคลอง 3) ข้อเสนอแนะแนวทางลดความเสี่ยงอุทกภัยจากงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ การนำมาตรการเชิงโครงสร้างและไม่เชิงโครงสร้างมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของพื้นที่ การวางผังเมืองโดยเฉพาะพื้นที่ติดริมทะเลสาบที่อาจมีปัญหาตลิ่งพังทลาย การใช้มาตรการด้านประกันภัยในพื้นที่เสี่ยง การเตรียมความพร้อมทั้งในส่วนของทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐและประชาชนในการลดความเสี่ยงอุทกภัยเพื่อลดความเสียหายจากอุทกภัย การดำเนินการในลักษณะบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 2 แห่ง เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันที่เกิดขึ้นในพื้นที่
Description: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18122
Appears in Collections:465 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6410521508 Article.pdf202.3 kBAdobe PDFView/Open
6410521508.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons