กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18121
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ กรณีศึกษา : ตำบลสะท้อน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Affecting Desirable Characteristics of Political Leaders : A Case Study of Saton Sub-district, Na Thawi District, Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฑามณี ตระกูลมุทุตา
ธัญญลักษณ์ เอียดแก้ว
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
คำสำคัญ: คุณลักษณะผู้นำทางการเมือง;เจเนอร์เรชั่น;ความสนใจข่าวสารทางการเมือง
วันที่เผยแพร่: 2023
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This quantitative research study, entitled "Factors Affecting Desirable Political Leadership Characteristics: A Case Study of Tambon Ko Saton, Na Thawi District, Songkhla Province," aimed to achieve three objectives. The first objective was to examine the level of desirable political leadership characteristics of the people in Tambon Ko Saton, Na Thawi District, Songkhla Province. The second objective was to compare the desirable political leadership characteristics of different generations. The third objective was to explore the influence of political news on desirable political leadership characteristics. The research employed questionnaires to collect data from 375 participants aged 18 years and above. Statistical methods such as frequency, percentage, mean, standard deviation, F-test value by one-way analysis of variance, and multiple regression statistics were used to analyze the data. The study revealed that the desirable political leadership characteristics of the participants in Tambon Ko Saton, Na Thawi District, Songkhla Province, mirrored the characteristics of the region as a whole, with integrity being the most highly valued characteristic followed by work systematically, decisiveness, delegation of work efficiently, inspiration, vision, and communication. Additionally, the research found that different generations had statistically significant differences in their desirable political leadership characteristics. Furthermore, the study demonstrated that an overall interest in political news had a statistically significant impact on desirable political leadership characteristics.
Abstract(Thai): การวิจัยศึกษา เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ กรณีศึกษา : ตำบลสะท้อน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ของประชาชน ตำบลสะท้อน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์จำแนกตามเจเนอร์เรชั่น และ3) เพื่อศึกษาความสนใจข่าวสารทางการเมืองที่ส่งผลต่อคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนในพื้นที่ตำบลสะท้อน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 375 คน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบเอฟ โดยการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และสถิติการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ของประชาชน ตำบลสะท้อน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ในภาพรวม อยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ซื่อสัตย์สุจริต รองลงมาคือ มีระบบระเบียบในการทำงาน ตัดสินใจเด็ดขาด มอบหมายงานอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างแรงบันดาลใจ มีวิสัยทัศน์ และสื่อสารเป็น ตามลำดับ ส่วนผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์จำแนกตามเจเนอร์เรชั่น พบว่า เจนเนอร์เรชั่นที่แตกต่างกันมีคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสำหรับการวิเคราะห์ความสนใจข่าวสารทางการเมืองที่ส่งผลต่อคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ พบว่า ความสนใจข่าวสารทางการเมืองโดยรวมส่งผลต่อคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
รายละเอียด: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18121
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:465 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6410521520.pdf1.29 MBAdobe PDFดู/เปิด
6410521520 Article.pdf497.04 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons