Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18118
Title: | ประสิทธิผลของโครงการคนละครึ่งของรัฐบาลในทัศนะของประชาชนผู้ได้รับสิทธิ เขตพื้นที่ตำบลสะท้อนอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
Other Titles: | The Effectiveness of the Government Half-Half Co-Payment Scheme According to the Opinion of Eligible Persons in Sathon Subdistrict, Nathawi District, Songkhla Province. |
Authors: | จุฑามณี ตระกูลมุทุตา อัญฐิตา ยอดประสิทธิ์ Faculty of Management Sciences (Public Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
Keywords: | โครงการคนละครึ่ง;ระดับประสิทธิผล;ปัจจัยการเข้าถึง |
Issue Date: | 2023 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | The objectives of this study on the effectiveness of the government’s Half-Half Co-Payment Scheme according to the opinions of the eligible persons in Sathon Subdistrict, Nathawi District, Songkhla Province, were 1) to study the level of effectiveness of the government’s Half-Half Co-Payment Scheme in opinions of eligible persons; 2) to comparatively study the effectiveness of the government’s Half-Half Co-Payment Scheme between each personal factor of eligible persons; and 3) to study the accessibility factors of each eligible persons which affect the effectiveness of the government’s Half-Half Co-Payment Scheme. There were 385 subjects using surveying questionnaires. The data was analyzed using statistical frequency, percentage, standard deviation, t-test testing, one-way analysis of variance, and multiple linear regression. The study showed that the efficiency level of the government’s Half-Half Co-Payment Scheme in the opinions of eligible persons was high. The average scores were in the following order: the increase of liquidity to the small retailers received the highest average score, followed by the alleviation of the public expense burden, while the promotion of expenditure within Thailand received the lowest average score. The comparative study of the effectiveness of the government’s Half-Half Co-Payment Scheme between each personal factors of eligible persons showed no significant difference in the opinions of the eligible persons despite 8 different factors, which were sexes, ages, marital statuses, education levels, occupations, average monthly incomes, the sufficiency of income, and the amount of debt. In addition, the overall result of the accessibility factors of each eligible on the effectiveness of the government’s Half-Half Co-Payment Scheme was at 67.80 percent and had a statistically significant level of .05. When considering accessibility factors of the government’s Half-Half Co-Payment Scheme; the study showed that 3 accessibility factors, which were the usage of information technology on the registration process, the convenience of using application Paotang, and the equality and accessibility, affected the Half-Half Co-Payment Scheme at 71.90 percent and had statistically significant level at .05. |
Abstract(Thai): | การศึกษาเรื่องประสิทธิผลของโครงการคนละครึ่งของรัฐบาลในทัศนะของประชาชนผู้ได้รับสิทธิ เขตพื้นที่ตำบลสะท้อน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลโครงการคนละครึ่งของรัฐบาลในทัศนะของประชาชนผู้ได้รับสิทธิ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลโครงการคนละครึ่งของรัฐบาล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนผู้ได้รับสิทธิ และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการเข้าถึงโครงการคนละครึ่งของประชาชนผู้ได้รับสิทธิที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการคนละครึ่งของรัฐบาล มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของโครงการคนละครึ่งในทัศนะของประชาชนผู้ได้รับสิทธิ อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ร้านค้ารายย่อย รองลงมา คือ ด้านการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน และด้านการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลโครงการคนละครึ่งของรัฐบาล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนผู้ได้รับสิทธินั้น พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนผู้ได้รับสิทธิ ทั้ง 8 ปัจจัย คือ เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความเพียงพอของรายได้ และ ภาระหนี้สิน ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลโครงการคนละครึ่งของรัฐบาลไม่ต่างกัน และผลการศึกษาปัจจัยการเข้าถึงโครงการคนละครึ่งของรัฐบาลโดยรวมส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการคนละครึ่ง ร้อยละ 67.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาปัจจัยการเข้าถึงโครงการคนละครึ่งของรัฐบาล พบว่า ปัจจัยการเข้าถึงโครงการคนละครึ่งของรัฐบาลทั้ง 3 ด้าน คือ การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการลงทะเบียนรับสิทธิ ความสะดวกในการใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง และความเสมอภาคและการเข้าถึงสิทธิ ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการคนละครึ่ง ร้อยละ 71.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Description: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2566 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18118 |
Appears in Collections: | 465 Minor Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6410521546 Article.pdf | 233.17 kB | Adobe PDF | View/Open | |
6410521546.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License