กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18078
ชื่อเรื่อง: เพศสภาพกับการจัดการภัยพิบัติ : กรณีศึกษาชุมชนปริกใต้ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Gender and Disaster Management : A Case Study of Prik Tai Community, Prik Subdistrict, Sadao District, Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เยาวนิจ กิตติธรกุล
ศิริมาศ ภูวเจริญพงศ์
Faculty of Environmental Management (Environmental Management)
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
คำสำคัญ: การจัดการภัยพิบัติ;เพศสภาพ;สงขลา;ผู้หญิง
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objectives of this qualitative research are to study 1) community-based disaster (flood) management processes, and 2) gender in the disaster management, in Prik Tai (a Buddhist community) of Prik subdistrict municipality, Sadao District, Songkhla Province. The analyses of women’s and men’s roles at the household and community levels are based on the concepts of Disaster Risk Management (DMR), gender division of labor (production, reproduction, and community work), and social reproduction. Research methods comprise participant and non-participant observations, and semi-structured interviews of two groups of twenty-four key informants: members of nine households who played key roles in household disaster management, and community core-team members with important roles in community-based disaster management The other twenty-six informants include those involved in community disaster management. The other fifteen persons are women and men in two nearby municipal communities who also experienced the same floods. The disaster management of Prik Tai community could be divided into three periods as follows: 1) Flooding occurred in 1988, as the villagers perceived the disaster as unpredictable, they focused on responding to the at-hand situations rather than preparation before the disaster. The villagers supported one another during the disaster, while supports were sent through subdistrict and village headmen. 2) Flooding occurred in 2000, after the establishment of the municipality, which played a key role in planning to cope with disaster, setting up an evacuation camp, rescuing and rehabilitation. Due to the municipal provision, the village disaster management was turned into mainly depending on the municipal information inputs for their preparation. 3) Flooding occurred in 2010, due to the support of Asian Cities Climate Change Resilience Network (ACCCRN), the villagers learned to employ information, knowledge and skills in disaster management instead of village surveillance like before. A village disaster management committee was set up and trained for before, during and after disaster management practices. They worked with the municipality to raise the village concerns of livelihoods and safety under the municipal supervision. Regarding gender in disaster management, it is found that the roles of women in three groups – community core-team members, villagers, and vulnerable group - were related to reproduction work, particularly household chores and care of family members. The women employed their skills in caring for the well-being of family members in disaster management and community work. In terms of gender division of labor, women played all of the three roles (production, reproduction and community work), whereas men’s roles in production and community work were labor-intensive, together with a higher level of at-risk work more than those of women. The female community core-team members played key roles in social reproduction, in household chores, unpaid services and community work, which significantly contributed to the well-being of community members and the vunlerable group. However, women’s social reproduction is not yet recognized in terms of its value accounts and contribution from the state and the society. It is vital to promote the social recognition of women’s social reproduction at the household and community levels, as one of the initial points in the process of decreasing gender inequities.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการจัดการภัยพิบัติ(อุทกภัย)ในชุมชนปริกใต้ 2) เพศสภาพในการจัดการภัยพิบัติชุมชนปริกใต้ ซึ่งเป็นชุมชนพุทธในเขตเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โดยใช้กรอบแนวคิดการจัดการภัยพิบัติและการวิเคราะห์บทบาทหญิงชาย ด้วยการแบ่งงานกันทำทั้ง 3 ด้าน (งานด้านการผลิต การผลิตซ้ำ และงานชุมชน) รวมทั้งแนวคิดการผลิตซ้ำทางสังคมมาใช้วิเคราะห์บทบาทหญิงชายทั้งระดับครัวเรือนและชุมชน โดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีและไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 18 คน ประกอบด้วย ผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดการภัยพิบัติในระดับครัวเรือน จำนวน 9 ครัวเรือน และแกนนำชุมชนที่มีบทบาทในกลุ่มกิจกรรมการจัดการภัยพิบัติในชุมชน จำนวน 4 คน รวมทั้งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติภายในชุมชน จำนวน 26 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลอื่นๆเป็นทั้งผู้หญิงและผู้ชายในชุมชนใกล้เคียงจำนวน 2 ชุมชนที่ประสบกับภัยพิบัติและอยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลปริก จำนวน 15 คน การจัดการภัยพิบัติของชุมชนปริกใต้แบ่งเป็น 3 ช่วงเหตุการณ์ ดังนี้ 1) การเกิดอุทกภัย ปี พ.ศ.2531 ชุมชนมองว่า ภัยพิบัติ (น้ำท่วม) เป็นเรื่องที่คาดการณ์ไม่ได้ การจัดการภายในครัวเรือนและชุมชนจึงเน้นที่การตั้งรับต่อสถานการณ์ที่เกิดเฉพาะหน้า การจัดการก่อนเกิดภัยเป็นการตั้งรับมากกว่าการป้องกันก่อนการเกิดภัย การจัดการขณะเกิดภัยเป็นการช่วยเหลือระหว่างกันภายในชุมชน การจัดการหลังเกิดภัยเป็นการซ่อมแซมฟื้นฟูกันเองภายในครัวเรือนและชุมชน มีกำนันและผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ประสานงานและขอความช่วยเหลือจากภายนอกทั้งขณะและหลังเกิดภัย 2) การเกิดอุทกภัย ปี พ.ศ.2543 มุมมองชุมชนยังคงมองว่าภัยพิบัติ (น้ำท่วม) เป็นเรื่องที่คาดการณ์ไม่ได้ จึงเน้นที่การตั้งรับต่อสถานการณ์ที่เกิดเฉพาะหน้ามากกว่าการป้องกันการเกิดภัย การเข้ามาของเทศบาลตำบลปริก ทำให้ชุมชนหันมาใช้ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากเทศบาลในการตัดสินใจเตรียมตัว มีการแต่งตั้ง กรรมการชุมชนทำหน้าที่ประสานงานระหว่างชุมชนเทศบาลและหน่วยงานภายนอก มีการวางแผนรับมือก่อนการเกิดภัย การเตรียมจัดตั้งศูนย์การอพยพและการช่วยเหลือหลังเกิดภัยในรูปแบบฟื้นฟู ซ่อมแซม 3) การเกิดอุทกภัย ปี พ.ศ.2553 การจัดการภายในครัวเรือนดำเนินการเหมือนที่ผ่านมา การเข้ามาของโครงการเครือข่ายเมืองในเอเชียเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้แกนนำชุมชนทั้งผู้หญิงและผู้ชายได้เรียนรู้การใช้ข้อมูล ความรู้และทักษะที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ ชุมชนใช้ข้อมูลข่าวสารและการเตือนภัยจากเทศบาลแทนการเฝ้าระวังกันเองภายในชุมชน การจัดการระดับชุมชน มีการอบรมความรู้และทักษะการจัดการภัยพิบัติให้แก่กรรมการชุมชน มีโครงสร้างคณะทำงานจัดการภัยพิบัติในชุมชนดำเนินการวางแผนตั้งแต่ขั้นตอนก่อน ระหว่างและหลังเกิดภัย รวมทั้งมีการนำเสนอประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ และการดูแลความปลอดภัยและความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชนภายใต้การทำงานร่วมกับเทศบาล ส่วนเพศสภาพในการจัดการภัยพิบัติ พบว่า บทบาทหลักของผู้หญิงทั้ง 3 กลุ่ม ไม่ว่าเป็นแกนนำชุมชน สมาชิกชุมชน และกลุ่มเปราะบางเป็นงานบ้านหรือการดูแลสมาชิกภายในครัวเรือน (งานผลิตซ้ำ) ทั้งสิ้น ผู้หญิงใช้ทักษะจากการดูแลความอยู่ดีกินดีของสมาชิกภายในครัวเรือนมาใช้ ทั้งในการจัดการภัยพิบัติและงานชุมชน การแบ่งงานกันทำระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย พบว่า ผู้หญิงมีบทบาทในงานทั้ง 3 ด้าน (งานผลิต งานผลิตซ้ำและงานชุมชน) ในขณะที่ผู้ชายมีบทบาทในงานผลิต งานชุมชนที่ใช้แรงงาน และงานที่มีความเสี่ยงต่อภัยมากกว่าผู้หญิง แกนนำชุมชนผู้หญิงมีบทบาทด้านการผลิตซ้ำทางสังคม ทั้งงานบ้าน การบริการที่ไม่ได้รับค่าจ้าง และงานชุมชน ซึ่งเอื้อต่อการอยู่ดีมีสุขของสมาชิกและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในชุมชน แต่งานด้านการผลิตซ้ำทางสังคมของผู้หญิงก็ยังไม่ได้มีการให้ความสำคัญทั้งในเชิงมูลค่าและคุณค่าทั้งจากรัฐและสังคมโดยรวม การให้ความสำคัญกับงานการผลิตซ้ำทางสังคมของผู้หญิงทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชน จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญประการหนึ่งในกระบวนการลดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18078
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:820 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6110930012.pdf4.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons