Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18069
Title: Applications of the Natural Cubic Spline Function to Estimate Financial Volatilities and Time-varying Correlations of the ASEAN-5 Financial Time Series
Other Titles: การประยุกต์ใช้ฟังก์ชั่นเส้นโค้งเสมือนพหุนามกำลังสามที่มีเงื่อนไขขอบแบบธรรมชาติเพื่อประมาณการความผันผวนทางการเงินและสหสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาของอนุกรมเวลาทางการเงินจากห้าประเทศในภูมิภาคอาเซียน
Authors: McNeil, Don
Phattrawan Tongkumchum
Jetsada Laipaporn
Faculty of Sciecnce and Technology (Mathematics and Computer Science)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์
Keywords: Financial Volatility;Natural Cubic Spline;ASEAN;Time-series analysis
Issue Date: 2021
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: This thesis introduced methods to investigate financial stability and financial integration in ASEAN. The natural cubic spline function with quantile knots was applied to financial time series, including the stock market indexes, the bilateral exchange rates to the United States dollar, and the effective exchange rates during two decades from January 1, 2001 to December 31, 2020 of the ASEAN-5, including Thailand, Singapore, Malaysia, Indonesia, and the Philippines. Initially, this study estimated financial volatilities of the investigated series by applying the natural cubic spline function with 22 quantile knots, that had an approximately one trading-year interval between them. The results showed that during the global financial crisis the estimated natural cubic spline volatilities dramatically increased, reflecting an instability in time of crisis. In addition, the Monte Carlo simulation demonstrated that the natural cubic spline volatility revealed more precise volatility’s pattern than the smoothing GARCH (1,1) volatility method introduced in previous study. To investigate the financial integration in this region, this study alternatively estimated time-varying correlation coefficients of the ASEAN-5 stock indexes with a new method based on the indirect covariance concept and the natural cubic spline volatility. The estimated time-varying correlation coefficients consequently exhibited that in time of the global financial crisis these five stock market indexes were more likely to change in the same direction and after the declaration of the ASEAN Economic Community blueprints in 2007, these stock market indexes had stronger linkages, indicating the emerging financial integration in this region. Moreover, the simulation showed that the time-varying correlation coefficients estimated following this method, better in revealing varying patterns of time-varying correlation coefficients than the other three estimators, consisting of the backward rolling correlation coefficient estimator, the centered rolling correlation coefficient estimator, and the dynamic conditional correlation model. This thesis also investigated the use of model selection criteria in selecting a number of quantile knots for the natural cubic spline function in the financial volatility estimation. The simulation presented that the Generalized Cross-Validation was a superior criterion than the other three candidates including the Akaike’s Information Criteria, the Bayesian Information Criteria, and the modified Generalized Cross-Validation. Then, the volatilities of the bilateral exchange rates and the effective exchange rates of the ASEAN-5 were estimated by the natural cubic spline function with a number of quantile knots selected by the Generalized Cross-Validation. The results showed that the bilateral exchange rate generally had higher volatility than the effective exchange rate, reflecting the influence of the United Stated dollar on the stability of the bilateral exchange rates and volatility of bilateral exchange rate was impacted by its concurrent adopted exchange rate policy. Applying the natural cubic spline function for estimating financial volatility and time-varying correlation coefficients was found practical to investigate financial stability and financial integration in the ASEAN and could be broadly adopted for estimating financial volatility and time-varying correlation coefficients of the other financial time series as well.
Abstract(Thai): วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอวิธีการในการสำรวจเสถียรภาพและการเชื่อมโยงทางการเงินที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน ฟังก์ชั่นเส้นโค้งเสมือนพหุนามกำลังสามที่มีเงื่อนไขขอบแบบธรรมชาติและใช้ปมแบบควอนไทล์ ถูกประยุกต์ใช้กับอนุกรมเวลาทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยนเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ และอัตราแลกเปลี่ยนตามดัชนีค่าเงิน ในช่วงสองทศวรรษ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2544 ถึง 31 ธันวาคม 2563 ของห้าประเทศในอาเซียน ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ การศึกษานี้ใช้วิธีการประมาณการค่าความผันผวนทางการเงินของอนุกรมเวลาที่ศึกษาด้วยการประยุกต์ใช้ฟังก์ชั่นเส้นโค้งเสมือนพหุนามกำลังสามที่มีเงื่อนไขขอบแบบธรรมชาติและใช้ปมแบบควอนไทล์จำนวน 22 ปม โดยมีระยะห่างระหว่างปมประมาณหนึ่งปีทำการ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์การเงินโลก ความผันผวนทางการเงินที่ประมาณการจากฟังก์ชั่นเส้นโค้งเสมือนพหุนามกำลังสามที่มีเงื่อนไขขอบแบบธรรมชาติมีค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนให้เห็นความไม่มีเสถียรภาพทางการเงินในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤต นอกจากนี้การจำลองสถานการณ์ด้วยวิธีมอนติคาร์โลแสดงให้เห็นว่า ความผันผวนทางการเงินที่ประมาณการจากฟังก์ชั่นเส้นโค้งเสมือนพหุนามกำลังสามที่มีเงื่อนไขขอบแบบธรรมชาติ แสดงให้เห็นรูปแบบของความผันผวนได้ชัดเจนกว่าการปรับค่าความผันผวนจากตัวแบบการ์ช(1,1)ให้เรียบ ตามวิธีการจากการศึกษาในอดีต ในการสำรวจการเชื่อมโยงทางการเงินในภูมิภาค การศึกษานี้เลือกประมาณการค่า สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาของดัชนีตลาดหลักทรัพย์จากห้าประเทศในภูมิภาคอาเซียนด้วยวิธีการใหม่ที่มีพื้นฐานจากแนวคิดความแปรปรวนร่วมทางอ้อมและความผันผวนทางการเงินที่ประมาณการจากฟังก์ชั่นเส้นโค้งเสมือนพหุนามกำลังสามที่มีเงื่อนไขขอบแบบธรรมชาติ ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาที่ประมาณการได้ แสดงให้เห็นว่า ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินโลก ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั้ง 5 ประเทศมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน และหลังการประกาศใช้พิมพ์เขียวในการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2550 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั้ง 5 ประเทศมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงทางการเงินที่เกิดขึ้นในภูมิภาค มากไปกว่านั้น การจำลองสถานการณ์แสดงให้เห็นว่า ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาที่ประมาณค่าตามวิธีการนี้ แสดงให้เห็นรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาได้ดีกว่า วิธีการประมาณการอีกสามวิธี ได้แก่ วิธีการประมาณการค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เคลื่อนที่ถอยหลัง วิธีการประมาณการค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เคลื่อนที่กึ่งกลาง และตัวแบบสหสัมพันธ์ที่มีพลวัตรตามเงื่อนเวลา วิทยานิพนธ์นี้ ยังสำรวจการใช้เกณฑ์การเลือกตัวแบบ ในการกำหนดจำนวนปมแบบ ควอนไทล์ของฟังก์ชั่นเส้นโค้งเสมือนพหุนามกำลังสามที่มีเงื่อนไขขอบแบบธรรมชาติ สำหรับการประมาณการค่าความผันผวนการการเงิน การสำรวจสถานการณ์แสดงให้เห็นว่า การตรวจสอบไขว้นัยทั่วไป เป็นเกณฑ์การเลือกปมที่ดีกว่าเกณฑ์อื่นอีก 3 เกณฑ์ ได้แก่ เกณฑ์ข้อมูลของอาคาอิเกะ เกณฑ์ข้อมูลแบบ เบย์เซียน และการตรวจสอบไขว้นัยทั่วไปที่มีการดัดแปลง เมื่อประมาณการค่าความผันผวนของอนุกรมเวลาอัตราแลกเปลี่ยนเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ และอัตราแลกเปลี่ยนตามดัชนีค่าเงินของประเทศในภูมิภาคอาเซียนทั้ง 5 ประเทศ ด้วยฟังก์ชั่นเส้นโค้งเสมือนพหุนามกำลังสามที่มีเงื่อนไขขอบแบบธรรมชาติ และใช้จำนวนปมแบบควอนไทล์ที่เลือกด้วยการตรวจสอบไขว้นัยทั่วไป ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า อัตราแลกเปลี่ยนเทียบกับดอลลาร์สหรัฐมีความผันผวนมากกว่าอัตราแลกเปลี่ยนตามดัชนีค่าเงิน ซึ่งสะท้อนให้เห็นอิทธิพลของดอลลาร์สหรัฐที่มีต่อเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเทียบกับดอลลาร์สหรัฐยังถูกกระทบจากนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในช่วงเวลานั้นด้วย การประยุกต์ใช้ฟังก์ชั่นเส้นโค้งเสมือนพหุนามกำลังสามที่มีเงื่อนไขขอบแบบธรรมชาติในการประมาณการค่าความผันผวนทางการเงิน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา สามารถประยุกต์ใช้ในการสำรวจเสถียรภาพทางการเงินและความเชื่อมโยงทางการเงินในภูมิภาคอาเซียนได้ดี และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประมาณการค่าความผันผวนทางการเงิน และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาของอนุกรมเวลาทางการเงินอื่นๆ ได้
Description: Doctor of Philosophy (Research Methodology), 2021
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18069
Appears in Collections:746 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5820330008.pdf19.23 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons