กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18065
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาแนวทางการให้บริการสังคมมุสลิมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of Islamic Ways of Voluntarily Serving the Muslim Community by the Private Schools’ Administrators in Songkhla Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ซาฝีอี อาดำ ทิชากรณ์ จินดา Faculty of Islamic Sciences คณะวิทยาการอิสลาม |
คำสำคัญ: | ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สงขลา |
วันที่เผยแพร่: | 2022 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The objectives of this research are 1) to study the meaning and structure of Thai Muslim Community, 2) to study the voluntary serving of community in general as well as Islamic views, and 3) to study ways of voluntarily serving the Muslim community by the Private Schools’ Administrators in Songkhla Province. The study uses questionnaire and interview as research tools, collects data from primary, secondary and tertiary sources, and by Administrators of 48 Private Schools’ in Songkhla Province. The study resulted in finding that; 1) The Thai Muslim community is a group of people living together in Thailand, having interaction and social communication through way of life, cultures, traditions and customs, and being a community with its own identity different from all others clearly identified by its adhering to the Holy Quran and the Sunnah as its way of practice. The structure of the community consists of 5 elements, namely (1) faith of belief, (2) social leadership, (3) Social institution, (4) social occasions, and (5) cultural values, 2) The voluntarily serving of community both in general and Islamic views are similar covering helping others individually or collectively in form of property, labor, and intellect including time to gain profits, solve problems or to develop for goodness sake. The Islamic voluntary way differs from the non-Islamic one in that all dimensions of Islamic practices are based on the principles of belief and divine commandments. The study of Islamic teachings in the Holy Quran, the Sunnah and views of Muslim scholars and sags of various ages found that the Islamic ways of voluntarily serving community are 16 which include (1) being Imam in prayer, (2) calling for prayer, (3) serving Mosque, (4) teaching the holy Quran and other sciences, (5) teaching others to invent produces, (6) alms giving, (7) expenditure for family ( ا ن فاق ), (8) mediation to solve conflicts, (9) advocating good and forbidding evil, (10) helping the needy and the poor, (11) helping the distressed, (12) Riding ways off hindrances (13)teaching the mentally retarded, (14) supporting the treatment of the deaf, (15) helping the blind to cross paths, and (16) doing good to both livestocks and wild animals, 3) The analysis of behavior, motivator, and Islamic ways of voluntarily serving the Muslim community by the Private Schools’ administrators in Songkhla Province found that the voluntary behavior and motivation of the Private Schools’ administrators in Songkhla Province is at much level while as a whole the voluntarily serving of the Muslim community by the Private Schools’ administrators in Songkhla Province is at moderate level. The highest percentage average of the voluntary serving is that which related to advocating good and forbidding evil, and 4) the Islamic ways of voluntarily serving the Muslim community by the Private Schools’ administrators in Songkhla Province are found that they are of 3 ways, namely (1) the Islamic way of voluntarily serving the Muslim community in form of action or practice, (2) the Islamic way of voluntarily serving the Muslim community in form of management, and (3) the Islamic way of voluntarily serving the Muslim community in form of education. |
Abstract(Thai): | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมายและโครงสร้างสังคมไทยมุสลิม 2) ศึกษาการให้บริการสังคมเชิงจิตอาสาในทัศนะทั่วไปและอิสลาม และ3) ศึกษาแนวทางการให้บริการสังคมมุสลิมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดสงขลา โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเพื่อการวิจัย เก็บข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ และผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา จำนวน 48 โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1. สังคมไทยมุสลิมคือกลุ่มคนที่รวมตัวกันในประเทศไทย มีการปฏิสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสารทางสังคมระหว่างกันผ่านวิถีชีวิต วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณีปฏิบัติ เป็นสังคมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ต่างจากสังคมอื่นๆ ซึ่งเห็นได้จากกฎระเบียบปฏิบัติที่ยึดถืออัลกุรอานและอัสสุนนะฮฺเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยมีโครงสร้างสังคมประกอบด้วย 5 ประการ คือ 1) หลักการยึดมั่นหรือความเชื่อ 2) ผู้นำทางสังคม 3) สถาบันทางสังคม 4) วาระทางสังคม และ 5) วัฒนธรรมค่านิยม 2. การให้บริการสังคมเชิงจิตอาสาในทัศนะทั่วไปและอิสลามมีความเหมือนกันคือการเสียสละ การให้ความช่วยเหลือทั้งในส่วนของทรัพย์ แรงกาย แรงสมอง แม้กระทั่งเวลาที่ตนมีให้กับบุคคลหรือกลุ่มคนเพื่อให้ได้รับประโยชน์ ได้รับการแก้ปัญหา หรือเพื่อการพัฒนาโดยไม่หวังผลตอบแทน สำหรับความต่างของการให้บริการเชิงจิตอาสาอิสลามจากทัศนะทั่วไปคือ ทุกมิติในวิถีปฏิบัติของอิสลามจะใช้หลักความเชื่อและบทบัญญัติแห่งพระผู้เป็นเจ้า และจากการศึกษาหลักคำสอนอิสลามในคัมภัร์อัลกุรอาน อัสสุนนะฮฺ และทัศนะนักปราชญ์และวิชาการมุสลิมในยุคต่างๆ พบว่าแนวทางการให้บริการสังคมเชิงจิตอาสาตามแบบอิสลามมี 16 ประการ ได้แก่ 1) การเป็นอิหม่ามละหมาด 2) การอะซาน 3) การบริการมัสยิด 4) การสอนคัมภีร์อัลกุรอานและศาสตร์ต่าง ๆ 5) การสอนคนที่ไม่รู้ผลิตสิ่งของ 6) การบริจาคทาน 7) การเลี้ยงดู ( انفاق ) 8) การสร้างความปรองดองระหว่างมนุษย์ 9) การใช้ให้ทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว 10) การช่วยเหลือคนขัดสนยากจน 11) การช่วยเหลือคนทุกข์ 12) การขจัดสิ่งกีดขวางออกจากถนน 13) การช่วยรักษาคน หูหนวกให้เป็นปกติ 14) การอธิบายให้คนปัญญาอ่อนเข้าใจ 15) การนำทางคนตาบอด และ 16) การทำความดีต่อปศุสัตว์และบรรดาสัตว์ทั่วไป 3. ผลการวิเคราะห์พฤติกรรม แรงจูงใจ และการให้บริการสังคมมุสลิมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา พบว่า พฤติกรรมและ แรงจูงใจจิตอาสาของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง สำหรับการให้บริการสังคมมุสลิมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การให้บริการสังคมเชิงจิตอาสาโดยการใช้ให้ทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว 4. แนวทางการให้บริการสังคมมุสลิมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา พบว่า แนวทางการให้บริการสังคมมุสลิมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลามี 3 รูปแบบ คือ 1) แนวทางการให้บริการสังคมมุสลิมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามในรูปแบบการกระทำหรือการปฏิบัติ 2) แนวทางการให้บริการสังคมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามในรูปแบบการบริหารจัดการ และ 3) แนวทางการให้บริการสังคมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามในรูปแบบการให้ความรู้ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (อิสลามศึกษาและมุสลิมศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18065 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 761 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
6220430004.pdf | Thichakorn Jinda | 7.85 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License