กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18051
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงทางจุลพยาธิวิทยาของกล้ามเนื้อหัวใจ ไต ตับ และกล้ามเนื้อลาย หลังการรับพิษจากงูกะปะ งูแก้วหางแดง และงูจงอาง ในหนูขาว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Histopathological Change of Cardiac Muscle, Kidney, Liver and Skeletal Muscle Following Envenomation by Calloselasma rhodostoma (Malayan Pit Viper), Trimeresurus hageni (Hargen Pit Viper) and Ophiophagus hannah (King Cobra) in Rats
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิภาพรรณ ขิมมากทอง
นิศรา หล่อทอง
Faculty of Science (Anatomy)
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
คำสำคัญ: งูกัด;กล้ามเนื้อหัวใจ ไต ตับ กล้ามเนื้อลาย;จุลพยาธิวิทยา;งูจงอาง;งูแก้วหางแดง;งูกะปะ;พิษงู
วันที่เผยแพร่: 2021
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: Snakebite envenoming is a cause of death and disability in many tropical countries worldwild. Toxic proteins in snake venom induce a number of clinical outcomes, such as neurotoxicity, cardiotoxicity, and cytotoxicity. The objective of this study was to determine histopathological changes of cardiac muscle, kidney, liver, and skeletal muscle following the administration of Calloselasma rhodostoma venom (CRV), Trimeresurus hageni venom (THV), and Ophiophagus hannah venom (OHV). Intravenous administration (IV) of CRV (dose 1000 µg/kg) or THV (dose 800 µg/kg) significantly reduced the mean arterial pressure (MAP) and eventually killed envenomed rats within 15 seconds. Change in MAP was not observed following administration of OHV (1000 µg/kg; IV) compared with that of vehicle control. Intramuscular (IM) administration of CRV (dose 500 µg/kg) or THV (dose 1200 µg/kg) or OHV (dose 1000 µg/kg). Caused congestion of renal tubule and segmental artery, including glomerulus atrophy. Venoms also induced congestion of hepatic central vein, portal triad, and sinusoid. Moreover, inflammatory cells and Kupffer cells were also detected throughout liver tissues. In envenomed heart tissues, we found that 3 snake venoms generated rupture of cardiac myofibers. The presence of skeletal muscle damage was observed following administration of OHV (dose 1000 µg/kg; IM). However, neither CRV or THV displayed myotoxicity in experimentally envenomed rats. This finding concludes that venom coponents associated with cardiotoxicity in CRV and THV are responsible for patological changes of kidney, liver and cardiac tissues. These toxic compounds are likely to be absence in King cobra venom (OHV).
Abstract(Thai): การถูกงูกัดเป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตและพิการในประเทศเขตร้อนทั่วโลก โดยโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบในพิษงูมีบทบาทในการเหนี่ยวนำอาการแสดงที่พบในผู้ป่วยหลังถูกงูกัด ได้แก่ พิษต่อระบบประสาท พิษต่อระบบไหลเวียนโลหิต พิษต่อเซลล์และเนื้อเยื่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางจุลพยาธิวิทยาของกล้ามเนื้อหัวใจ ไต ตับ และกล้ามเนื้อลายในหนูขาวที่ได้รับการฉีดพิษงูกะปะ (Calloselasma rhodostoma venom; CRV) พิษงูแก้วหางแดง (Trimeresurus hageni venom; THV) และพิษงูจงอาง (Ophiophagus hannah venom; OHV) การฉีดพิษงูทางหลอดเลือดดำในหนูขาวที่หมดสติ พบว่า พิษของงูกะปะและงูแก้วหางแดงมีผลลดค่าความดันเลือดแดงเฉลี่ย ภายใน 15 วินาที ในขณะที่การฉีดพิษงูจงอางไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความดันเลือดแดงเฉลี่ยเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการฉีดน้ำเกลือ การศึกษาจุลพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อไตหลังการฉีดพิษงูกะปะ (500 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม), พิษงูแก้วหางแดง (1200 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม) และ พิษงูจงอาง (1000 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม) ทางกล้ามเนื้อ พบการคั่งของเลือดภายใน renal tubule, glomerulus และ segmental artery รวมถึงการฝ่อลีบของ glomerulus ส่วนเนื้อเยื่อตับพบการคั่งของเลือดที่ central vein, portal triad และ sinusoid อีกทั้งยังพบ inflammatory cell และ Kupffer cells กระจายเป็นบริเวณกว้าง ในกล้ามเนื้อหัวใจพบว่าพิษงูทั้ง 3 ชนิดสามารถทำให้เกิด rupture ของ cardiac myofibers ได้ อย่างไรก็ตาม พิษงูกะปะ และพิษงูแก้วหางแดงไม่มีผลเหนี่ยวนำการเกิดพิษต่อกล้ามเนื้อลายที่ชัดเจน โดยแตกต่างจากพิษงูจงอาง (1000 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม) ที่เหนี่ยวนำการเกิดพิษต่อกล้ามเนื้อลายได้ การศึกษาครั้งนี้พบว่า พิษงูกะปะและพิษงูแก้วหางแดงที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นพิษต่อระบบไหลเวียนโลหิต สามารถเหนี่ยวนำการเกิดพยาธิสภาพในเนื้อเยื่อไต ตับ และกล้ามเนื้อหัวใจ มากกว่าพิษของงูจงอางที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นพิษต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
รายละเอียด: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (กายวิภาคศาสตร์), 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18051
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:320 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6210220014.pdf6.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons