กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17984
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาฤทธิ์บรรเทาอาการถอนของสารสกัดกระท่อมในโมเดลหนูทดลองที่ชักนำให้เสพติด 3,4 methylenedioxy methamphetamine |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of extracted from kratom (Mitragyna speciosa (Korth.)Havil) reduced of withdrawal symptoms in MDMA-induced mice model |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อุราพร วงศ์วัชรานนท์ กมลธร จินดาละออง Faculty of Science (Anatomy) คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ |
คำสำคัญ: | MDMA-induced;Kratom;behavior test;กระท่อม (พืช);หนู กายวิภาค;หนู การทดลอง;สารสกัด;แมทแอมฟิตะมิน;ยาอี |
วันที่เผยแพร่: | 2021 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | 3,4-methylenedioxy-methamphetamine (MDMA), commonly known as E in Thailand, which is a derivative of amphetamine, which is populary known and widely used. MDMA works by acting as a stimulant and hallucinogen that producing of pleasure, emotional, increase energy and body temperature. Long-term MDMA addiction can destruction of brain cells, impaired memory and anxiety. Few studies examine the long-lasting effect of behavioral phenotype associated with MDMA. This study aimed to investigate the effects of extracted from kratom (Mitragyna speciosa (Korth.) Havil) reduced of withdrawal symptoms in MDMA-induced mice model. Male Swiss albino ICR mice were randomly divided into 3 group: control group, MDMA treated group (MDMA) (10 mg/kg) and MDMA treated with Kratom (kratom+E). After 5 days mice were withdrawn with saline and fed distilled water in control and MDMA group. kratom+E group treated with 80 mg/kg kratom extracted for 5 days. Mice were divided 8 in each group. The experimental was approximately 3 weeks. Drug was administered intraperitoneally once a day at 9.00 a.m. Withdrawal symptoms were observed and anxiety-like behavioral tests were performed. The open field test (OFT) showed no significant difference between the groups, Tail suspension test (TST) and forced swimming test (FST) found that resulted in significantly increase immobility time in mice (p<0.05) and elevated plus maze were found that after taking kratom extract tends to increase open-arm duration, spontaneous memory test using y-maze that found kratom has significantly increased short-term effect (p<0.01). In conclusion, the kratom extracted might be useful to apply and alternative to alleviating the withdrawal symptoms associated with MDMA addiction. |
Abstract(Thai): | MDMA หรือมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า 3,4-methylenedioxy-methamphetamine ในไทยเรียกว่ายาอี ซึ่งย่อมาจาก “เอ็กซ์ตาซี่” (ecstasy) ซึ่งเป็นสารอนุพันธ์ของแอมเฟตามีน เป็นที่ นิยมเป็นอย่างมากและมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดย MDMA มีหลักการทำงานโดยออกฤทธิ์กระตุ้น ประสาทและหลอนประสาท โดยทั่วไปเมื่อร่างกายได้รับ MDMA จะส่งผลให้เกิดอาการเหงื่อออก กระสับกระส่าย มีความสุข มีความต้องการทางเพศ อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น แต่เมื่อได้รับยาเป็นระยะ เวลานานส่งผลให้เกิดการเสพติดจนอาจเกิดการทำลายของเซลล์สมอง มีความบกพร่องในความจำ การตัดสินใจ บกพร่องในการเรียนรู้ ซึมเศร้าและอาการวิตกกังวลได้ และพบว่ามีการศึกษาเพียงไม่กี่ ชิ้นที่ตรวจสอบผลกระทบจากการใช้ยาเป็นระยะเวลาที่นานและพฤติกรรมที่เกิดจากการใช้ยา ดังนั้น การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์บรรเทาอาการถอนของสารสกัดกระท่อมในโมเดลหนูทดลองที่ เหนี่ยวนำให้มีการเสพติด MDMA โดยทำการศึกษาในกลุ่มหนูทดลองสายพันธุ์ ICR เพศผู้โดยกลุ่ม การทดลองถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ หนูกลุ่มควบคุม (control), กลุ่มติดสารเสพติด (MDMA), กลุ่มติดสารเสพติดที่ให้สารสกัดกระท่อม (kratom+E) ให้ MDMA 10 mg/kg ระยะเวลา 5 วัน ติดต่อกัน และวันที่6 หนูได้รับการถอนด้วยน้ำเกลือและป้อนน้ำกลั่นในกลุ่ม นะพนส,กลุ่ม E และใน กลุ่ม (Kratom+E) ถอนด้วยกระท่อม 80 mg/kg เป็นเวลา 5 วันและป้อนน้ำกลั่น แบ่งหนูออกเป็น กลุ่มละ 8 ตัว ทดลองเป็นระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ บริหารยาทางช่องท้องวันละ 1 ครั้งเวลา 09.00 น. สังเกตอาการถอนและทำการทดสอบพฤติกรรมคล้ายอาการวิตกกังวลโดยใช้ open field test พบว่าระหว่างกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ, การทดลอง tail suspension test และ forced swimming test พบว่ากระท่อมสามารถส่งผลให้หนูมีค่า immobility time ที่เพิ่มมาก ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05), และ elevated plus maze พบว่าภายหลังจากได้รับสารสกัดจาก กระท่อม มีแนวโน้มที่จะเพิ่มผล open-arm duration, ทดสอบ spontaneous memory โดยใช้ ymaze test ผลคือกระท่อมมีผลช่วยให้หนูมีความจำระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (0.01) ดังนั้น กระท่อมอาจจะเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการช่วยบรรเทาอาการถอนที่เกิดจากการติดยา MDMA ได |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (กายวิภาคศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17984 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 320 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
6210220002.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License