Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17978
Title: การศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศโดยการบริหารจัดการแบบ ร่วมมือกันอย่างยั่งยืนในพื้นที่หมู่ 11 ตำบลคลองแห จังหวัดสงขลา
Other Titles: A Study of Sustainable Air Pollution Solutions by Collaborative Governance in the Area of Moo 11, Khlong Hae Subdistrict, Songkhla Province
Authors: สมพร คุณวิชิต
สิรนุช เสียมไหม
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
Keywords: การบริหารจัดการแบบร่วมมือกัน;ความร่วมมือ;ความยั่งยืน;มลพิษทางอากาศ;จังหวัดสงขลา;Collaborative Governance;Collaboration;Sustainability;Air Pollution;Songkhla
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The purpose of this research is to 1) investigate air pollution issues in the village of Moo 11, Khlong Hae Subdistrict, Songkhla Province; 2) examine obstacles that have hampered previous attempts to solve these problems; and 3) propose future solutions through collaborative management. The qualitative research methods were employed. Document research, in-depth interviews, and focus group discussions were used to collect data. The key informants for this study are 25 people from different sectors in the areas, including the municipality, community, civil society organization, and manufacturing companies. Data source triangulation was used to validate the data, which were then analyzed using content analysis methods. The following are the study's findings. 1) The major sources of air pollution in this village are dust from the factories in the area, dust from trucks that blow into residences, and health problems caused by the dust. 2) There is currently no formal, collaborative, or proactive mechanism in place to address this issue. 3) This study also reveals that there are some impediments to previous attempts to solve the problems. These include a lack of a dust spreading prevention system in construction companies, climate variability, a lack of public participation due to fear of influential people in the area, a lack of seriousness on the part of village leaders to solve the problem, a lack of concern for people's health in construction companies, and a lack of experts in air pollution in the municipality. 4) In order to improve the management of air pollution in this community, researchers collaborated with residents and stakeholders to develop a mechanism, communication, and process for problem solving based on a collaborative approach. Setting up a four-party committee to monitor the air pollution situation, assigning clear responsibilities and authority to each party, creating a communication channel for this committee using Application Line, and establishing procedures for incident notification, warning the people, and monitoring the progress of problem solving are all part of this.
Abstract(Thai): การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่หมู่ 11 ตำบลคลองแห จังหวัดสงขลา และการบริหารจัดการปัญหามลพิษทางอากาศในปัจจุบัน 2) ศึกษาปัญหา/อุปสรรคในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่ผ่านมา และ 3) เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศโดยการบริหารจัดการแบบร่วมมือกันอย่างยั่งยืน ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 25 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากเทศบาลเมืองคลองแห ชุมชน หน่วยงานภาคประชาสังคม/อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และภาคเอกชน (โรงงานอุตสาหกรรม) ในพื้นที่ ตรวจข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษามีดังต่อไปนี้ 1) สภาพปัญหามลพิษทางอากาศที่พบในพื้นที่ ได้แก่ ปัญหาฝุ่นละอองที่ปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ปัญหาฝุ่นละอองจากรถบรรทุก ปัญหาฝุ่นละอองเข้าบ้านเรือนของประชาชน และปัญหาต่อสุขภาพ 2) การบริหารจัดการปัญหามลพิษทางอากาศในปัจจุบัน พบว่า ในชุมชนไม่มีการบริหารจัดการแบบร่วมมือกันที่เป็นทางการหรือเป็นระบบและในเชิงป้องกันมาก่อน 3) ปัญหา/อุปสรรคในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่พบในพื้นที่ ได้แก่ ขาดสิ่งป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองจากโรงงานอุตสาหกรรม สภาพลมฟ้าอากาศที่แปรปรวน ประชาชนไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวเพราะเกรงกลัวอิทธิพลของคนในพื้นที่ ประชาชนขาดความรู้ ผู้นำชุมชนขาดความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ผู้ประกอบการขาดความใส่ใจต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และเทศบาลขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการดูแลมลพิษทางอากาศ 4) ข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา พบว่า ประชาชนในพื้นที่ต้องการให้มีการยกระดับการแก้ปัญหาโดยภาครัฐและต้องการให้มีการเพิ่มมาตรการป้องกันแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองจากทางโรงงานอุตสาหกรรม พัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในชุมชน และภาครัฐควรส่งเสริมการป้องกันดูแลตนเองของประชาชน จากปัญหาและความต้องการของชุมชนได้นำมาสู่การพัฒนากลไกการบริหารจัดการแบบร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่ คือ การแต่งตั้งคณะกรรมการในการติดตามฝุ่นละออง 4 ฝ่าย (ภาครัฐ-ชุมชน-ภาคประชาสังคม-และภาคเอกชน) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการเฝ้าระวัง ติดตาม และแก้ไขสถานการณ์ฝุ่นละอองร่วมกัน รวมทั้งมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการที่ชัดเจน มีการพัฒนาช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน (ไลน์กลุ่มเฝ้าระวังฝุ่นละอองของชุมชนหมู่ 11) และกำหนดกระบวนการในการแจ้งเหตุ เตือนภัย และติดตามความคืบหน้าในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
Description: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17978
Appears in Collections:465 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6410521539.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
6410521539 Article.pdfบทความวิจัย551.27 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons