กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17941
ชื่อเรื่อง: การวัดปริมาณยางแห้งด้วยวงจรหกพอร์ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Dry Rubber Content Measurement Using A Six-Port Circuit
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มิตรชัย จงเชี่ยวชำนาญ
ศรัณย์ ตันติวิชช์
Faculty of Engineering Electrical Engineering
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คำสำคัญ: Dry rubber content (%DRC);The six-port reflectometer technique (SPR);The Neural Network technique;Bayesian Regularization algorithm (BRA);Levenberg-Marquardt algorithm (LMA);Scaled Conjugate Gradient (SCG);โครงข่ายประสาทเทียม
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: A development of a mathematical model for measuring dry rubber content (%DRC) based on reflected waves collected from a six-port reflectometer technique (SPR) is presented. The conventional model was developed based on single frequency reflected-wave datasets. Instead, this thesis proposes a model using reflected powers obtained from three frequencies (1, 1.5, and 2.16 GHz). Several dilute concentrate latex samples of 20-60 %DRC were prepared and the reflected powers were measured using the fabricated SPR. To develop the temperature-independent model, several latex samples from 20-45°C were prepared to measure reflected powers. The reflection powers are converted to DC voltages, digitized, and stored in the microcontroller embedded in the SPR. These datasets are split into three subsets for training, validating, and testing. Three neural algorithms; The Bayesian Regularization algorithm (BRA), The Levenberg-Marquardt algorithm (LMA), and The Scaled Conjugate Gradient (SCG); are applied as a learning tool for developing the models. It is found that the model uses three-frequency datasets and trained by the BRA algorithm is the best model among others. Compared with the true DRC datasets, the least mean square error (MSE) and the correlation coefficient (R) of the model are 0.1264 and 0.9997, respectively.
Abstract(Thai): งานวิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับทำนายเปอร์เซ็นต์ของปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยาง (%DRC) ของเทคนิคการวัดค่ากำลังงานสะท้อนของตัวอย่างน้ำยางด้วยวงจรหกพอร์ต (SPR) จากเดิมที่ใช้ข้อมูลกำลังสะท้อนกลับความถี่ 1 GHz ความถี่เดียว วิทยานิพนธ์จะศึกษาการพัฒนาแบบจำลองจากชุดข้อมูลกำลังงานคลื่นสะท้อน 3 ความถี่ได้แก่ 1 GHz , 1.5 GHz และ 2.16 GHz ในการพัฒนาแบบจำลอง ผู้วิจัยจะทดลองกับน้ำยางข้นเจือจางในช่วงค่า 20 – 60 %DRC และ ทุกค่า %DRC ที่นำมาทดสอบ จะปรับค่าอุณหภูมิของน้ำยางในช่วง 20-45 °C ค่ากำลังงานสะท้อนที่ได้จากการวัดจะถูกแปลงเป็นค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อใช้เป็นชุดข้อมูลสำหรับพัฒนาแบบจำลองทำนายค่า %DRC ด้วยเทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม ในวิทยานิพนธ์นี้ได้พัฒนาแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมด้วยอัลกอริทึม 3 อัลกอริทึม ได้แก่ Bayesian Regularization algorithm (BRA), Levenberg-Marquardt algorithm (LMA) และ Scaled Conjugate Gradient (SCG) จากผลการพัฒนาแบบจำลองพบว่า แบบจำลองที่พัฒนาด้วยอัลกอริทึม BRA กับชุดข้อมูลกำลังงานคลื่นสะท้อนทั้ง 3 ค่าความถี่ จะสามารถทำนาย %DRC ที่มีค่าความผิดพลาดกำลังสอง (MSE) ต่ำสุดเท่ากับ 0.1264 ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) กับข้อมูลค่า DRC แท้จริงของน้ำยางข้นเท่ากับ 0.9997
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. (วิศวกรรมไฟฟ้า))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17941
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:210 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6210120011.pdf2.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons