กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17894
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวาทกรรมปัญหาสิ่งแวดล้อมจากพาดหัวข่าวออนไลน์ ในปี พ.ศ. 2562 ถึงปี พ.ศ. 2563
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Relationship between Language and Discourse about Environmental Problems in Online news headlines between 2019 and 2020
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณฐ อังศุวิริยะ
กฤษฎา กันติชล
Faculty of Liberal Arts (Languages and Linguistics)
คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์
คำสำคัญ: พาดหัวข่าวออนไลน์ วาทกรรมปัญหาสิ่งแวดล้อม;วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์;การใช้ภาษาไทย;ภาษาไทย คำและวลี
วันที่เผยแพร่: 2021
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This thesis aims to study the relationship between language and environmental problem discourse from online headlines during 2019-2020. The data used in the study consisted of online headlines on environmental problems from five news agencies, namely, Thai PBS, Thairath, Prachatai, Daily News and Matichon. The data were collected in the period of two years of 2019-2020. The theory of critical analysis discourse was applied as a guideline for the study. According to the study results of the subject characteristics that presented environmental news, it revealed that the online headlines used four language using strategies including 1) The vocabulary selection strategy: The uses of vocabularies were divided into five types namely the uses of name and alias, kinship representation, animal names, verbs and quantifiers. 2) The sentence structure strategy: The uses of question sentences were divided into two types namely the uses of question sentences for censure and recourse. 3) The pragmatics strategy: The uses of referrals, verbal irony, modality, postulate or presupposition, and conversational implicature. 4) The metaphor strategy: It could be found the conceptual metaphor that compared problems of environment and animals in three aspects including the conceptual metaphors that compared environmental problems as an enemy, an object and animals in the ecosystem as a human. Additionally, it was found that the different language using strategies that from online headlines regarding environmental problems reflected data sets or concepts about environmental problems as the consequences from human actions. From the practical study on discourse, it was found out that the language presented through online environmental news agencies on environmental issues was directly related to media institutions. Therefore, the uses of the language in presenting news had the purposes arise from the editorial departments as staff members and personnel of institutions or media organizations who were function of selecting, adapting and adding various texts used in the news presentation in order to make the news interesting to readers or audiences and be careful in presenting news relating to government agencies or organizations. For social and cultural practices, there were various discourses reflected in the uses of languages, such as cultivating ideas or environmental knowledge through textbooks, laws and government policies in order to enable everyone to understand that environmental problems caused from actions of human, which means the general public. The cultivation of the fundamental knowledge on environmental problems that has finally led to comes to news presentations is the reinforcement of the idea of managing environmental problems as human-caused problems. Heretofore, it became an ideology that represents humans as the main cause or factor that destroy the environment. The human here from the news presentations is the general public or people who are reading the news. While those who solve environmental problems are government agencies. Such power relations reflected problems and solutions that led to a thought reflection on environmental problems for those who read the online news.
Abstract(Thai): วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวาทกรรมปัญหาสิ่งแวดล้อมจากพาดหัวข่าวออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2563 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยพาดหัวข่าวออนไลน์ด้านสิ่งแวดล้อมจากสำนักข่าวออนไลน์ 5 สำนักข่าว ได้แก่ สำนักข่าวไทยพีบีเอส สำนักข่าวไทยรัฐ สำนักข่าวประชาไท สำนักข่าวเดลินิวส์ และสำนักข่าวมติชน ซึ่งเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 2 ปี คือ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2563 โดยใช้ทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์มาเป็นแนวทางในการศึกษา ผลการศึกษาลักษณะตัวบทที่นำเสนอข่าวเกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า พาดหัวข่าวใช้กลวิธีทางภาษาในการนำเสนอข่าว 4 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีการเลือกใช้คำศัพท์พบการใช้ภาษาแบ่งออกเป็น 5 ประเภท อาทิ การใช้คำเรียก การใช้คำแสดงความเป็นเครือญาติ การใช้คำเรียกสัตว์ การใช้คำกริยา และการใช้คำบอกปริมาณ กลวิธีโครงสร้างประโยคพบการใช้ประโยคคำถามแบ่งออกเป็น 2 ประเภท เช่น การใช้ประโยคคำถามเพื่อตำหนิ การใช้ประโยคคำถามเพื่อขอความช่วยเหลือ กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์พบการใช้ภาษาแบ่งออกเป็น 5 ประเภท อาทิ การอ้างถึง การใช้ถ้อยคำ นัยผกผัน การใช้คำแสดงทัศนภาวะ การใช้มูลบทหรือสภาวะเกิดก่อน การใช้ความหมายชี้บ่งเป็นนัย และกลวิธีอุปลักษณ์พบมโนอุปลักษณ์เพื่อเปรียบปัญหาสิ่งแวดล้อมและสัตว์ออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ มโนอุปลักษณ์เปรียบปัญหาสิ่งแวดล้อมคือศัตรูคู่ต่อสู้ มโนอุปลักษณ์เปรียบปัญหาสิ่งแวดล้อมคือสิ่งของ และมโนอุปลักษณ์เปรียบสัตว์ในระบบนิเวศคือมนุษย์ โดยพบว่ากลวิธีทางภาษาต่าง ๆ ที่ปรากฏจากพาดหัวข่าวออนไลน์ด้านสิ่งแวดล้อมสะท้อนให้เห็นถึงชุดข้อมูลหรือแนวความคิดเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมว่ามาจากการกระทำของมนุษย์ ผลการศึกษาภาคปฏิบัติทางวาทกรรม พบว่า ภาษาที่ถูกนำเสนอผ่านสำนักข่าวออนไลน์ด้านสิ่งแวดล้อมมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันสื่อโดยตรง การใช้ภาษาในการนำเสนอข่าวจึงมีจุดมุ่งหมายที่มาจากกองบรรณาธิการในฐานะคณะผู้ทำงานและเป็นบุคคลากรของสถาบันหรือองค์กรสื่อ ซึ่งทำหน้าที่ คัดสรร ดัดแปลง เพิ่มเสริมข้อความต่าง ๆ ที่ใช้ในการนำเสนอข่าว เพื่อให้ข่าวมีความน่าสนใจกับผู้อ่านหรือผู้รับสารและระมัดระวังในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวกับหน่วยงานหรือองค์รของรัฐ ขณะที่ภาคปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรม ได้พบ ชุดความคิดต่าง ๆ ที่สะท้อนจากการใช้ภาษา ได้แก่ การปลูกฝังความคิดหรือความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมผ่านตำราเรียน กฎหมาย นโยบายรัฐ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมมาจากการกระทำของมนุษย์ซึ่งหมายถึงประชาชนทั่วไป การปลูกฝังความรู้พื้นฐานด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมจนมาสู่การนำเสนอข่าว เป็นการตอกย้ำความคิดในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมว่าเป็นปัญหาที่มาจากมนุษย์ จนเกิดเป็นอุดมการณ์ที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์คือสาเหตุหรือตัวการสำคัญที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งมนุษย์ในที่นี้จากการนำเสนอข่าวคือประชาชนทั่วไปหรือผู้ที่กำลังอ่านข่าว ขณะที่ผู้ที่คอยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมคือหน่วยงานของรัฐ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหา จนนำมาสู่ภาพสะท้อนทางความคิดประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับผู้คนที่ได้อ่านข่าวออนไลน์
รายละเอียด: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทยและภาษาไทยประยุกต์), 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17894
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:890 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6211120004.pdf8.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons