กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17837
ชื่อเรื่อง: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษารางวัลพระราชทานกับกลยุทธ์การจัดการความขัดแย้ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Transformational Leadership among Administrators of Royal Award Educational Institutions in Conflict Management Strategies
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฤๅชุตา เทพยากุล
ฐิติพร จุ้ยจำนงค์
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
คำสำคัญ: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง;กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้ง;ภาวะผู้นำทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The purpose of this research were to 1) study the transformational leadership among administration of Royal Award Educational Institutions, 2) to study the conflict management of Royal Award Educational Institutions, and 3) to study the moderation of psychological capital between transformational leadership among the Educational Institutions and the conflict management. By using mixed method with embedded design which is the qualitative sub-research utilized in-dept-interview under the main quantitative research deploying quesiontionnaires to collect the data. The respondents of this analysis consist of 242 administrators from Royal Award Educational Institutions in 2016 from five levels of education: pre-elementary level, elementary level, high school level, vocational certificate, and vocational diploma. The in-depth-interview is employed for ten administrators (two interviewees for each level of education). The results found that 1) the overall level of the transformational leadership is high at (x ̅ = 4.36, S.D. = .534) 2) the overall conflict management is high at (x ̅ = 3.81, S.D. = .638) 3) the moderation of psychological capital is with relationships statistically significance at 0.01.
Abstract(Thai): ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษารางวัลพระราชทานกับกลยุทธ์การจัดการความขัดแย้ง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษารางวัลพระราชทาน 2) เพื่อศึกษาระดับกลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษารางวัลพระราชทาน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับกลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม แบบรองรับภายใน (Embedded Design) เป็นการวิจัยที่มีการวิจัยย่อยเป็นเชิงคุณภาพภายในการวิจัยหลักเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลเชิงประมาณโดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานในปี พ.ศ.2559 ทั้ง 5 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา และระดับวิชาชีพ จำนวน 242 คน และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูล ผู้บริหารสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานในปี พ.ศ.2559 ทั้ง 5 ระดับ ระดับละ 2 คน จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.36, S.D. = .534) 2) ระดับกลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.81, S.D. = .638) 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับกลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
รายละเอียด: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17837
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:465 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
5910520507.pdf2.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons