กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17701
ชื่อเรื่อง: | ทักษะทางการเงินกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร กรณีศึกษาจังหวัดตรัง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effect of financial literacy on quality of life in Trang provnce รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ ทักษะทางการเงินกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร กรณีศึกษาจังหวัดตรัง |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ดลินา อมรเหมานนท์ แสงอรุณ อิสระมาลัย Faculty of Commerce and Management คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ |
คำสำคัญ: | การเงิน;ความรอบรู้ทางการเงิน;ทักษะชีวิต |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract(Thai): | การสำรวจทักษะทางการเงินของคนในหลายประเทศทั่วโลกพบว่าระดับทักษะทางการเงินอยู่ในเกณฑ์ต่ำเช่นเดียวกันกับการสำรวจทักษะทางการเงินของคนไทยโดย OECD รวมถึงการสำรวจของธนาคารแห่ง ประเทศไทยร่วมกับส านักงานสถิติแห่งชาติ ก็ได้ผลไม่ขัดแย้งกัน ท าให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่าง ให้ความสำคัญที่จะเพิ่มทักษะทางการเงินของคนในชาติ เนื่องจากรู้ถึงประโยชน์ของการมีทักษะทางการเงิน ที่ดีอันเป็นรากฐานสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาว่าระดับทักษะทางการเงินมี ผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรอย่างไร โดยพิจารณาจากองค์ประกอบหลักทั้งสามด้านของทักษะ ทางการเงิน คือ ความรู้ทางการเงิน ทัศนคติการใช้จ่ายเงิน และพฤติกรรมทางการเงิน โดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวกับประชากรจังหวัดตรัง ผลการศึกษาจากการประยุกต์ KAP Model โดยใช้ Structural Equation Model (SEM) พบว่าระดับทักษะทางการเงินมีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล โดย ปัจจัยด้านพฤติกรรมทางการเงินมีผลต่อระดับทักษะทางการเงินมากที่สุดผ่านทางองค์ประกอบด้านทัศนคติ ทางการเงิน ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ คือความรู้ทางการเงินที่มีมากขึ้นไม่ได้ช่วยให้ บุคคลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นี่อาจเป็นเหตุผลว่าเพราะเหตุใดการส่งเสริมและผลักดันนโยบายให้ความรู้ ทางการเงินของภาครัฐในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยกลับไม่ได้มีผลท าให้ระดับทักษะทางการเงินของคนสูงขึ้น ดังนั้นหากต้องการยกระดับทักษะทางการเงิน ภาครัฐต้องมีความคาดหวังว่าเมื่อประชากรมีความรู้เข้าใจทางการเงินแล้ว บุคคลต้องปรับทัศนคติความเชื่อของตนจนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อีกทั้งต้องสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้จริงดังคำกล่าวที่ว่า “เรียนรู้จนเข้าถึง จึงนำไปใช้อย่างได้ผล” |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17701 https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/296500 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 942 Research |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น