Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17640
Title: บทบาทผู้นำศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมและชาวพุทธในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Authors: ปัญญา เทพสิงห์
Faculty of Liberal Arts (Educational Foundation)
คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาสารัตถศึกษา
Keywords: ผู้นำศาสนาอิสลาม;ผู้นำศาสนา;มุสลิม ไทย
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objectives of this study were to investigate: 1) influence of Islamic religious leaders and Buddhist religious leaders in terms of thought that affect the relationship between Muslims and Buddhists; 2) conditions affecting the roles of Islamic and Buddhist religious leaders in promoting relationship between Muslims and Buddhists; 3) the roles of Islamic and Buddhist religious leaders in promoting the relationship between Muslims and Buddhists; and 4) guidelines for promoting religious leaders who have influence on the relationship between Muslims and Buddhists in the three Southern border provinces. This multiple case study was conducted in 12 communities using qualitive research methods collecting data from documents and the field through focus group discussion, observation and in-depth interviews. The target groups consisted of 41 Buddhist religious leaders, 38 Islamic religious leaders, 43 Buddhists, 48 Muslims, and 25 government officers totaling 195 informants. Data were validated using triangulation and concluded using descriptive analysis. The results of the study regarding influence of religious leaders in terms of thought, that affected the relationship between Muslims and Buddhists were kindness towards others regardless of religion, social equality despite religious differences, unity as power towards peace and strength, knowledge and awareness developed to reduce bad attitude towards each other, and the unrest is not the cause of religious conflict. The conditions affecting the roles of Islamic and Buddhist religious leaders in promoting the relationship between Muslims and Buddhists were found to be the proportion of Muslim and Buddhist population, sharing the same history and awareness, individuality of religious leaders, statuses of Buddhist temples and social networks, support from the government sector, urbanization, ruralness and economy, background of relationship management of religious leaders, and communication and practice of media users. Regarding the roles of Islamic and Buddhist religious leaders in promoting the relationship between Muslims and Buddhists, the findings were as follows. As regards individuality, people visiting each other, giving help and exchanging and sharing knowledge. Concerning ceremonies, people participating in opening ceremonies of places and offices and in celebrating important persons. Socially, the roles of Buddhist religious leaders were organizing art and cultural activities, promoting education and religion, allocating temple compounds for periodic markets, home-visiting, and organizing rescue units. For islamic religious leaders, their roles were organizing forums for religious leaders, reforestation, developing the environment, participating in children's day, fairs, and in various committees. The roles that influenced the relationship most were the roles of Buddhist monks in helping Mustims concerning public health and other aspects. The guidelines for promoting religious leaders who have influence on relationship between Muslims and Buddhists were found to be regularly organizing activities participated by Islamic and Buddhist religious leaders, religious leaders consulting each other regarding the teaching direction and communicating it to all followers, selecting good quality and sincere government officers, screening persons to hold Islamic religious positions, estabishing a peace and justice institution, maintaining Buddhists' stability in the community, and creating multi-cultural curriculums at all levels. The positions of Islamic and Buddhist religious leaders do not only adhere to the designated roles but also have fluidity as needed in the situations, values, meanings and expectations. Appraising the actual roles depends on gains and losses resulting from certain behavior, and therefore, expectations among Muslims and Buddhists of Islamic and Buddhist leaders are not the same. Each multi-cultural area has its own specific context, and thus, the relationship system of one community could not be completely applied to another.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) อิทธิพลทางความคิดของผู้นำศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ ที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมกับชาวพุทธ 2) เงื่อนไขที่ส่งผลต่อบทบาทผู้นำศาสนา อิสลามและศาสนาพุทธ ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมกับชาวพุทธ 3) บทบาทผู้นำศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ ต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมกับชาวพุทธ และ 4) แนวทางส่งเสริมผู้นำศาสนาที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ ระหว่างชาวมุสลิมกับชาวพุทธในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศึกษาแบบพหุกรณี 12 ชุมชน โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสาร และ ภาคสนามโดยการสนทนากลุ่ม สังเกต สัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้นำศาสนาพุทธ 41 คน ผู้นำศาสนาอิสลาม 38 คน ชาวบ้านไทยพุทธ 43 คน ชาวมุสลิม 48 คน เจ้าหน้าที่รัฐ 25 คน รวม 195 คน นำข้อมูลมาตรวจสอบสามเส้า และสร้างบทสรุปด้วยการวิเคราะห์พรรณนา ผลการศึกษาอิทธิพลทางความคิดของผู้นำศาสนา ที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสสิมกับชาวพุทธ ได้แก่ ความคิดต้านความมีจิตเมตตาและกรุณาผู้อื่นโดยไม่เลือกศาสนา การสร้างความเท่าเทียมทางสังคมบนพื้นฐานความแตกต่างทางศาสนา การผสานใจสามัคคีเป็นพลังสู่ความสันติและความเข้มแข็ง ความรู้และจิตสำนึกต้องได้รับการพัฒนาเพื่อลตทัศนคติที่ไม่ดีต่อกัน สถานการณ์ความไม่สงบไม่ใช่มูลเหตุของความขัดแย้งทางศาสนา เงื่อนไขที่ส่งผลต่อบทบาทผู้นำศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างชาวมุสลิมกับชาวพุทธ ได้แก่ สัดส่วนประชากรชาวมุสลิมและชาวพุทธ การมีประวัติศาสตร์และจิตสำนึกร่วมกัน สักษณะทางปัจเจกของผู้นำศาสนา สถานะของวัดและเครือข่ายทางสังคม การสนับสนุนของภาครัฐ ความเป็นเมือง ชนบท และเศรษฐกิจ ภูมิหลังการจัดการความสัมพันธ์ของผู้นำศาสนา และการสื่อสารและปฏิบัติกาของผู้ใช้สื่อ บทบาทผู้นำศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ ต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิม กับชาวพุทธ ด้านปัจเจก ได้แก่ การไปมาหาสู่กัน เยี่ยมเยือน ทักทายการช่วยเหลือผู้อื่นส่วนตัว การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ความรู้ส่วนตัว ด้านพิธีการ ได้แก่ การร่วมพิธีเปิดป้าย หรือสำนักงาน และการ ร่วมพิธีฉลองบุคคลสำคัญ ด้านสังคมที่ผู้นำศาสนาพุทธมีบทบาทหลัก ได้แก่ การจัดกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม การส่งเสริมการศึกษาและศาสนา การจัดพื้นที่วัดเป็นตลาดนัด การออกเยี่ยมบ้าน การจัดตั้งหน่วยกู้ภัย ผู้นำศาสนาอิสลามมีบทบาทหลัก ได้แก่ การส่งเสริมการท่องเที่ยว การสงเคราะห์เด็กและเยาวชน รัฐหรือผู้นำชุมชนมีบทบาทหลัก ได้แก่ การจัดเวทีเสวนาผู้นำศาสนา การปลูกป่าพัฒนาสิ่งแวดล้อม การร่วมกิจกรรมวันเด็ก วันรื่นเริง การร่วมเป็นคณะกรรมการต่างๆ บทบาทที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่สุดคือ บทบาทต้านสาธารณะสงเคราะห์ การช่วยเหลือด้านต่างๆ ของพระสงฆ์ต่อชาวมุสลิม แนวทางส่งเสริมผู้นำศาสนา ที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมกับชาวพุทธ ได้แก่ จัดกิจกรรมมีผู้นำศาสนาอิสลามและพุทธเข้าร่วมสม่ำเสมอ ผู้นำศาสนาควรหารือในทิศทางการสอนควรสื่อสารให้ทั่วศาสนิก คัตเลือกเจ้าหน้าที่รัฐที่มีคุณภาพ จริงใจ คัดกรองผู้ดำรงตำแหน่งศาสนาอิสลาม จัดตั้งสถาบันสันติธรรม รักษาเสถียรภาพชาวพุทธในชุมชน สร้างหลักสูตรพหุวัฒนธรรมทุกระดับ ตำแหน่งผู้นำศาสนาอิสลามและพุทธมีได้ยืดบทบาทตามบัญญัติเท่านั้น แต่ยังเลือนไหลตามความจำเป็นของสถานการณ์ ค่านิยม การให้ความหมาย และความคาดหวัง การตีค่าบทบาทที่เป็นจริง อยู่ที่การมีส่วนได้ส่วนเสียกับพฤติกรรมนั้นๆ ความคาดหวังของมุสลิมและพุทธต่อผู้นำศาสนาอิสลามและพุทธจึงไม่เท่าเทียม ในสังคมพหุวัฒนธรรมแต่ละพื้นที่มีบริบทเฉพาะ การนำระบบความสัมพันธ์ในชุมชนหนึ่งไม่อาจนำไปใช้กับอีกชุมซนหนึ่งได้อย่างสมบูรณ์
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17640
Appears in Collections:895 Research

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.