กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17537
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน กรณีศึกษา อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Affecting Work Efficiency of Village Security Team: A Case Study of Si Sakhon District, Narathiwat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธัญรดี ทวีกาญจน์
สมยศ สำเภารัตน์
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
คำสำคัญ: การรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน;การปฏิบัติงาน
วันที่เผยแพร่: 2017
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objectives of this study were to investigate levels of: 1) work efficiency of the village security team; 2) motivational factors to join the village security team; 3) contributing factors of work performance of the village security team; and 4) factors affecting work performance. The subjects of this survey research were 290 members of village security teams in Si Sakhon District, Narathiwat Province. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, skewness, kurtosis, coefficient, and multiple regression analysis. The study found that the overall work performance of the village security team was at a high level (x,ˉ = 3.65, S.D. = 0.545); the overall motivational factor to join the village security team was at a high level (x,ˉ = 3.45, S.D. = 0 .463); the overall contributing factor of the village security team was at a high level (x,ˉ = 3.44, S.D. = 0.453); and the overall factor affecting work performance was also at a high level (x,ˉ = 3.45, S.D. = 0.408). When analyzing personal factors, motivational factors and contributing factors affecting work performance of the village security teams, it was found that there was statistical significance at the level of .001(F = 15.894, P < .001) and this could explain 58.00 percent (R2 = .580) of the variance of dependent variables. The personal factor in the length of service had a positive influence at a statistically significant level of .05. Motivational factors in responsibility and personal development had a positive influence at a statistically significant level of .001 while the motivational factor in career development opportunity had a negative influence at a statistically significant level of .05. Contributing factors in intra-organizational relationships and personal work security had a positive influence at a statistically significant level of .001 while contributing factors in policy and management had a negative influence at a statistically significant level of .05
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยแรงจูงใจในการเข้ามาเป็นชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน 3) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านและ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างคือชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านในอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส จำนวน 290 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิตค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การศึกษา พบว่า ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x,ˉ = 3.65, S.D.= 0.545) ปัจจัยแรงจูงใจในการเข้ามาเป็นของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x,ˉ = 3.45, S.D.=0 .463) และปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x,ˉ = 3.44, S.D.= 0.453) และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x,ˉ = 3.45, S.D.= 0.408) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยบุคคล ปัจจัยแรงจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน ที่ส่งผลต่อระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน พบว่า มีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (F = 15.894, P < .001) สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรตามได้ร้อยละ 58.00 (R2 = .580) โดยปัจจัยบุคคล ด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ปัจจัยแรงจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ และด้านการเจริญเติบโตส่วนตัว มีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ด้านโอกาสความก้าวหน้า มีอิทธิพลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยค้ำจุน ด้านการสัมพันธภาพในหน่วยงาน และด้านความมั่นคงปลอดภัยในงานส่วนตัว มีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ด้านนโยบายและการบริหาร มีอิทธิพลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17537
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:465 Minor Thesis



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น