กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17485
ชื่อเรื่อง: | การประเมินผลโครงการปลูกกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดสตูลร่วมกับวิสาหกิจชุมชนเพื่อเศรษฐกิจทางเลือกจังหวัดสตูล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evaluation of the Cannabis Cultivation Program for Medical Benefits: A Case Study of Satun Health Promoting Hospital and Community Enterprise for Alternative Economy in Satun Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฆายนีย์ ช. บุญพันธ์ พีรพล สอนอำไพ Faculty of Management Sciences (Public Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การประเมินผลโครงการ;วิสาหกิจชุมชนและสาธารณสุขจังหวัดสตูล |
วันที่เผยแพร่: | 2022 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The objectives of the study on evaluation of the Cannabis Cultivation Program for Medical Benefits of Health Promoting Hospitals and Community Enterprises for Alternative Economy in Satun Province were: 1) to evaluate the Cannabis Cultivation Program for Medical Benefits and Satun Health Promoting Hospitals and Community Enterprises for Alternative Economy in Satun Province using the CIPP Model, 2) to find out problems, obstacles, and suggestions about cannabis cultivation for medical benefits of Satun health promoting hospitals and community enterprises for alternative economy in Satun Province. For this qualitative research, data were collected through in-depth interviews, non-participant observation, and focus group discussions with a group of public health officers and a group of community enterprise members totaling 20 informants. The research found that all the 20 informants from Satun provincial community enterprises and public health organizations agreed on various perspectives from the evaluation using the CIPP Model. It was found that the context and environment met the objectives of the project and the project would be feasible if developed according to the process stages. Input resources which were budget, personnel, materials, and equipment were found to be sufficient for conducting the project. Members of community enterprises received knowledge about seeds from the government sector while the public health officers received training, and important cannabis elements to develop as medicine. In terms of the process, the project was monitored systematically, recorded, and the contact between the enterprises and the government sector was conducted as required. Lastly, in terms of the product, the interviews with both groups of informants revealed the following: 1) the enterprise group had more extra income from cannabis cultivation for medical benefits of health promoting hospitals in Satun Province and for the community enterprises for alternatively economy in Satun Province, and 2) public health organizations received important medicinal ingredients extracted from cannabis for use in research and as medicine to treat patients. The problems and obstacles to the project implementation included limitations concerning legal complications that could cause access difficulties. Suggestions were that the project should be developed in its importance and to make it easier to access and understand, particularly the stages of policy, and the project should be written clearly and easy to understand. |
Abstract(Thai): | การศึกษาเรื่อง การประเมินผลโครงการปลูกกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดสตูลร่วมกับวิสาหกิจชุมชนเพื่อเศรษฐกิจทางเลือกจังหวัดสตูล ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินผลโครงการปลูกกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดสตูลร่วมกับวิสาหกิจชุมชนเพื่อเศรษฐกิจทางเลือกจังหวัดสตูล ภายใต้กรอบการประเมินรูปแบบซิป (CIPP Model) 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะสำหรับโครงการปลูกกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดสตูลร่วมกับวิสาหกิจชุมชนเพื่อเศรษฐกิจทางเลือกจังหวัดสตูล ในการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ ได้สัมภาษณ์แบบเจาะลึก การวิจัยแบบสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม โดยผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 20 คน ผลการวิจัย พบว่า วิสาหกิจชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดสตูลผู้ที่ให้สัมภาษณ์งานวิจัยทั้งหมด 20 คน ได้เห็นตรงกันหลายมุมมองจากรูปแบบการประเมินรูปแบบซิป (CIPP Model) ซึ่งพบได้ว่า ด้านบริบทและสภาพแวดล้อม มีความเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการและมีความเป็นไปได้หากมีการพัฒนาที่ถูกต้องตามขั้นตอน ส่วนด้านปัจจัยนำเข้าด้านทรัพยากรที่ได้รับการสนับสนุน ได้แก่ งบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์มีเพียงพอที่จะดำเนินโครงการและได้รับความรู้เมล็ดพันธุ์จากภาครัฐ สาธารณสุขได้รับการอบรมและได้ส่วนสำคัญของกัญชามาพัฒนาเป็นยารักษา ทั้งด้านกระบวนการ มีการตรวจสอบของโครงการอย่างเป็นระบบการจดบันทึกและติดต่อระหว่างวิสาหกิจกับภาครัฐตามกรอบที่กำหนด ส่วนสุดท้ายด้านผลลัพธ์ จากที่ได้สัมภาษณ์ทั้งสองกลุ่มพบว่า 1) กลุ่มวิสาหกิจมีรายได้เสริมจากโครงการปลูกกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดสตูลร่วมกับวิสาหกิจชุมชนเพื่อเศรษฐกิจทางเลือกจังหวัดสตูลเพิ่มมากขึ้น 2) หน่วยงานสาธารณสุขได้รับส่วนสำคัญที่สกัดทำยาของต้นกัญชาเพื่อใช้ในการวิจัยและเป็นยารักษาผู้ป่วย ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติของโครงการยังมีข้อจำกัดของข้อบังคับทางกฎหมายที่ซับซ้อน ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาที่ยากต่อการเข้าถึง ข้อเสนอแนะสำหรับโครงการควรจะได้รับการพัฒนาความรู้ในประเด็นที่สำคัญของโครงการเพื่อในการเข้าถึงได้ง่ายและเข้าใจง่ายโดยเขียนกำหนดขั้นตอนของนโยบายและโครงการให้เข้าใจง่ายและชัดเจน |
รายละเอียด: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2565 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17485 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 465 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
6310521526.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น