Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17482
Title: การประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำส้ม
Other Titles: An Application of Quality Function Deployment for Orange Juice Product Development
Authors: เสกสรร สุธรรมานนท์
ณัฐวุฒิ แสงกาศนีย์
Faculty of Engineering (Industrial Engineering)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Keywords: น้ำส้ม;การพัฒนาผลิตภัณฑ์;การแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The main objective of this research was to apply the quality function deployment (QFD) technique to create a new flavored orange juice product that can meet the overall satisfaction of the target consumers, Prince of Songkla University student Hat Yai Campus, Songkhla Province. To determine the factors affecting the purchase of orange juice products ( WHATs) and have consumers complete a questionnaire to define the importance weight score (IMP) of each factor. The data is then taken into the house of quality (HOQ), technical characteristics (HOWs), and the relationship between consumer demand factors (WHATs) and technical characteristics (HOWs) to define the final product target. According to the market survey, the most popular choice for making orange juice is Sai Nam Phueng, and the top four flavors that consumers would like to add to orange juice products are lime rosemary pandan and lemongrass. The orange juice with lime and lemongrass flavors was found to be the most compatible. Therefore, sensory testing was used to compare satisfaction scores in order to determine the proper lemongrass and lime ratio, and it was found that orange juice mixed with lemongrass at 20% and lime juice at 2% has the highest satisfaction scores for appearance freshness flavor sweetness sourness and overall preference. As a result, the final recipe is as follows: 78% of the fresh orange juice 20% of orange juice mixed with lemongrass and 2% of lime juice combined were tested by sensory evaluation to compare satisfaction scores with the selected competitor. The results showed that orange juice flavored with lime and lemongrass scored higher than a competitor in terms of freshness flavor sweetness sourness and overall preference. Moreover, the developed product has an overall preference score of 7.53 ± 1 . 0 0, which meets the study’s scope score of 7.00 and the final product target.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (QFD) ในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำส้มเสริมกลิ่นรสใหม่ที่สามารถตอบสนองความพึงพอใจโดยรวมของผู้บริโภค ก ลุ่ ม เ ป้ า ห ม า ยไ ด้ โ ด ย เ ริ่ ม จ า กสั ม ภ า ษ ณ์ ผู้ บ ริ โ ภ ค ก ลุ่ ม เ ป้ า ห ม า ย คื อ นั ก ศึ ก ษ า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์น้ำส้ม (WHATs) และให้ผู้บริโภคทำแบบสอบถามเพื่อประเมินคะแนนน้ำหนักความสำคัญ (IMP) ของแต่ละปัจจัย จากนั้นนำข้อมูลเข้าสู่บ้านคุณภาพ (HOQ) พิจารณาข้อกำหนดเชิงเทคนิค (HOWs) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความต้องการของผู้บริโภค (WHATs) กับ ข้อกำหนดเชิงเทคนิค (HOWs) จนได้เป้าหมายผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Final Product Target) เพื่อใช้เป็น แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำส้มเสริมกลิ่นรสใหม่ จากการสำรวจตลาดผลิตภัณฑ์น้ำส้ม พบว่า นิยมเลือกใช้ส้มจากสายพันธุ์ ส้มสายน้ำผึ้ง ประกอบกับผลการตอบแบบสอบถามกลิ่นรสใหม่ที่อยาก เสริมในผลิตภัณฑ์น้ำส้มของผู้บริโภค ผู้วิจัยจึงเลือกกลิ่นรสมา 4 ชนิดที่ได้คะแนนสูงสุด ได้แก่ มะนาว โรสแมรี่ ใบเตย และตะไคร้ และนำไปทดลองความเข้ากันได้ของรสชาติ พบว่า น้ำส้มเสริมกลิ่นรส มะนาวตะไคร้ มีความเข้ากันได้มากที่สุด จากนั้นจึงนำไปทดลองเพื่อหาระดับความเข้มข้นของตะไคร้ ที่เหมาะสมต่อผลิตภัณฑ์ โดยนำไปทดสอบทางประสาทสัมผัสเปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจ พบว่าที่ระดับความเข้มข้นของน้ำส้มผสมตะไคร้เข้มข้น 20% ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมมาก ที่สุด และเมื่อนำไปทดลองเพื่อหาระดับความเข้มข้นของมะนาวที่เหมาะสมต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า น้ำส้ม เสริมกลิ่นรสมะนาวตะไคร้ที่ระดับความเข้มข้นของมะนาว 2% ได้คะแนนความพึงพอใจในด้าน ลักษณะปรากฏ ความสดชื่น กลิ่นรส ความหวาน ความเปรี้ยว และความชอบโดยรวมสูงที่สุด จึงนำ ตัวอย่างน้ำส้มเสริมกลิ่นรสมะนาวตะไคร้ที่พัฒนาได้ตามสูตรดังนี น้ำส้มคั้นสด 78% น้ำส้มผสม ตะไคร้เข้มข้น 20% และน้ำมะนาวเข้มข้น 2% มาทดสอบทางประสาทสัมผัสเพื่อเปรียบเทียบระดับ ความพึงพอใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายกับผลิตภัณฑ์น้ำส้มของคู่แข่ง 1 แบรนด์ที่ผ่านการคัดเลือก พบว่าผลิตภัณฑ์น้ำส้มเสริมกลิ่นรสมะนาวตะไคร้ที่พัฒนาขึ้นได้คะแนนความพึงพอใจด้านความสดชื่น กลิ่นรส ความหวาน ความเปรี้ยว และความชอบโดยรวม สูงกว่าผลิตภัณฑ์น้ำส้มของคู่แข่ง และ ผลิตภัณฑ์น้ำส้มเสริมกลิ่นรสมะนาวตะไคร้ที่พัฒนาขึ้นได้คะแนนความชอบโดยรวม เท่ากับ 7.53±1.00 คะแนน ซึ่งไม่ต่ำกว่า 7 คะแนน และได้ผลสอดคล้องตามเป้าหมายผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ตั้ง ไว้
Description: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรม), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17482
Appears in Collections:228 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5910121060.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons