กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17479
ชื่อเรื่อง: การประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of the Effectiveness of Online Teaching and Learning Management of Schools in Nakhon Si Thammarat Education Area Office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประทุมทิพย์ ทองเจริญ
กานต์พิชชา รักษาธรรม
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
คำสำคัญ: ประสิทธิภาพ;การจัดการเรียนการสอนออนไลน์
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objectives of this study were 1) to assess the readiness of online learning management of schools in Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 1; 2) to assess the effectiveness of online learning management; 3) to compare the effectiveness of online learning management by personal factors and 4) to study the readiness factors affecting the effectiveness of online learning management. In this study, quantitative research method was used. The population was a total of 1,076 teachers in Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 1 and a questionnaire was used as a research instrument in collecting data from a sample of 300 teachers. The statistics used in data analysis were mean, frequency, percentage, t-test, variance and multiple regression analysis. The results showed that 1) The overall readiness of online learning management was at a high level. The readiness in terms of content (x ̅ = 3.53) showed the highest average score, followed by instructional media (x ̅ = 3.46), while environment (x ̅ = 3.34) showed the lowest average score. The overall level of process factors was at a medium level. The average scores in descending order were as follow: measurement and evaluation (x ̅ = 3.39) and teaching method (x ̅ = 3.38), respectively; 2) the overall effectiveness of online learning management was as a medium level. The effectiveness in terms of teacher’s intention in online learning management (x ̅ = 3.60) showed the highest average score, followed by electronic content in online learning management (x ̅ = 3.52), while students’ interest and intention in online learning management (x ̅ = 3.22) showed the lowest average score; 3) the hypothesis testing of personal factors revealed that different religions and school sizes had statistically different levels of effectiveness in online learning management at the 0.1 and .05 level and 4) there were 6 readiness factors affecting the effectiveness of online learning management. The readiness factors in terms of instructional media (β = 0.234) showed the highest average score, followed by measurement and evaluation (β = 0.186), while environment (β = 0.142) showed the lowest average score at statistical significance level of .01 and .05 levels. According to the findings, teachers should create the learning atmosphere that focuses on two-way communication in order to increase student participation.
Abstract(Thai): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพร้อมของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ตามด้วย 2) เพื่อประเมินระดับประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัย ความพร้อมที่ส่งผลต่อระดับประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การศึกษานี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ครูผู้สอนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 จำนวน 1,076 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานค่าที ค่าความแปรปรวน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับความพร้อมของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ปัจจัยนำเข้าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านเนื้อหา (x ̅ = 3.53) รองลงมา คือ ด้านสื่อการเรียนการสอน (x ̅ = 3.46) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านสภาพแวดล้อม (x ̅ = 3.34) สำหรับปัจจัยกระบวนการโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดไปหาน้อยที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล (x ̅ = 3.39) และ ด้านวิธีการสอน (x ̅ = 3.38) ตามลำดับ 2) ระดับประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ความตั้งใจของครูผู้สอนในการจัด การเรียนการสอนออนไลน์ (x ̅ = 3.60) รองลงมา คือ เนื้อหาที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (x ̅ = 3.52) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนมีความสนใจและตั้งใจในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (x ̅ = 3.22) 3) ผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ศาสนา และขนาดโรงเรียน ต่างกัน มีระดับประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1และ.05 และ 4) ปัจจัยความพร้อมส่งผลต่อระดับประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ มี 6 ด้าน โดยด้านที่ส่งผลมากที่สุด คือ ด้านสื่อการเรียนการสอน (β = 0.234) รองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผล (β = 0.186) และด้านที่ส่งผลน้อยที่สุด คือ ด้านสภาพแวดล้อม (β = 0.142) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ทั้งนี้ ครูผู้สอนควรสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการสื่อสารแบบสองทางเพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น
รายละเอียด: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17479
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:465 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
สารนิพนธ์ - กานต์พิชชา รักษาธรรม.pdf1.8 MBAdobe PDFดู/เปิด
บทความ - กานต์พิชชา รักษาธรรม.pdf282.65 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น