กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17215
ชื่อเรื่อง: มุมมองของประชาชนในอำเภอหาดใหญ่ต่อมาตรการการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ : นัยต่อการปรับปรุงประสิทธิผลของการดำเนินงานในอนาคต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: People’s Perspectives on Road Accident Preventive Measures in Hatyai District, Songkhla Province : Implications for Future Improvement of Effectiveness
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพร คุณวิชิต
นัยนา จันทมณี
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
คำสำคัญ: อุบัติเหตุทางถนน;มาตรการป้องกัน;ประสิทธิผล;มุมมองของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objectives of this study were to investigate perspectives of people in Hat Yai District on measures to prevent and reduce road accidents during the New Year festival, and to make recommendations based on the results of the study for improving the effectiveness in the future. The sample size calculated using Yamane 1973 formula was 400 consisting of residents from four local administrative organizations: Hat Yai City Municipality, Khuan Lang Town Municipality, Khohong Town Municipality and Khlong Hae Town Municipality selected using stratified sampling. The instrument for data collection was a questionnaire, and descriptive statistics: percentage, mean and standard deviation were used for data analysis. The study found that people’s perspectives on all four categories of measure to reduce risk factors were at a high level as follows. 1) Human factors had a mean of 4.20; 2) Road factors had a mean of 4.19; 3) Vehicle factors had a mean of 4.20; and 4) Environmental factors had a mean of 4.44. The results of comparing people’s perspectives on measures to prevent and reduce road accidents during the New Year festival according to their personal factors revealed that people who were different in gender, age, education, occupation, income, holding of driving license and experience in road accidents were not different in their perspectives on measures to prevent and reduce road accidents. However, people living in different areas had different perspectives on measures to prevent and reduce road accidents during the New Year festival, and the difference was statistically significant at the level of 0.05. As a result of the study, recommendations for improving the effectiveness in the future were made as follows. 1) Measures for risk reduction in human factors—there should be publicity and training to provide more knowledge and understanding of traffic laws. There should also be stricter traffic law enforcement, and more severe penalties during the festival. 2) Measures for risk reduction in road factors—there should be implementation of traffic engineering measures appropriate for the area and better corresponding to people’s needs. There should also be studies, reviews and analyses of risk and dangerous areas to update the accident-risk maps. 3) Measures for risk reduction in vehicle factors—there should be improvement and regular updating of transportation systems and transportation systems databases. 4) Measures for risk reduction in environmental factors—there should be improvement of traffic signal timing to suit the traffic volume. Traffic surveillance cameras should be installed at every intersection. Accident-risk points or areas should be resolved urgently. Additionally, positive attitude towards obeying traffic laws should be promoted to reduce risk factors for road accidents.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในอำเภอหาดใหญ่ต่อมาตรการการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งผลการวิจัยจะนำมาจัดทำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงประสิทธิผลการดำเนินงานในอนาคตให้ดีขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนจาก 4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งrได้แก่ เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมืองควนลัง เทศบาลเมืองคอหงส์ และเทศบาลเมืองคลองแห คำนวณกลุ่มตัวอย่างตามวิธีการของทาโร่ ยามาเน (Yamane, 1973) จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน (Stratified Sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับสูง กล่าวคือ 1) มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงด้านคน มีค่าเฉลี่ย 4.20 2) มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนน มีค่าเฉลี่ย 4.19 3) มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ มีค่าเฉลี่ย 4.20 และ 4) มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ย 4.44 และผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อมาตรการการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ การมีใบอนุญาตขับขี่ และประสบการณ์อุบัติเหตุทางถนนต่างกันมีความคิดเห็นต่อมาตรการการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนที่ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามพื้นที่อาศัยที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อมาตรการการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยดังกล่าว มีข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงประสิทธิผลในการดำเนินงานในอนาคต ดังนี้ 1) มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงด้านคน ควรทำการประชาสัมพันธ์และอบรมให้ความรู้ความเข้าใจกฎหมายจราจรมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งควรมีการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มข้นและควรมีการปรับเปลี่ยนอัตราโทษหากมีการกระทำความผิดในช่วงเทศกาลมากกว่าช่วงเวลาปกติ 2) มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนน ควรมีการปรับใช้มาตรการด้านวิศวกรรมการจราจรให้สอดคล้องเหมาะสมกับพื้นที่และตรงตามความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น และมีการศึกษาทบทวนวิเคราะห์ จุดเสี่ยง อันตราย เพื่อจัดทำแผนที่จุดเสี่ยงให้เป็นปัจจุบัน 3) มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ ควรมีการปรับปรุงพัฒนาระบบขนส่งและฐานข้อมูลระบบขนส่งสาธารณะ ให้ทันสมัยและปัจจุบันอยู่เสมอ 4) มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ควรเพิ่มหรือปรับปรุงจังหวะและรอบเวลาสัญญาณไฟจราจร ติดตั้งกล้องถ่ายภาพการฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดงทุกจุดเร่งแก้ไขจุดเสี่ยง รวมถึงการส่งเริมสร้างทัศนคติที่เชิงบวกต่อการปฏิบัติตามกฎจราจรมากขึ้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
รายละเอียด: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, 2563
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17215
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:465 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทความวิจัย66.18 kBMicrosoft Word XMLดู/เปิด
5810521518.pdf5.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons