กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13185
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อ เจ้าหน้าที่ตำรวจสายปราบปราม กรณีศึกษา สถานีตำรวจนครบาลดุสิต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Affecting the Public Confidence in Police Officer Suppression: A Case Study of Dusit Metropolitan Police Station
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริวิท อิสโร
กันตภณ ศรีสุวรรณ
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
คำสำคัญ: ความเชื่อมั่นของประชาชน;สถานีตำรวจนครบาลดุสิต;เจ้าหน้าที่ตำรวจสายปราบปราม
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสายปราบปราม กรณีศึกษาสถานีตำรวจนครบาลดุสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสายปราบปราม และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสายปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลดุสิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ประชาชนในเขตพื้นที่สำนักงานเขตดุสิตที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณจากสูตรยามาเน่ (Yamane) ได้จำนวน 400 คน เลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณเชิงชั้น (Hierarchical Regression Analysis) เพื่อศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสายปราบปราม ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสายปราบปรามในสถานีตำรวจนครบาลดุสิต อยู่ในระดับปานกลาง และยังพบว่ามี 3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสายปราบปรามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถเรียงลำดับตามค่าน้ำหนักปัจจัยได้ดังนี้ ปัจจัยด้านคุณธรรมจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสาร ไม่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ สถานีตำรวจนครบาลดุสิตจะต้องพัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนมากขึ้น จึงจะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วม รวมถึงเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจนครบาลดุสิตมากขึ้น นอกจากนี้ ควรทำการศึกษาให้ครอบคลุมในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อพัฒนาองค์กรตำรวจโดยภาพรวมให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสายปราบปรามมากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ,2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13185
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:465 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
5810521501.pdf1.06 MBAdobe PDFดู/เปิด
5810521501-manuscript.pdf382.81 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons