กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12346
ชื่อเรื่อง: | ความต้องการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน สังกัดกองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดสตูล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Needs for Potential Development of Volunteers Defense Corps (VDC) Members under Satun Provincial Volunteers Defense Corps |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฆายนีย์ ช. บุญพันธ์ ดนุช นาคสง่า Faculty of Management Sciences (Public Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กองอาสารักษาดินแดน สมาชิก การทำงาน;สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ระดับความต้องการการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกกอง อาสารักษาดินแดน (อส.) สังกัดกองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดสตูล และเพื่อเปรียบเทียบ ความต้องการการพัฒนาศักยภาพของสมาชิก อส. จาแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส ตาแหน่ง ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน รายได้ ลักษณะ งานที่ปฏิบัติ ระดับเป้าหมายผู้บังคับบัญชา ระดับเป้าหมายของสมาชิก อส. บทบาทผู้บังคับบัญชา ในการส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่และจา นวนครั้งที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในระยะเวลา 5 ปี กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บังคับบัญชาและสมาชิก อส. สังกัดกองบังคับการกองอาสารักษา ดินแดนจังหวัดสตูล จานวน 170 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Independent Sample t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมสมาชิก อส. มีความต้องการพัฒนาศักยภาพในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีความต้องการพัฒนาศักยภาพมากที่สุด คือ ด้านคุณลักษณะ รองลงมาคือ ด้านความรู้ และด้านที่มีความต้องการพัฒนาศักยภาพน้อยที่สุด คือ ด้านทักษะ ผลการ เปรียบเทียบความแตกต่างของความต้องการในการพัฒนาศักยภาพพบว่า ผู้ที่มีอายุ ระดับเป้าหมาย ของผู้บังคับบัญชาในการปฏิบัติงาน/หน้าที่ ระดับเป้าหมายของสมาชิก อส. ในการปฏิบัติงาน/ หน้าที่ ระดับของบทบาทผู้บังคับบัญชาในการส่งเสริมการปฏิบัติงาน/หน้าที่ (อา นวยการและติดตาม) และจา นวนครั้งที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา แตกต่างกันมีความต้องการพัฒนา ศักยภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสา คัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยมีดังนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้มีการพัฒนาศักยภาพด้าน ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ ให้กับสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนเพื่อที่จะได้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่าง ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้บังคับบัญชาควรให้ความสา คัญในการบังคับบัญชา ตลอดจนการ พัฒนาศักยภาพให้ตรงกับความต้องการ และควรกา หนดเป็นหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกสมาชิก อส. เข้ารับการบรรจุแต่งตั้งให้เหมาะสมเพื่อลดภาระในการพัฒนาทางด้านคุณลักษณะ และเป็นปัจจัย ช่วยให้สามารถคัดเลือกสมาชิก อส.ได้อย่างมีคุณภาพ |
รายละเอียด: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ,2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12346 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 465 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
ดนุช นาคสง่า.pdf | manuscript | 755.99 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
ดนุช นาคสง่า.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น