กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12342
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการใช้งานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-document) ของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems in Using E-document of the Personnel in the Faculties of Science and Engineering at Prince of Songkla University Hat Yai Campus
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์
สารภี สหะวิริยะ
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
คำสำคัญ: ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์;ระบบงานสารบรรณ;เอกสารอิเล็กทรอนิกส์;สำนักงานอัตโนมัติ;ระบบการจัดเก็บเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการใช้งานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-document) ของบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และเปรียบเทียบปัญหาการใช้งานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-document) ตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการ ลูกจ้างประจา พนักงานมหาวิทยาลัย และพนักงานเงินรายได้ จานวน 277 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบภามและนามาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป SPSS For Windows 16.0 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบ ค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรเห็นด้วยกับการนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ในการปฏิบัติงาน โดยเรียงลาดับจากด้านการใช้ประโยชน์จากระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-document) มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการนาไปประยุกต์ใช้ปฏิบัติงาน สาหรับปัญหาการใช้งานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-document) ของบุคลากรอยู่ในระดับน้อย ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาการใช้งานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-document) ของบุคลากรพบว่าสายการปฏิบัติงานและระยะเวลาการปฏิบัติงานต่างกันมีปัญหาการใช้งานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-document) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการทำงาน หน่วยงานที่สังกัด และการฝึกอบรมต่างกันมีปัญหาการใช้งานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-document) ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คำสำคัญ : ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์, ระบบงานสารบรรณ, เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
รายละเอียด: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ,2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12342
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:465 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
สารภี สหะวิริยะ.pdfmanuscript518.96 kBAdobe PDFดู/เปิด
สารภี สหะวิริยะ.pdf2.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น